ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (องค์การมหาชน) หรือ SACICT ได้ดำเนินภารกิจในการส่งเสริมและพัฒนางานศิลปหัตกรรมอย่างต่อเนื่อง โดยทำแบบครบวงจร ทั้งเรื่องของการอนุรักษ์ สืบสาน และต่อยอด โดยการสนับสนุนให้กลุ่มครูช่างศิลปหัตกรรม ทายาทช่างศิลปหัดถกรรม และสมาชิก SACICT ได้พัฒนาศักยภาพเชิงบูรณาการเพื่อนำไปสู่การสร้างนวัตกรรมในงานศิลปหัตถกรรม อันเป็นองค์ความรู้ใหม่เพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดในปัจจุบันสอดรับกับแนวโน้มในตลาดโลก (Global Trend) ทั้งนี้มีวัตถุประสงศ์ในการศึกษาวิเคราะห์แนวโน้มงานหัตถกรรมในตลาดโลกเพื่อนำมาจัดทำองค์ควานรู้ด้านนวัตศิลป์สำหรับเผยแพร่สู่กลุ่มเป้าหมายและต่อยอดการเรียนรู้เนื้อหาของ SACICT Craft Trend โดยในงาน SACICT Craft Trend ที่ผ่านมา เรามุ่งกลยุทธ์ไปที่การสร้างการรับรู้ การสร้างความเข้าใจ และการส่งเสริมให้เกิดการนำไปใช้ น.ส.แสงระวี สิงหวิบูลย์ รองผู้อำนวยการ รักษาการแทนผู้อำนวยการ ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (SACICT) เปิดเผยถึงธีม SACICT Craft Trend :เทรนด์หัตถกรรมร่วมสมัย ประจำปี 2020 ว่า ในปีนี้ เราจะให้ความสำคัญกับการต่อยอดและนำองค์ความรู้ไปใช้ ในการสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆ และสร้างโอกาสการต่อยอดเชิงพาณิชย์อย่างเป็นรูปธรรม โดย “SACICT Craft Trend : เทรนด์หัตถกรรมร่วมสมัย” SACICT ได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 6 โดยมีวัตถุประสงค์ในการจัดทำแนวโน้มทิศทางงานศิลปหัตถกรรมที่สามารถสะท้อนความต้องการของตลาดและต่อยอดสู่การพัฒนางานศิลปหัตถกรรมไทยในด้านต่างๆได้แก่ การพัฒนาศักยภาพ ผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรมและการตลาด แก่สมาชิก ศ.ศ.ป. ครูศิลป์ของแผ่นดิน ช่างศิลปหัตถกรรม ทายาทช่างศชุมชนผู้ผลิต และนักออกแบบร่วมสมัย/ นักสร้างสรรค์ โดยได้กำหนดกลยุทธ์การดำเนินงานออกเป็น 3 ส่วนคือ 1.การสร้างการรับรู้ (Awareness) 2.การสร้างความเข้าใจ (Knowledge) 3. การส่งเสริมให้เกิดการนำไปใช้ (Usage) สำหรับการดำเนินงานในปี 2562 มุ่งเน้นการต่อยอดและนำองค์ความรู้ที่ได้จาก SACICT Craft Trend ไปใช้ในการสร้างสรรค์ให้เกิดนวัตกรรมใหม่ๆ ในงานหัตถกรรมและผลักดันส่งเสริม ให้เกิดการนำไปใช้ประโยชน์ใน เชิงพาณิชย์อย่างเป็นรูปธรรมอย่างชัดเจนยิ่งขึ้น โดยได้นำแนวทางต่างๆใน SACICT Craft Trend ไปใช้ประโยชน์ ในด้านต่างๆ ได้แก่ 1.เพื่อนำไปพัฒนาผลิตภัณฑ์ 2.เป็นหัวข้อในการประกวดผลงานศิลปหัตถกรรมประเภทต่างๆ 3.เป็นแนวทางในการจัดกิจกรรมและนิทรรศการต่างๆ4.เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ให้กับกลุ่มผู้ผลิตและนักออกแบบที่สนใจ ขณะที่ขั้นตอนการวิจัย Craft Trend แบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอนสำคัญได้แก่ การวิจัย Craft Trend แบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอนสำคัญได้แก่ 1.การศึกษาข้อมูลและวิเคราะห์ แนวโน้ม เทรนของโลกจากข้อมูลในแหล่งต่างๆ อาทิ ข้อมูลเทรนด์ด้านการออกแบบและการบริโภค ข้อมูลด้านผลิตภัณฑ์งานหัตถศิลป์ที่ได้รับรางวัลหรือมีการจัดแสดงในเวทีระดับสากล เพื่อตรวจสอบแนวโน้มทางความคิดของนักสร้างสรรค์ทั่วโลกที่มีจุดร่วมกัน 2.การสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญในวงการที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบ จากนักคิด นักสร้างสรรค์งานนวัตกรรมและผู้วิจัยเทรนด์ เพื่อทำความเข้าใจทิศทางระดับสากลแต่อยู่ในบริบทของประเทศไทย 3.การจัดทำกระบวนการ Craft Trend Guru Panel โดยการเชิญผู้เชี่ยวชาญในแวดวงที่หลากหลายรายล้อมวงการหัตถศิลป์ไทย อาทิ ผู้เชี่ยวชาญจากหน่วยงาน SACICT ที่เห็นการพัฒนาการของหัตถศิลป์ไทยมาโดยตลอด, เจ้าของแบรนด์ผลิตภัณท์งานหัตถศิลป์, นักการตลาดและนักสร้างแบรนด์, Curator, ผู้เชี่ยวชาญด้านวัสดุ, ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบ, ตัวแทนจากผู้ค้าปลีกยุคใหม่ E-Commerce Platform ของคนรุ่นใหม่ ซึ่งทั้งหมดมาร่วมกัน เพื่อวิพากษ์เทรนด์ผู้บริโภค เพื่อต่อยอดให้เป็นโอกาสในการพางานหัตถศิลป์ไทยเข้าถึงผู้บริโภคแห่งอนาคตได้ รวมถึงโอกาสในการส่งผ่านวัฒนธรรมไทยผ่านงานหัตถศิลป์ออกสู่สากล SACICT Craft Trend ประจำปี 2020 ธีม “From Root to Route” SACICT ได้ชี้แนะทิศทางสำคัญในวงการหัตถศิลป์ไทย ปี 2020 เราให้ความสำคัญของ “ราก” รากคือภูมิปัญญา เราใช้ชื่อธีมประจำปีว่า “From Root to Route” คือ การค้นหาและกอดเก็บรักษา “ราก”อันสำคัญของความเป็นไทยในมิติต่างๆไว้ และทำการต่อยอด สร้างสรรค์ด้วยรูปแบบ สไตล์ หรือกระบวนการผลิตที่สอดรับกับความต้องการผู้บริโภครุ่นใหม่ มีความเป็นสากล เราใช้ชื่อธีมประจำปีว่า “From Root to Route” จากรากฐานภูมิปัญญาไทย ต่อยอดหนทางใหม่สู่สากล โดยจากแนวโน้มผู้บริโภคที่เป็นคนรุ่นใหม่ บุคคลที่คนสำคัญแห่งอนาคต ทำให้เกิด 4 แนวโน้มการออกแบบที่สำคัญที่จะตอบโจทย์คุณค่าที่ผู้คนต้องการ ประกอบด้วย True Value “ตระหนักในคุณค่าแท้” คือพฤติกรรมของผู้บริโภคที่ใส่ใจทุกรายละเอียดของสินค้า “ที่มา ที่ไป” ซึ่งเป็นการตอกย้ำคุณค่าของผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรม เห็นถึงความใส่ใจ ทักษะฝีมือเชิงช่าง การเลือกใช้วัตถุดิบท้องถิ่น รูปแบบที่เรียบง่าย เข้าถึงคุณค่าแห่งความเป็นมนุษย์ และกลับไปหารากเหง้าอย่างแท้จริง Heritage Fusion “หลอมรวมรากทางศิลปะอันล้ำค่า: คือการนำเสน่ห์แห่งงานหัตถศิลป์ ภูมิปัญญาแบบดั้งเดิม ที่มีความวิจิตรบรรจง ปรับแต่งให้เข้ากับคนรุ่นใหม่ เกิดการผสมผสานระหว่างของดั้งเดิมกับสินค้าในปัจจุบัน หลอมรวมรากของงานศิลปหัตถกรรมอันล้ำค่าผ่านการนำเสนอด้วยการออกแบบที่ร่วมสมัยให้ความสำคัญในเรื่องราวและรากเหง้าของที่มา สะท้อนความมุ่นมั่นในการสืบสานงานหัตถศิลป์ชั้นสูงไว้มิให้สูญหาย Happiness Play “เล่น อย่างสร้างสรรค์”:ทางเลือกใหม่ที่ช่วยให้งานศิลปหัตถกรรมมีความอิสระ ด้วยการนำเสนอเทคนิคและวิธีการใหม่ๆที่นอกกรอบ ผสมผสานอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมที่หลากหลายผ่านผลงานศิลปหัตถกรรมที่แตกต่าง ล้ำสมัย ไม่น่าเบื่อ สร้างอารมณ์สนุกสนาน สดใส เปี่ยมไปด้วยจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ Technical Craft “นวัตกรรมแห่งงานหัตถศิลป์”: คือการนำเทคโนโลยีเข้ามาพัฒนาและยกระดับงานหัตถศิลป์ โดยไม่ลดคุณค่าของงานหัตถกรรมแบบดั้งเดิม เทคโนโลยีต้องเป็นสิ่งที่ช่วยเกื้อหนุน ยกระดับงานหัตถศิลป์ทั้งในด้านการออกแบบ ความแม่นยำ และความรวดเร็วในการผลิต เทคโนโลยียังมาพร้อมกับเส้นทางการจำหน่ายและ การตลาดรูปแบบใหม่ สร้างนิยามใหม่ให้ผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรมที่แต่เดิมถูกให้คุณค่าอยู่กับเทคนิคและวิธีการแบบดั้งเดิมเติบโตสู่การสร้างสรรค์งานศิลปหัตถกรรมวิถีใหม่ด้วยนวัตกรรม ทั้ง 4 แนวโน้มการออกแบบ หรือ Craft Trend 2020 นี้ คือทิศทางที่ผู้ประกอบการหัตถศิลป์สามารถพัฒนาสินค้าหรือการนำเสนอเรื่องราวของตนเพื่อให้สอดรับกับความต้องการของตลาดที่กำลังจะเกิดขึ้นในปี 2020 ได้ และข้อแนะนำจาก Guru ได้ยืนยันตรงกันว่า อัตลักษณ์ไทย เรื่องราวที่เป็นรากของไทย ทั้งความสนุกสนาน ความหลากหลาย หรือเรื่องเล่าเปี่ยมด้วยคุณค่าแห่งภูมิปัญญา ทั้งหมดนี้ล้วนเป็นสิ่งที่ขายได้ เป็นที่ต้องการในตลาดที่เป็นสากลแน่นอน ทั้งนี้ผู้ประกอบการควรทบทวนตัวตนหรือรากของตนเองและสร้างสรรค์งานหัตถศิลป์ในแบบที่ตนจะภาคภูมิใจให้สอดคล้องกับโจทย์ของปี 2020 “ SACICT หวังเป็นอย่างยิ่งว่า SACICT Craft Trend 2020 “From Root To Route”จะถูกนำไปใช้อย่างกว้างขวางจากทุกหน่วยงานที่ร่วมกันพัฒนาส่งเสริมงานหัตถศิลป์ของประเทศ สู่ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของเส้นทางหัตถศิลป์ มุ่งสร้างการใช้มูลค่าจากงานหัตถกรรมสู่มูลค่าเชิงธุรกิจ งานหัตถศิลป์ ต้องเป็นงานที่ไม่เสียเวลาและงบประมาณชาติ