แสงไทย เค้าภูไทย วันนี้ กำลังมีเหตุแปรปรวนในขบวนการสื่อสารมวลชนเมื่อรัฐบาลเข้ามาแทรกแซงด้วยข้ออ้างปฏิรูปสื่อ ขณะที่สื่อเองก็ต้องดิ้นหนีตายเมื่อสื่อดิจิตอลเข้ามาแย่งคนอ่านสื่อมวลชนกระแสหลักเช่นหนังสือพิมพ์รายวัน รายสัปดาห์ วารสาร นิตยสาร โทรทัศน์ วิทยุส่วนมักจะเป็นวิสาหกิจที่มีรูปแบบเป็นองค์กรเป็นบริษัท มีผังงานรับผิดชอบหลายชั้น หลายขั้นตอนกว่าข่าว หรือบทความ บทวิจารณ์แต่ละชิ้นจะออกมาสู่สายตาของมหาชนได้ ต้องผ่านการกลั่นกรองหลายชั้น ใช้เวลา ใช้กระบวนการผลิตหลายขั้นตอน ต่างจากสื่อสังคมออนไลน์และสื่อดิจิตอลบางด้านที่คนคนเดียว เขียนและส่งข้อความหรือโพสต์หรือแท็กท์ภาพออกมาได้ภายในเวลาไม่กี่วินาทีสื่อกระแสหลักวันนี้ จึงโน้มเอียงที่จะเป็นสื่อตามหลังสื่อสังคมออนไลน์ยกตัวอย่างข่าวร้อนหรือฮ๊อตนิวส์ ฮ๊อตทิปปิก วิศวกรยิงเด็กตายเพราะถูกรุมทำร้ายกับข่าวครูจอมทรัพย์แพะติดคุกคดีรถชนคนตายเป็นต้นทีวีที่เป็นสื่อที่มีศักยภาพนำเสนอได้เร็วที่สุด วันนี้เดินตามสื่อสังคมออนไลน์ไปแล้วสื่อดิจิตอลโดยเฉพาะสื่อสังคมออนไลน์ กลายเป็นเวทีที่คนทุกคน ทุกระดับ สามารถเข้าถึงและแสดงความคิด ความเห็น นำเสนอข้อมูล ข้อเท็จ ข้อจริง เบาะแส เป็นเวทีโต้แย้งระหว่างคู่กรณีและผู้มีส่วนร่วมรวมถึงกองเชียร์ กองแช่งในท่วงทำนองดังกล่าว บางครั้งก็มีผู้แอบแฝงหาผลประโยชน์ มีการเรี่ยไรเงินทองมีการสร้างกระแสเรียกร้องความเห็นใจเพื่อรับประโยชน์ ความบ้องตื้นหรือเส้นตื้นของชาวเน็ต ไม่มีโยนิโสมนสิการ ฟังไม่ศัพท์จับเอาไปกระเดียด มีการบริจาคหรือสมทบทุนไปช่วย จำนวนเป็นแสนเป็นล้าน เพราะมองโลกสวยเกินไปพวกเน็ตไอดอล และแอดมินนั้น น่ากลัวมาก ไม่ต่างไปจากพวกดีเจในสถานีวิทยุหรือพิธีกรในโทรทัศน์ เพราะปลุกกระแสเก่ง ได้ผลรวดเร็วทันใจวิกฤตการทางการเมือง ปี 2553 ที่มีการสังหารหมู่ที่ราชประสงค์นั้น แกนนำกลุ่มเสื้อแดงหลายคนเป็นดีเจของสถานีวิทยุท้องถิ่น อย่างเช่นขวัญชัย ไพรพนา เป็นต้นสามารถปลุกระดมมวลชนมาเข้าร่วมกิจกรรมการเมืองได้เป็นหมื่นๆในช่วงม็อบกปปส.บรรดาดีเจสถานีวิทยุท้องถิ่นภาคใต้ สมทบกับสื่อสังคมออนไลน์ก็ปลุกระดมมวลชนได้ไม่แพ้กัน“มาถึงกรุงเทพฯแว้ว !!!” เป็นข้อความและภาพถ่ายตัวเองกับม็อบของมวลชนที่ส่งไปให้เพื่อนๆและผู้ใกล้ชิดในลักษณะเชิญชวนมาร่วมม็อบ สื่อออนไลน์ขณะนี้มีอิทธิพลยิ่งกว่าทุกสื่อ เพราะสามารถเข้าถึงกลุ่มรับสื่อเป้าหมาย (audience)ได้ตลอด 24 ชั่วโมงและยังอัพเดท คือปรับปรุงเนื้อหาให้ทันเหตุการณ์และเพิ่มเติมข้อมูล ทำให้ผู้รับสื่อสามารถเข้าถึงข่าวและการณ์ได้ไม่จำกัดเวลาและไม่จำกัดสถานที่ต่างจากหนังสือพิมพ์ ต้องซื้อมาอ่าน ถึงจะได้รับสื่อ อายุของข่าวและบทความก็จำกัดตามประเภทและคาบ อย่างหนังสือพิมพ์รายวันนั้น อายุข่าวอยู่ได้แค่ 24 ชั่วโมงเท่านั้นก็ต้องเปลี่ยนฉบับใหม่ตามวันที่กำหนดไว้ พวกรายสัปดาห์ก็ต้องมีเนื้อหาที่ครอบคลุมเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นตลอดสัปดาห์ที่สื่อฉบับนั้นๆวางแผงด้วยสื่อสิ่งพิมพ์ โดยเฉพาะหนังสือพิมพ์และนิตยสาร ถือเป็นสื่อกลุ่มแรกที่ถูกสื่ออินเตอร์เน็ตแย่งหน้าที่ ทำให้ขณะนี้พากันทยอยเลิกพิมพ์จำหน่าย แต่แปรสภาพไปเป็นสื่อออนไลน์แทน บางฉบับก็หันมาพิมพ์เป็นดิจิตอลนิวสเพเพอร์ ที่โด่งดังที่สุดในโลกคือวอชิงตันโพสต์ นิวสวีค นิวยอร์กไทม์ เป็นต้นสื่อโทรทัศน์ก็จำกัดด้วยสถานที่และเวลา คือต้องมีที่ตั้งเครื่องรับโทรทัศน์ และมีตารางเวลาออกอากาศในอนาคต รายการโทรทัศน์ทุกประเภท จะอยู่ในสมาร์ทโฟนหรือสื่อมือถือไร้สายเครื่องเดียว จอเดียว ทั้งหมดสื่อสิ่งพิมพ์จึงพยายามดิ้นหนีตายจากการถูกคนอ่านทอดทิ้งหันไปอ่านในสื่อออนไลน์กันหมดโดยการปรับตัวให้เทียบทันสื่อออนไลน์ อย่างนิวยร์กไทม์สเป็นต้น ได้ร่วมกันไมโครซอฟท์หันมาลุยดิจิตอลนิวสเพเพอร์ เมื่อปี 2006 ใช้แอพพลิเคชั่นชื่อ Times Reader และปี 2008 ร่วมมือกับแอปเปิ้ล พัฒนาแอพพลิเคชั่น ใช้กับiPhone และ iPod Touch ที่ผู้อ่านสามารถอ่านนิวยอร์กไทมส์ดิจิตอลได้แม้ไม่มีสัญญาณอินเตอร์เน็ต จนเมษายน 2010 นิวยอร์กไทม์ส เริ่มพิมพ์ลงบนแอพพลิเคชั่นiPad ที่อ่านฟรีได้โดยไม่ต้องเป็นสมาชิก โดยไทม์หวังว่าจะได้รับการสนับสนุนจากค่าโฆษณาสินค้าและบริการ แต่ไม่เป็นไปตามเป้าหมาย ต้องหันกลับมาใช้ระบบสมาชิกใหม่ในปีถัดมา ขณะที่ Times Reader นั้น เลิกดำเนินการไปเมื่อธันวาคม 2013นิวยอร์กไทม์ส จึงต้องดิ้นต่อ โดยเข้าสู่ระบบแอนดรอยด์ระบบปฏิบัติการในโทรศัพท์สมาร์ทโฟนที่นิยมใช้กันมากที่สุดในโลก พร้อมกับระบบวินโดว์ในปี 2010 ต่อมาปี 2012 ได้เพิ่มเวอร์ชั่นภาษาจีน ซึ่งแม้รัฐบาลจีนจะกวดขันในด้านเนื้อหาที่ไม่ให้กระทบต่อความมั่นคงและวัฒนธรรมของจีน แต่ก็ได้รับการสนับสนุนด้านการลงโฆษณาจากสินค้าและบริการในประเทศจีนด้วยดี นี่เป็นตัวอย่างของการดิ้นรนเพื่อความอยู่รอดของสื่อสิ่งพิมพ์ ที่พยายามปรับตัวให้คล้อยตามพฤติกรรมของผู้อ่าน ซึ่งหันมาเข้าถึงข่าวสารข้อมูลผ่านทางระบบดิจิตอลกันมากขึ้น จนทำให้สื่อสิ่งพิมพ์ยอดขายลดลงจนหลายฉบับอยู่ไม่ได้ต้องปิดตัวลงหรือหันไปเป็นสื่อออนไลน์แทนอย่างกรณีหนังสือพิมพ์บ้านเมืองของบ้านเราเป็นต้นอุตสาหกรรมสิ่งพิมพ์ โดยเฉพาะหนังสือพิมพ์ มีอุตสาหกรรมเชื่อมโยงกันตั้งแต่ต้นน้ำคือการผลิตเนื้อหา กลางน้ำคือโรงพิมพ์และปลายน้ำคือจัดจำหน่าย และยังมีศูนย์รวมห่อ สายส่ง ร้านขายเป็นทอดๆ ต้นทุนในการผลิตสื่อสิ่งพิมพ์ สื่อโทรทัศน์และวิทยุ จึงค่อนข้างสูง ต่างจากสื่อออนไลน์ที่ต้นทุนต่ำ มีอำนาจต่อรองด้านค่าจ้างโฆษณาและแจ้งความเหนือกว่าสื่ออื่นๆ ในภาวะเศรษฐกิจฝืดเคือง บริษัทห้างร้านลดรายจ่ายด้านโฆษณา ทำให้ทีวีหลายช่อง หนังสือพิมพ์หลายฉบับอยู่กันลำบากในด้านยอดขายลดลงโดยรวมกว่า 40% เพราะเวทีความคิด เวทีความเห็นย้ายจากสื่อสิ่งพิมพ์ มาอยู่บนสื่อออนไลน์กันมากขึ้น มีผู้เล่นหน้าใหม่ๆเข้ามาเติม มาเสริมตลอดเวลา นักคิด นักเขียนนักวิชาการ สามารถแสดงความคิดเห็นของตนผ่านสื่อสังคมออนไลน์ได้โดยไม่จำกัดเวลาและเนื้อที่ผู้อ่านจึงย้ายตามไปอ่านในสื่อสังคมออนไลน์และสื่อดิจิตอลที่มีบล๊อคแสดงความเห็นกันจนสื่อสิ่งพิมพ์เหงา ยิ่งกว่านั้นความเชื่อถือให้สื่อออนไลน์ยิ่งมีมากขึ้น เมื่อสื่อคลื่นวิทยุโทรทัศน์ทำตัวเป็นสื่อทุติยภูมิ คอยเก็บตกตามหลังเพราะอ้างอิงข้อมูลจากสื่อดิจิตอลโดยการอ้างอิงข้อมูล ใช้ข้อมูลจากสื่อออนไลน์ที่โพสต์กันอิสระ มาสร้างประเด็นใหม่เพื่อต่อยอดข่าว ขยายความออกไป มีการสัมภาษณ์สด เพื่อยืนยัน ขยายความมีการนำผู้มีความรู้ในสาขาที่เกี่ยวข้องกับประเด็นข่าว เช่นนักกฎหมาย ผู้รู้ ผู้เชี่ยวชาญ ฯลฯ เพื่อมาให้เหตุผลและความรู้ความเข้าใจให้ผู้รับสื่อหรือผู้ชมผู้ฟัง ผู้อ่าน ได้ชั่งน้ำหนักว่าควรจะเชื่อข้อมูลฝ่ายไหน ผู้รับสื่อชี้ผิด ชี้ถูกเองได้ในแง่ของข่าว สื่อกระแสหลักจะไม่เป็นผู้ชี้นำหรือชี้ขาดเอง เพราะทำหน้าที่”สื่อ” ให้มวลชนได้รับเท่านั้นไม่สามารถสอดแทรกความเห็นในข่าวได้ อย่างไรก็ดี พัฒนาการส่วนนี้ แม้จะนอกกรอบจรรยาบันสื่อมวลชน ทว่าก็ทำให้ประชาชนผู้รับสื่อมีอิสระในทางความคิด มีสำนึกตระหนักรู้ ไม่ผลีผลามเชื่อ โดยการฟังความข้างเดียว หรือรีบร้อนจับประเด็น จนไขว้เขวบิดเบือนนี่คือข้อเปรียบเทียบที่สื่อมวลชนกระแสหลักจะต้องนำมาปรับให้ทัน ต้อง Updateและ U[grade ให้ทันสื่อสังคมออนไลน์ มิฉะนั้นจะอยู่ไม่รอด