ในโอกาสที่ ชมรมสื่อมวลชนส่งเสริมการท่องเที่ยวภาคตะวันออก นำโดยนายสมนึก วิสุทธิ์ ประธานชมรมฯ นำคณะสื่อมวลชนกว่า 20 คน ในพื้นที่ภาคตะวันออกรวม 9 จังหวัด เดินทางเข้าร่วมประชุมและเปิดโลกท่องเที่ยวภาคตะวันออกตามนโยบายของรัฐบาล ณ พื้นที่ อ.เกาะช้าง จ.ตราด โดยมี นายอัมพร แสงแก้ว อดีตนายกสมาคมสื่อมวลชนเมืองพัทยาพร้อมคณะ และนายนิราช ทิพย์ศรี​บรรณาธิการข่าว สำนักงานข่าวสัตหีบ นำคณะเข้าร่วมประขุมในครั้งนี้ด้วย ระหว่างวันที่ 7-10 ก.ย.62 ที่ผ่านมา โดยได้รับการต้อนรับอย่างดียิ่งจาก นายทศพล สินยบุตร นายอำเภอเกาะช้าง นายศักดิ์ประเสริฐ เจริญประสิทธิ์ อดีตนายอำเภอเกาะช้าง/ที่ปรึกษาชมรมสื่อมวลชนส่งเสริมการท่องเที่ยวภาคตะวันออก นายอิษ ฎา เสาวรส ผู้อำนวยการการท่องเที่ยวสำนักงานตราด นายพรชัย เขมะพรรคพงษ์ ประธานสภาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวจังหวัดตราด/เจ้าของและผู้บริหารโรงแรม ดิ อัยยะปุระ เกาะช้าง ผู้แทนจากอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะช้าง ผู้แทนจากสมาคมธุรกิจการท่องเที่ยวจังหวัดตราด และผู้แทนการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดตราด พร้อมแสดงวิสัยทัศน์ในการส่งเสริมและสนับสนุนการท่องเที่ยวของเกาะช้าง และจังหวัดตราด ให้กับคณะสื่อมวลฯ ได้รับทราบ เพื่อประชาสัมพันธ์ ทางสื่อมวลชนแขนงต่างๆ ให้ได้รับทราบกันโดยทั่วไป และในโอกาสเดียวกันนี้ คณะสื่อมวลชนฯ ได้พบกับนางมุกดา เจริญประสิทธิ์ อดีตนายกสมาคมธุรกิจการท่องเที่ยว จ.ตราด และเจ้าของโรงแรมเกาะช้างแกรนด์ออคิด พร้อมเปิดเผยถึงการบริหารจัดการโรงแรมรักษ์สิ่งแวดล้อม ตามโครงการกรีนโฮเต็ล ขององค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (อพท.) ว่า โรงแรมของตนเองได้เริ่มเข้าโครงการเมื่อปี 2552 ก่อนมีโครงการกรีนโฮเต็ล เนื่องจากเล็งเห็นถึงปัญหาขยะและสิ่งแวดล้อมบนเกาะช้าง ซึ่งมีสาเหตุจากนักท่องเที่ยวนำขยะลงเกาะช้าง โดยเฉลี่ยแล้วขยะเกิดจากนักท่องเที่ยววันละ 1 กก. เป็นอย่างต่ำ มีทั้งขยะอินทรีย์ ขยะทั่วไป และขยะโฟม พลาสติกที่ย่อยสลายยาก จึงได้เริ่มบริหารจัดการขยะด้วยการคัดแยกขยะออกเป็นขยะอินทรีย์ ขยะทั่วไป ขยะพิษ หลังจากนั้นจะนำขยะไปบริหารจัดการตามประเภทของขยะ โดยไม่ทิ้งขยะออกนอกโรงแรม มีเพียงขยะประเภทพลาสติก กล่องโฟม ขยะพิษที่มีเพียง 20 % ได้นำส่งโรงงานคัดแยกขยะของเทศบาลตำบลเกาะช้าง ในการนำไปทำลาย นางมุกดา ได้นำคณะสื่อมวลชนเข้าชมการบริหารจัดการขยะ มีการแยกขยะออกเป็นขยะขวดแก้ว ขยะพลาสติก ขยะอืนทรีหรือขยะเปียก และขยะทั่วไป โดยแยกกันบริหารจัดการเป็นส่วนๆ ในส่วนของขยะอินทรี มีการแยกขยะที่เป็นเศษอาหารเหลือจากห้องอาหารและโรงครัว แยกเอาใบตอง ไม้จิ้มฟัน กระดิษทิชชุออกจากเศษอาหาร ก่อนนำไปใส่ถังหมักด้วยน้ำจุลินทรีย์ และนำน้ำจุลินทรีย์ที่หมักไปใช้ประโยชน์ทั้งผสมทำปุ๋ย ดับกลิ่นในห้องน้ำ ใส่ลงโถส้วม ทำให้ช่วยย่อยสลายสิ่งปฎิกูลในถังส้วม จนไม่ต้องจ้างรถดูดส้วมมาดูดส้วม ประหยัดค่าดูดส้วมได้ปีละเกือบแสนบาท นอกจากนี้ยังนำแก๊สที่ได้จากการหมักเศษอาหารไปใช้ในการหุงต้มอาหาร นำเศษข้าวที่เหลือมาตากแห้ง และนำเข้าเครื่องบดเป็นอาหารไก่ นำน้ำหมักจุลินทรีย์ ไปใช้ในโรงเรือนปลูกผักปลอดสารพิษ และบรรจุถังจำหน่ายให้ลูกค้าและชุมชน เพื่อนำไปใช้ในครัวเรือนและภาคเกษตรกรรมได้อีกด้วย นอกจากนี้แล้วยังได้สร้างตู้อบพลังงานแสงอาทิตย์ สำหรับตากแห้งอาหารและผลิตภัณฑ์ต่างๆ ด้วยต้นทุนเพียง 2 หมื่นบาทเศษ แต่ได้ตู้อบแห้งที่ไม่เสียค่ากระแสไฟฟ้าแม้แต่บาทเดียว ขณะเดียวกันยังติดแผงโซล่าเซลล์ ทั้งตามทางเดินและบริเวณอาคารห้องพักและสถานที่ต่างๆ ภายในโรงแรมหลายร้อยจุด เป็นการลดการใช้กระแสไฟฟ้า และสนองตอบนโยบายของ อพท. คือการลดการปล่อยก๊าซคาบอนไดออกไซค์สู่ชั้นบรรยากาศ หรือโลคาบอนด์ ทำให้โรงแรมตนเองที่มีนักท่องเที่ยวมารับบริการ ตลอดจนหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาคเอกชน ข้าราชการ มาศึกษาดูงานการบริหารจัดการขยะและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมกันมากขึ้น นางมุกดา ยังได้กล่าวต่ออีกว่า แม้โรงแรมของตนเองไม่ได้อยู่ติดชายหาด แต่มีการปรับสภาพแวดล้อมให้ร่มรื่น สวยงาม ในสไตล์บ้านสวน รูปทรงบาหลี ทำให้นักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวมาพักกันเป็นครอบครัว เป็นหมู่คณะ ได้พบกับบรรยากาศที่เป็นธรรมชาติ สะอาด สวยงาม ร่มรื่น อีกทั้งการบริหารจัดการขยะที่ได้ผล จนต้องไปนำขยะอินทรีย์ ขยะเปียกมาจากโรงแรมอื่น เพื่อมาทำน้ำหมักจุลินทรีย์ และหมักแก็สชีวภาพ โดยได้ อพท. เป็นพี่เลี้ยงในการบริหารจัดการขยะจนได้ผลดีดังกล่าว รวมถึงโรงแรมดิอัยยะปุระเกาะช้าง แม้จะไม่มีการหมักก๊าสชีวภาพ แต่ก็เป็นโรงแรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมด้วยการบริหารจัดการขยะ และคอยเป็นโรงแรมหน้าด่านที่ทำหน้าที่ดักเก็บขยะจากทะเล เพื่อรักษาสิ่งแวดล้อมให้กับเกาะช้างด้วยเช่นเดียวกัน นิราช ทิพย์ศรี/นันทพล ทิพย์ศรี จ.ชลบุรี