วันที่ 2 ก.ย.ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ พล.ต.ท.ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เป็นประธานการชุมกรรมการบูรณาการความปลอดภัยและลดอุบัติเหตุทางถนน (บปถ.) เพื่อพิจารณากำหนด หลักเกณฑ์และวิธีการจ่ายเงินตอบแทนบุคคลภายนอกผู้ให้ข้อมูลข่าวสารหรือเบาะแสการแข่งรถในทางและ ความผิดอื่นที่เกี่ยวข้อง และให้สามารถนำเงินนอกงบประมาณที่มีผู้บริจาคให้กับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เพื่อใช้ในกิจการด้านการจราจรเพื่อความปลอดภัยและลดอุบัติเหตุทางถนน โดยมี พล.ต.ต.ไตรงค์ ผิวพรรณ ผบก.ทว. พล.ต.ต.จิรพัฒน์ ภูมิจิตร รอง ผบช.ภ.1 และคณะกรรมการร่วมประชุม พล.ต.ท.ดำรงศักดิ์ กล่าวว่า ตามที่รัฐบาลโดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้ตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาการแข่งรถในทาง การขับรถโดยไม่คำนึงความปลอดภัยของผู้อื่น และมอบนโยบายให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติ แก้ไขปัญหาการแข่งรถในทางและความผิดอื่นที่เกี่ยวข้อง ให้เป็นเป็นรูปธรรมและยั่งยืน พล.ต.อ.จักรทิพย์ ชัยจินดา ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติได้ขับเคลื่อนนโยบายอย่างจริงจัง โดยมีหนังสือ ตร. ด่วนที่สุด ที่ 0007.22/2095 ลง 26 มิ.ย.62 กำหนดมาตรการป้องกันและปราบปรามการแข่งรถในทางฯ 4 มาตรการ คือ 1. มาตรการป้องกันเชิงรุก(ก่อนเกิดเหตุ) 2. มาตรการปราบปราม (ขณะเกิดเหตุ) 3. มาตรการสอบสวนขยายผล 4. มาตรการเฝ้าระวังและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้กระทำผิด เพื่อให้การแข่งรถในทางหมดไป และมีคำสั่ง ตร. 365/2562 ลง 26 มิ.ย.62 แต่งตั้งให้ พล.ต.ท.ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติเป็นหัวหน้าคณะทำงานป้องกัน และปราบปรามการแข่งรถในทางและความผิดอื่นที่เกี่ยวข้อง จากการปฏิบัติตามมาตรการดังกล่าวอย่างต่อเนื่องและจริงจัง ตั้งแต่วันที่ 26 มิ.ย.26 ถึง 26 ส.ค.62 ปรากฏว่าการกระทำความผิดแข่งรถในทางลดลงมากอย่างชัดเจน แต่คงเหลืออยู่ประมาณ 10-15% โดยการร้องเรียนเหตุแข่งรถในทางของศูนย์รับแจ้งเหตุฉุกเฉิน 191 ของกองบัญชาการตำรวจนครบาล มีสถิติลดลงอย่างต่อเนื่อง จากห้วงก่อนเริ่มมาตรการ (1-26มิ.ย.62) มีการร้องเรียน405 เหตุ ช่วงดำเนินการตามมาตรการเดือนแรก (27มิ.ย.- 31 ก.ค.62) การร้องเรียนลดลงเหลือ 114 เหตุ คิดเป็น ลดลง 291 เหตุ (ลดลง 71.8 %) ช่วงเดือนที่ 2 (1-31 ส.ค.62) การร้องเรียนลดลงเหลือ 42 เหตุ คิดเป็นลดลง 363 เหตุ (ลดลง 89.6 %) แม้ปัญหาการแข่งรถในทางหรือปัญหาการขับรถโดยไม่คำนึงความปลอดภัยของผู้อื่น ซึ่งเป็นปัญหา ที่รัฐบาลและสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้ให้ความสำคัญและดำเนินการป้องกันและปราบปรามมาโดยตลอด แต่ปัญหาดังกล่าวก็ยังไม่หมดไป 100% พล.ต.อ.จักรทิพย์ ชัยจินดา ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ซึ่งมีความ มุ่งมั่นที่จะแก้ไขปัญหานี้ให้หมดไปโดยสิ้นเชิง จึงมีแนวความคิดที่จะให้ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมสอดส่องและแก้ไขปัญหาร่วมกับตำรวจ โดยการมอบเงินค่าตอบแทนให้แก่ประชาชนผู้ให้ข้อมูลข่าวสารหรือเบาะแส การกระทำความผิดแข่งรถในทางอันนำไปสู่การจับกุมผู้กระทำความผิด จึงได้มี คำสั่ง ตร. ที่ 488/2562 ลง 27 ส.ค.62 มอบหมายให้พล.ต.ท.ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เป็นประธานกรรมการบูรณาการความปลอดภัยและลดอุบัติเหตุทางถนน (บปถ.) เพื่อพิจารณากำหนด หลักเกณฑ์และวิธีการจ่ายเงินตอบแทนบุคคลภายนอกผู้ให้ข้อมูลข่าวสารหรือเบาะแสการแข่งรถในทางและ ความผิดอื่นที่เกี่ยวข้อง และให้สามารถนำเงินนอกงบประมาณที่มีผู้บริจาคให้กับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เพื่อใช้ในกิจการด้านการจราจรเพื่อความปลอดภัยและลดอุบัติเหตุทางถนน มาใช้สำหรับเรื่องการป้องกันและ พล.ต.อ.จักรทิพย์ ชัยจินดา ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ มีนโยบายมอบเงินตอบแทนบุคคลภายนอกผู้ให้ข้อมูลข่าวสารหรือเบาะแสการกระทำความผิด แข่งรถในทางและความผิดอื่นที่เกี่ยวข้องปราบปรามการกระทำผิดแข่งรถในทาง (เด็กแว้น) การขับรถโดยไม่คำนึงความปลอดภัยของผู้อื่นและความผิด ที่เกี่ยวข้องได้ วันนี้จึงเชิญคณะกรรมการฯ มาประชุมเพื่อพิจารณาหลักเกณฑ์การจ่ายเงินค่าตอบแทนฯตามแนวทางที่ พล.ต.อ.จักรทิพย์ ชัยจินดา ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติได้เห็นชอบในหลักการ และได้เชิญเครือข่ายภาคีภาคประชาชนมาร่วมประชุมเพื่อรับทราบการกำหนดหลักเกณฑ์ฯ ของคณะกรรมการฯ โดยที่ประชุมคณะกรรมการฯ มีมติกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจ่ายเงินตอบแทนบุคคลภายนอก ผู้ให้ข้อมูลข่าวสารหรือเบาะแสการแข่งรถในทางและความผิดอื่นที่เกี่ยวข้อง มีสาระสำคัญโดยสังเขป ดังนี้ 1. เงินค่าตอบแทนฯ ให้เบิกจ่ายจากเงินนอกงบประมาณที่มีผู้บริจาคให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เพื่อใช้ในกิจการด้านการจราจรเพื่อความปลอดภัยและลดอุบัติเหตุทางถนน 2.. ต้องเป็นการแจ้งข้อมูลข่าวสารหรือเบาะแส และจับกุม ในข้อหาความผิดอย่างใดอย่างหนึ่งตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ได้แก่ - การแข่งรถในทางโดยไม่ได้รับอนุญาต หรือ - การขับรถในลักษณะที่ผิดปกติวิสัยของการขับรถตามธรรมดา หรือ - การขับรถโดยไม่คำนึงถึงความปลอดภัยหรือความเดือดร้อนของผู้อื่น หรือ - เป็นผู้จัด สนับสนุน หรือส่งเสริมให้มีการแข่งรถในทาง (admin page) 3. เป็นการแจ้งผ่านทาง ศูนย์รับแจ้งเหตุฉุกเฉิน 191 ,ศูนย์รับเรื่องร้องเรียน 1599 หรือศูนย์ โซเชียลมีเดีย สำนักงานตำรวจแห่งชาติและต้องเป็นการแจ้งโดยประชาชนผู้พบเห็นเหตุการณ์ด้วยตนเอง (เป็นประจักษ์พยานผู้รู้เห็นเหตุการณ์ด้วยตนเอง มิใช่พยานบอกเล่า) โดยเจ้าหน้าที่ของศูนย์ฯ จะบันทึกข้อมูล การแจ้งไว้ในสาระบบการรับแจ้งพร้อมรายละเอียด (โดยจะปกปิดนามของผู้แจ้งไว้ ไม่เปิดเผยต่อสาธารณชน หรือบุคคลผู้ไม่เกี่ยวข้อง) แต่หากผู้แจ้งรายใดไม่ประสงค์จะรับเงินค่าตอบแทนฯ ก็สามารถแจ้งยืนยัน ความประสงค์ดังกล่าวไว้ในขณะแจ้งเหตุได้ 4. ข้อมูลข่าวสารหรือเบาะแสที่แจ้ง อย่างน้อยจะต้องประกอบด้วย วันเวลาเกิดเหตุ , สถานที่เกิดเหตุ, พฤติการณ์ในการกระทำความผิด การก่อเหตุ การรวมตัว หรือการมั่วสุม, ประเภท และจำนวนยานพาหนะ ที่กระทำความผิด โดยประมาณ (เท่าที่ทราบ), ชื่อ สกุล บุคคล กลุ่มบุคคล กลุ่มแก๊ง ชื่อฉายา ของผู้ที่กระทำ ความผิด (เท่าที่ทราบ), เขตพื้นที่รับผิดชอบของสถานีตำรวจใด (เท่าที่ทราบ), ภาพถ่าย หรือคลิปประกอบ (หากมี), ชื่อ นามสกุล ที่อยู่ หมายเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก และหมายเลขโทรศัพท์ ผู้แจ้ง 5. ให้หัวหน้าชุดจับกุมหรือพนักงานสอบสวนผู้ออกหมายเรียกผู้ต้องหามารับทราบข้อกล่าวหา เป็นผู้รวบรวมเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องเมื่อมีการจับกุมหรือแจ้งข้อกล่าวหา ได้แก่ สำเนาบันทึกจับกุม, สำเนาบันทึกประจำวันรับตัวดำเนินคดีตามกฎหมาย ,สำเนาหลักฐานการแจ้งข่าวสารหรือเบาะแสฯ, สำเนาเอกสารบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ให้ข้อมูลฯ และ สำเนาหน้าสมุดบัญชีธนาคารของผู้ให้ข้อมูลฯ (เฉพาะกรณีประสงค์ขอรับเงินผ่านทางบัญชีธนาคาร) เสนอผ่าน หัวหน้าสถานีตำรวจท้องที่เกิดเหตุ ส่งถึง ประธานกรรมการบูรณาการความปลอดภัยและลดอุบัติเหตุทางถนน เพื่อพิจารณาอนุมัติจ่ายเงินค่าตอบแทน จำนวน 3,000 บาท ต่อ 1 ครั้ง(เหตุ) โดยให้ดำเนินการให้เสร็จสิ้นภายใน 13 วัน นับแต่มีการจับกุม 6. การมอบเงินค่าตอบแทนฯแก่ผู้ให้ข้อมูลข่าวสารหรือเบาะแส โดยตรงเข้าบัญชีธนาคารชื่อบัญชีของผู้แจ้ง โดยสำนักงานตำรวจแห่งชาติ จะมีหนังสือแจ้งเวียนให้หน่วยต่างๆในสังกัดทราบ และให้สามารถเริ่มใช้หลักเกณฑ์และวิธีการจ่ายเงินค่าตอบแทนนี้ได้ นับแต่วันที่ 3 ก.ย. 62 เป็นต้นไป