เมื่อเวลา 15.00 น. วันที่ 10 ก.ย.62 ที่ บก.ปอท. นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจ และสังคม พล.ต.ต.ไพบูลย์ น้อยหุ่น ผบก.ปอท. พ.ต.อ.ศิริวัฒน์ ดีพอ รอง ผบก.ปอท. , พ.ต.อ. วัชรพันธ์ ศิริพากย์ ผกก.1 บก.ปอท. , พ.ต.อ.สราวุฒิ บวรกิจประเสริฐ ผกก.2 บก.ปอท. , พ.ต.อ.ขวัญชัย พัฒรักษ์ ผกก.3 บก.ปอท. , พ.ต.อ.อมรชัย ลีลาขจรจิตร ผกก.กลุ่มงานสนับสนุนฯ บก.ปอท.ร่วมกันแถลงข่าวกองบังคับการปราบปรามการกระทําความผิดอาชญากรรมทางเทคโนโลยี Technology Crime Suppression Division“ปฏิบัตกิารทลายล้างข่าวปลอม09.09.2019” นายพุทธิพงษ์ ด้วยปัจจุบันพฤติกรรมการรับรู้ข่าวสารของพี่น้องประชาชน เปลี่ยนแปลงจากยุคสมัยก่อนมาก ประชาชนใช้เวลาในการเข้าถึงข่าวสารได้ในระยะเวลาอันรวดเร็ว จากสื่อออนไลน์ช่องทางต่าง ๆ บางคร้ัง ในความรวดเร็วของข่าวสารก็แฝงมาด้วยข่าวปลอมอาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อเศรษฐกิจของประเทศหรือ ก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ประชาชน กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และสํานักงานตํารวจแห่งชาติ โดยกองบังคับการปราบปรามการกระทําความผิดอาชญากรรมทางเทคโนโลยี ซึ่งรับผิดชอบในการปราบปรามกลุ่มองค์กร อาชญากรรมที่กระทําความผิดและส่งผลกระทบต่อความเป็นอยู่ของประชาชน ซึ่งเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี สารสนเทศ จึงได้เปิด “ปฏิบัติการทลายล้างข่าวปลอม 09.09.2019” ขึ้น โดยดําเนินการปิดล้อมตรวจค้นเป้าหมายที่เกี่ยวข้องกับการสร้างข่าวปลอม และอาชญากรรมทางเทคโนโลยีที่สร้างความ เดือดร้อนให้กับประชาชน ระหว่างวันที่ 19 ส.ค. – 9 ก.ย.62 มีเป้าหมายการปิดล้อมตรวจ ค้นจํานวน 9 จุดทั่วประเทศมีผลการปฏิบัติดังนี้ กรณีที่ 1 “ข่าวประกาศพื้นที่ควบคุมพิเศษ ระเบิด 7 จุด ในกรุงเทพมหานคร” ผู้รับผิดชอบ กก.1 บก.ปอท. เข้าตรวจค้นที่บ้านพัก ย่านบางพลัด ต่อมาได้เชิญตัวผู้ถูกกล่าวหามาพบพนักงานสอบสวนเพ่ือ รับทราบข้อกล่าวหาตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 14(2) กรณีที่ 2 “นําเข้าข้อมูลอันเป็นเท็จ (Email Scam)” ผู้รับผิดชอบ กก.1 บก.ปอท. ร่วมกับ สตม. จับกุมผู้ต้องหาตามหมายจับศาลอาญาที่ 2014/2558 ลงวันที่ 14 ก.ย. 2558 จํานวน 1 ราย ที่ท่าอากาศยาน สุวรรณภูมิ ผู้ต้องหาประกอบด้วย ชาวไนจีเรีย 3 คน ร่วมกับคนไทย 2 คน ทําเป็นขบวนการลักษณะคนร้าย ข้ามชาติ (จับได้ครบท้ังหมด 5 คนแล้ว) มูลค่าทรัพย์สินที่เสียหาย หลายล้านบาท กรณีที่ 3 “จับกุมผู้ต้องหาหลอกรักออนไลน์ (Romance Scam) โดยทําเป็นขบวนการ” ผู้รับผิดชอบ กก.2 บก.ปอท. เข้าจับกุมผู้ต้องหา สืบสวนจับกุมผู้ต้องหา 1 คน ตามหมายจับศาลอาญาท่ี 1228/2562 ลงวันที่ 15 ส.ค. 2562 ในพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มูลค่าความเสียหายกว่าล้านบาท กรณีที่ 4 “จับกุมผู้ต้องหาแอบอ้างข้าราชการระดับสูงของกระทรวงมหาดไทย แล้วหลอกลวงขาย สินค้าออนไลน์จํานวน 2 ราย (โทรศัพท์ และเสื้อผ้า มูลค่าความเสียหาย 5 ล้านบาท)” ผู้รับผิดชอบ กก.2 บก. ปอท.สืบสวนจับกุมผตู้้องหา3คนเป็นผู้ต้องหาตามหมายจับของศาลจังหวัดหัวหินท่ีจ.247/2561,ผู้ต้องหา ตามหมายจับของศาลอาญาที่ 291/2562 และผู้ต้องหาตามหมายจับของศาลอาญาที่ 1307/2562 โดยจับกุม ได้ในพื้นที่จังหวัดมหาสารคาม และจังหวัดสมทุ รสาคร กรณีที่ 5 “แอบอ้างว่าเป็นลูกสาวของประธานาธิบดีของประเทศจีน” ผู้รับผิดชอบ กก.3 บก.ปอท. ได้นําหมายค้นของศาลจังหวัดสมุย เข้าทําการตรวจยึดอุปกรณ์ที่ใช้ในการกระทําความผิด ได้ในบ้านพักพื้นที่ อําเภอบ่อผุด จังหวัดสุราษฎร์ธานี กรณีที่ 6 “ข่าวแม่น้ําโขงแห้ง ปลาสูญพันธุ์” ผู้รับผิดชอบ กก.3 บก.ปอท. นําหมายค้นของศาล จังหวัดนนทบุรี เข้าตรวจค้นที่บ้านพัก ในอําเภอไทรน้อย จังหวัดนนทบุรี และได้นําตัวมาดําเนินคดีตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 และท่ีแก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 14(2) กรณีที่ 7 “หลอกขายผลิตภัณฑ์ประหยัดไฟฟ้า” ผู้รับผิดชอบ กก.3 บก.ปอท. ร่วมกับ บก.ปคบ. นําหมายค้นไปยังโกดังเกบ็สินค้าในพื้นที่อําเภออรัญประเทศจังหวัดสระแก้วและอําเภอพานทองจังหวัดชลบุรี ตรวจยึดผลิตภัณฑ์ที่ผิดกฎหมายจํานวนมาก และได้สืบสวนติดตามผู้กระทําความผิดซึ่งเป็นชาวต่างชาติ มาดําเนินคดีตามกฎหมายต่อไป กรณีที่ 8 “แอบอ้างนามสกุลนายกรัฐมนตรี หลอกขายของออนไลน์” ผู้รับผิดชอบ กก.3 บก.ปอท. จับกุมผู้ต้องหาตามหมายจับของศาลอาญาที่ 1328/2562 ลงวันที่ 30 ส.ค. 2562 โดยแอบอ้างใช้นามสกุล นายกรัฐมนตรีหลอกขายสินค้าทางออนไลน์ เพื่อหวังให้เกิดความน่าเชื่อถือ ซึ่งกระทํามาแล้วเป็นเวลาสี่เดือน มูลค่าความเสียหายนับแสนบาท กรณีที่ 9 “เพจเฟซบุ๊ก รับสมัครนักรบล้มล้างการปกครอง” ผู้รับผิดชอบ กลุ่มงานสนับสนุนฯ บก.ปอท. ได้นําหมายค้นของศาลจังหวัดนนทบุรี เข้าตรวจค้นที่บ้านพักย่านเมืองทองธานี จังหวัดนนทบุรี ได้พบกับผู้กระทําความผิด และรับว่าได้กระทําจริง จึงได้นําตัวมาดําเนินคดีตามกฎหมายข้างต้นต่อไป (มาตรา 14(3) ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 116 )กองบังคับการปราบปรามการกระทําความผิดอาชญากรรมทางเทคโนโลยี Technology Crime Suppression Division ด้าน พ.ต.อ.ศิริวัฒน์ เปิดเผยว่า ข่าวปลอมหรือ Fake News แบ่งได้ 4 ประเภท คือกลุ่มเกรียนหรือนักเลงคีย์บอร์ดโพสต์ข้อความสร้างกระแสเพื่อความสนุกส่วนตัว, กลุ่มหวังเงิน นำภาพดารา ผู้มีชื่อเสียง โพสต์สร้างกระแส หวังยอดติดตามเพื่อโฆษณา, กลุ่มส้รางความเกลียดชัง โพสต์ข้อความดูหมิ่น ยุยง ปลุกปั่นหรือกลุ่ม Hate Speech และกลุ่มหลอกลวง นำเข้าข้อมูลเท็จ หลอกขายสินค้า ทางด้าน นายพุทธิพงศ์ ระบุว่า ประชาชนสามารถโพสต์ข้อความ แสดงความคิดเห็น วิพากษ์วิจารณ์โดยสุจริตได้ หากไม่สร้างความเกลียดชัง และไม่เกิดความเสียหายต่อสังคม แต่หากกระทบบุคคลอื่น อาจเข้าข่ายหมิ่นประมาทได้