อานิสงส์ยิ่งใหญ่ ไทยลาว ร่วมยกยอด ทองคำพระธาตุพนม บูรณะใหม่รอบ 44 ปี ทำด้วยทองคำ 19 กิโล ประดับเพชร ถวายเป็นพุทธบูชา พระอุรังคธาตุ พระพุทธเจ้า เมื่อวันที่ 7 ก.ย.62 ที่วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร อ.ธาตุพนม จ.นครพนม พลเอก ไพบูลย์ คุ้มฉายา องคมนตรี เป็นประธานในพิธี บวงสรวงพุทธาภิเษกสมโภช ยกยอดน้ำค้างทองคำ กระดิ่งทองคำชัยมงคล และดอกบัวทองคำ ประดิษฐานบนยอดพระธาตุพนมบรมเจดีย์ หลังมีการ มีการขออนุญาตกรมศิลปากร ทำการปฏิสังขรณ์ เนื่องจากยอดองค์พระธาตุพนมอันเดิม เริ่มทรุดโทรม เกิดจากกรดสิ่งปฏิกูล ที่มีการบูรณะ มาตั้งแต่ ปี 2518 หลังจากพระธาตุพนมล้ม และมีการบูรณะ ขึ้นใหม่ โดยในครั้งนี้ ผู้มีจิตศรัทธา ได้ร่วมกันจัดสร้างยอดอันใหม่ขึ้น ประกอบไปด้วย ยอดน้ำทองคำ มีลักษณะเหมือนหยดน้ำค้าง ประดับด้วยกระดิ่งทองคำ จำนวน 32 ใบ และดอกบัวทองคำ ประดับตกแต่งด้วยเพชร รวมใช้ทองคำในการสร้าง 19 กิโลกรัม เพื่อเป็นพุทธบูชา แด่องค์พระธาตุพนม ตลอดจนพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งภายในองค์พระธาตุพนม ได้บรรจุพระอรังคธาตุ หรือกระดูกส่วนหัวอกของพระพุทธเจ้า ถือเป็นพระบรมเจดีย์ ที่ก่อสร้างมาตั้งแต่ ปี พ.ศ.8 อายุเก่าแก่กว่า 2,500 ปี ที่สำคัญถือเป็นการบูรณะปรับปรุง ในรอบ 44 ปี ที่หาโอกาสยากที่จะได้ร่วมพิธี นับเป็นอานิสงค์ยิ่งใหญ่ และเป็นศิริมงคล แก่ชาว จ.นครพนม และผู้ร่วมพิธี ในครั้งนี้ มี นายสยาม ศิริมงคล ผวจ.นครพนม พร้อมด้วย พล.ต.อ.ดร.วิระชัย ทรงเมตตา รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ รวมถึงข้าราชการ เจ้าหน้าที่ จากภาครัฐเอกชน คณะดาราชื่อดัง พุทธศาสนิกชน ประชาชน นักท่องเที่ยว ร่วมพิธี พระมหากมลชัย กมโล ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร อายุ 44 ปี กล่าวว่า สำหรับองค์พระธาตุพนม จากประวัติความเป็นมา ตามตำนานความเชื่อ พระอุรังคนิทาน ระบุไว้ว่า สมัยหนึ่งในปัจฉิมโพธิกาล พระพุทธเจ้า พร้อมพระอานนท์ ได้เสด็จมาทางอากาศ เพื่อไปบิณฑบาต ที่เมืองศรีโคตรบูร สปป.ลาว ภายหลังได้มาประทับแรมที่ภูกำพร้า คือ จุดที่ก่อสร้างองค์พระธาตุพนมในปัจจุบัน จากนั้นพญาอินทร์ ได้เสด็จมาทูลถาม ซึ่งพระพุทธองค์ได้ตรัสว่า เป็นประเพณีของพระพุทธเจ้า 3 พระองค์ ในภัททกัลป์ที่นิพพานไปแล้ว บรรดาสาวกจะนำพระบรมสารีริกธาตุมาบรรจุไว้ที่ภูกำพร้า เช่นกันกับพระพุทธองค์ เมื่อนิพพานแล้ว พระมหากัสสะปะ ผู้เป็นสาวก จะได้นำเอาพระบรมสารีริกธาตุมาบรรจุไว้เช่นกัน ภายหลัง พระพุทธเจ้าปรินิพาน พระมหากัสสะปะ ผู้เป็นสาวก ได้ร่วมกัน สร้างองค์พระธาตุพนมขึ้น เพี่ออัญเชิญพระอุรังคธาตุ มาประดิษฐาน ประมาณพุทธศตวรรษที่ 12 -14 หรือในราวปี พ.ศ.8 สมัยอาณาจักรศรีโคตรบูร กำลังเจริญรุ่งเรือง โดยการนำของพญาเจ้าเมืองทั้ง 5 และพระอรหันต์ 500 องค์ ซึ่งในยุคแรก ได้ก่อสร้างจากดินดิบ เป็นเตาสี่เหลี่ยม ข้างในเป็นโพรงมีประตูทั้ง 4 ด้าน จากนั้นได้มีการบูรณะ ครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.500 และทำการบูรณะต่อเนื่องมา รวมถึง 6 ครั้ง จนกระทั่งเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2518 พระธาตุพนมได้พังทลายลง เนื่องจากฐานเก่าแก่ ทำให้เป็นที่ฮือฮา เพราะได้พบเห็นผอบแก้ว บรรจุพระอุรังคธาตุ 8 องค์ ไว้ภายใน และมีการลงเข็มรากสร้างพระธาตุพนมองค์ใหม่ เมื่อปี2519 เป็นเจดีย์ทรงฐาน 4 เหลี่ยม ความสูง จากพื้นถึงยอดฉัตร 57 เมตร ฐานกว้างด้านละ 12.300 เมตร ยอดฉัตรเป็นทองคำน้ำหนักกว่า 10 กิโลกรัม ภายในได้บรรจุพระอุรังคธาตุ หรือกระดุกส่วนหน้าอก ของ พระพุทธเจ้า ทั้งนี้จากข้อมูลยังพบว่า เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2518 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงเสด็จพระราชดำเนิน พร้อมด้วย สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ในหลวงรัชการที่ 10 ประกอบพิธีสรงพระอุรังคธาตุ หรือกระดูกส่วนหน้าอก ของพระพุทธเจ้า และทอดพระเนตรซากปรักหักพังพระธาตุพนม หลังพระธาตุพนมล้ม เมื่อ 11 สิงหาคม 2518 ต่อมา เมื่อวันที่ 25 – 26 ธันวาคม 2518 ทรงเสด็จประกอบพิธี สมโภชพระอุรังคธาตุ และ เมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2522 เสด็จพระราชดำเนิน ประกอบพิธี บรรจุพระอุรังคธาตุ ภายในองค์พระธาตุพนม