บริษัทเวียตเจ็ท เปิดเผย งบการเงินหลังตรวจสอบบัญชีในช่วง 6 เดือนแรกของปี ระบุรายรับที่ 20,181 พันล้านดอง ผลกำไรก่อนหักภาษี 1,553 พันล้านดอง เพิ่มขึ้น 22% และ 15% ตามลำดับเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ซึ่งเป็นรายรับจากกิจกรรมทางธุรกิจและการขนส่งผู้โดยสารที่ 18,984 พันล้านดอง เพิ่มขึ้น 17%จากปีก่อน โดยในจำนวนนี้ คิดเป็นรายรับในต่างประเทศอยู่ที่ 6,865 พันล้านดอง เพิ่มขึ้น 51%จากปีก่อน และรายรับจากบริการเสริมอยู่ที่ 5,429 พันล้านดอง เพิ่มขึ้น 43%จากปีก่อน ซึ่งเกิดจากจำนวนผู้โดยสารบนเที่ยวบินระหว่างประเทศที่เพิ่มขึ้นและคิดเป็นอัตราส่วนถึง 27% ของรายรับบริการขนส่งทางอากาศ โดยรายรับในต่างประเทศรวม (ในประเทศที่มีเส้นทางบิน) อยู่ที่ 10,944 พันล้านดอง คิดเป็น 54% ของรายรับรวมทั้งหมดจากบริการขนส่งทางอากาศ ชี้ให้เห็นว่าธุรกิจในต่างประเทศเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนการเติบโตของบริษัท จากข้อมูลงบการเงินหลังตรวจสอบบัญชี อัตราส่วนผู้โดยสารเส้นทางระว่างประเทศเพิ่มขึ้น 35% โดยในช่วงครึ่งปีแรกเวียตเจ็ทเปิดเส้นทางบินระหว่างประเทศใหม่ 9 เส้นทางสู่ญี่ปุ่น ฮ่องกง อินโดนีเซีย จีน และเส้นทางบินในประเทศอีก 3 เส้นทาง ทำให้เครือข่ายการบินของเวียตเจ็ทมีบริการเส้นทางบินมากถึง 120 เส้นทาง ครอบคลุมจุดหมายปลายทางทั้งในเวียดนาม ญี่ปุ่น ฮ่องกง สิงคโปร์ เกาหลีใต้ ไต้หวัน ไทย เมียนมาร์ มาเลเซีย กัมพูชา อินโดนีเซีย จีน เป็นต้น นอกจากนี้ เวียตเจ็ท ยังมีการดำเนินงานในสนามบินอีกหลายแห่งทั่วโลกซึ่งรวมถึงดูไบและโดฮา เวียตเจ็ทยังมีช่องทางสร้างการเติบโตได้ในตลาดการบินต่างประเทศ เนื่องจากบริษัทมีอัตราผลกำไรที่สูงจากรายรับของบริการเสริมและต้นทุนค่าเชื้อเพลิงต่ำ รวมถึงอัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินในต่างประเทศที่เพิ่มขึ้นตลอด 6 เดือนแรกที่ผ่านมา เวียตเจ็ทบริหารเที่ยวบินจำนวน 68,821 เที่ยว ให้บริการผู้โดยสารรวมทุกเส้นทางกว่า 13.5 ล้านคน โดยเวียตเจ็ทยังคงรักษาสถานะผู้นำในธุรกิจการบินภายในประเทศด้วยส่วนแบ่งตลาด 44% ในครึ่งปีแรก โดยมีสายการบินเวียดนามแอร์ไลน์รั้งอันดับ 2 ที่ส่วนแบ่ง 35.9% เจ็ทสตาร์แปซิฟิก 13.9% แบมบูแอร์เวส์ 4.2% และวาสโก 2% เมื่อ พิจารณาที่ตัวชี้วัดการเงินรวม สายการบินมีทรัพย์สินรวมมูลค่า 43,005 พันล้านดองเพิ่มขึ้น 26% เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน โดยมีดัชนีสภาพคล่องสูงที่ 1.41 อัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้นที่ 0.51 โดยช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาอยู่ที่ 0.64 ในขณะที่มูลค่าหุ้นอยู่ที่ 15,529 พันล้านดอง เพิ่มขึ้น 30% เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน ส่วนปริมาณการผลิตด้านผู้โดยสาร ยังคงรักษาอัตราส่วนที่ดีเยี่ยม มีต้นทุนต่อหน่วยจากการผลิตด้านผู้โดยสาร(CASK) ที่ 3.88 เซนต์ และต้นทุนต่อหน่วยจากการผลิตด้านผู้โดยสารหลังหักค่าน้ำมัน ที่ 2.27 เซนต์ สืบเนื่องจากค่าเชื้อเพลิงที่ลดลงราว 4%และการประหยัดต้นทุนทั้งในด้านการบริหารจัดการและการดำเนินงาน ลดลงราว 2% สำหรับในตลาดหลักทรัพย์ หุ้นของเวียตเจ็ทได้รับการจดทะเบียนในดัชนี Vietnam Sustainability Index (VNSI) โดยตลาดหลักทรัพย์นครโฮจิมินห์ในช่วงเวลาตั้งแต่วันที่ 5 สิงหาคม 2562 ถึงวันที่ 31 กรกฎาคม 2563 ซึ่งเป็นการรวบรวมหุ้นของบริษัทชั้นนำ 20 แห่งที่มีคะแนนการพัฒนาที่ต่อเนื่องมากที่สุด ดัชนี VNSI คือหนึ่งในมาตรการของตลาดหลักทรัพย์เวียดนามที่นำเสนอรายชื่อบริษัทชั้นนำที่ช่วยให้นักลงทุนสามารถถือหุ้นเขียวได้ในพอร์ตของตนเอง ทั้งนี้ ข้อมูลของ Airfinance Journal ยังระบุว่า เวียตเจ็ทเป็นบริษัทสายการบินอันดับที่ 22 จากทั้ง 50 แห่งของโลกที่มีตัวชี้วัดทางการเงินและการดำเนินงานที่ดีเยี่ยมทีสุดในหมู่สายการบินชื่อดังทั้ง 162 แห่งของโลก ซึ่งเวียตเจ็ท ได้จับมือกับพันธมิตรชั้นนำเพื่อสร้างระบบการดำเนินงานที่หลากหลายบนพื้นฐานแพล็ตฟอร์ม เทคโนโลยีสมัยใหม่ สำหรับการมอบข้อเสนอมากมาย บริการและผลิตภัณฑ์คุณภาพเยี่ยม เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค โดยในเดือนมิถุนายน 2562 ได้เปิดตัวแอปพลิเคชั่นเวอร์ชั่นปรับปรุงใหม่ นำเสนอโปรแกรมสมาชิก VietjetSkyClub เพื่อมอบของแถม สิ่งอำนวยความสะดวกและบริการจองตั๋วที่รวดเร็วผ่านสมาร์ทโฟน อีกทั้งยังร่วมมือกับ Google Flights เพื่อประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์ของผู้คน การท่องเที่ยว และประเทศเวียดนามสู่สายตาชาวโลก รวมถึงมอบข้อเสนอการเดินทางท่องเที่ยวแก่ชาวเวียดนามและนักเดินทางทั่วโลก และล่าสุด ในเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา เวียตเจ็ทยังประกาศความร่วมมือกับ สวิฟต์247 และ แกร็บ เพื่อนำเสนอบริการขนส่งสินค้าด่วนผ่านแพล็ตฟอร์มการขนส่งสมัยใหม่ของ GrabExpress และเครื่องบินของเวียตเจ็ท ทั้งนี้อุตสาหกรรมการบินของเวียดนามมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและคาดว่าจะเติบโตอย่างต่อเนื่องในอนาคต โดยองค์กรท่าอากาศยานเวียดนามคาดการณ์ว่าในปี 2563 มีจำนวนผู้โดยสารที่เดินทางโดยสารการบินต่าง ๆ จะสูงถึง 112 ล้านคน โดยเพิ่มขึ้นมากกว่า 8 ล้านคน ในฐานะสายการบินชั้นนำของตลาดการบินภายในประเทศ และเครือข่ายการบินระหว่างประเทศที่กำลังเติบโต ทำให้มีความได้เปรียบจากการมีเครือข่ายการบินขนาดใหญ่ ฝูงบินสมัยใหม่ที่ประหยัดค่าเชื้อเพลิงและมีอายุการใช้งานเฉลี่ยต่ำที่สุดในโลกเพียง 2.82 ปี ราคาบัตรโดยสารที่คุ้มค่า และสิทธิประโยชน์มากมายสำหรับนักเดินทาง ทั้งการเดินทางเพื่อท่องเที่ยวกับเพื่อนและสมาชิกในครอบครัว การศึกษาในต่างประเทศ และการค้า