แสงไทย เค้าภูไทย
ดัชนีความโปร่งใสของประชาคมโลกปี2016 อันดับไทยหล่นพรวด ทั้งๆที่รัฐบาลคสช. พยายามต่อต้านการคอรัปชั่นและประชานิยม งานวิจัยกลับพบว่ายิ่งต้านยิ่งโต
แม้ที่ประชุมเศรษฐกิจโลก (World Economic Forum) ที่เมืองดาโวสเมื่อสัปดาห์ก่อน จะมีผู้นำหลายประเทศปาฐกถาว่า การใช้นโยบายประชานิยม (populism) ก่อให้เกิดความไม่โปร่งใส (transparency)และคอรัปชั่น แต่กลับพบว่า ยิ่งต้านยิ่งโต
ดัชนีคอรัปชั่นปี 2016 (Transparency International's 2016 Corruption Perceptions Index -CPI). เผยแพร่เมื่อวันพุธที่แล้ว จัดอันดับไว้ 176 อันดับ(ประเทศ) คะแนนสูงสุด 100 คะแนนสำหรับชาติคอรัปชั่นน้อยที่สุดในโลก คะแนนต่ำสุด 0 คะแนนสำหรับชาติคอรัปชั่นสูงที่สุดในโลก
ปรากฏว่าปีที่แล้ว โซมาเลยรักษาตำแหน่งชาติที่มีการคอรัปชั่นสูงที่สุดในโลกด้วยคะแนน 10 คะแนน นับเป็นปีที่ 10 ติดต่อกันที่ชาตินี้ครองตำแหน่งนี้ (ที่ 176)
ไทยอยู่อันดับ 101 ตกจากอันดับที่76 คะแนน 35 ลดลงจากปีก่อน 38
ส่วนอันดับที่1 ชาติคอรัปชั่นน้อยที่สุดได้แก่ เดนมาร์กกับนิวซีแลด์ คะแนน 90 เท่ากัน โดยเดนมาร์กครองตำแหน่งนี้ติดต่อกันเป็นปีที่ 5 ชาติอันดับรองได้แก่ฟินด์แลนด์ สวีเด็นและสวิตเซอร์แลนด์
สำหรับสหรัฐ ได้ 74 คะแนน รั้งอันดับ 18 ลดลงจากปีก่อนหน้า 2 อันดับ องค์กรความโปร่งใสระหว่างประทศ (Transparency International ) ณ กรุงเบอร์ลินผู้จัดอันดับความโปร่งใสและคอรัปชั่น (CPI)ตั้งข้อสังเกตว่า คะแนนคอรัปชั่นและความโปร่งใสที่แต่ละประเทศได้รับในปี 2016 ส่วนใหญ่ต่ำกว่าปีก่อนหน้า
แสดงถึงว่า การคอรัปชั่นทั่วโลกไม่ได้ลดลง มีแต่จะเพิ่มขึ้น
ตัวเลขคะแนนที่ลดลง ส่วนใหญ่เกิดจากการคอรัปชั่นในภาคสาธารณ(public–sector) โดยมีการกอบโกยผลประโยชน์จากกิจการสาธารณะประโยชน์กันเพิ่มขึ้น
ระบอบการปกครองเผด็จการหรือเผด็จการแฝงที่ผู้ปกครองมีอำนาจครบวงจรแม้จะเป็นชาติประชาธิปไตยที่มาจากการเลือกตั้ง แต่อำนาจเด็ดขาดของผู้นำก็ทำให้คะแนนCPI ลดลง เช่นอียิปต์ได้ 41 จากปีก่อน 50 ฮังการี 48 จาก 51 เป็นต้น
องค์กรความโปร่งใสสากลรายงานเชิงวิเคราะห์ว่า ชาติที่ปกครองด้วยอำนาจเด็ดขาดและชาติที่ใช้นโยบายประชานิยม (populist) ส่วนใหญ่จะได้คะแนนคอรัปชั่นและความโปร่งใสต่ำคือมีการคอรัปชั่นเพิ่มขึ้นCPI ไม่ได้ยกไทยเป็นตัวอย่างในฐานะที่มีรัฐบาลฮุนต้าปกครองตั้งแต่ปี 2557 จนถึงวันนี้
แต่คะแนนที่ลดลงและตำแหน่งที่ลดลง เป็นตัวฟ้องอยู่แล้ว
ในรายงานของ CPI ได้วิเคราะห์ว่า นโยบายประชานิยมเป็นตัวการให้เกิดการคอรัปชั่นเพิ่มขึ้น โดยระบุว่า ความเหลื่อมล้ำทางสังคมมาเป็นตัวการสำคัญ โดยมีนักการเมืองเป็นผู้หยิบยื่นเพื่อที่“ประชา(ชน)” จะหันมา “นิยม” ตนบ้านเราขณะนี้ตัวเลขความเหลื่อมล้ำทางสังคมและรายได้ถ่างกว้างขึ้นรัฐบาลพยายามลดคามเหลื่อมล้ำ โดยเน้นที่รายได้ การอัดฉีดเงินกระตุ้นเศรษฐกิจเป็นวิธีการที่รัฐบาลต่างๆทำกันทั้งโลกของไทยใช้ 2 หมื่นล้านแจกคนจนเพื่อกระตุ้นการใช้จ่ายภายในประเทศ หวังเพิ่มตัวเลขจีดีพีและทดแทนรายได้จากการส่งออกมีการลงทุนภาครัฐ ในเมกะโปรเจคต์เพื่อปรับโครงสร้างเศรษฐกิจในส่วนโครสร้างพื้นฐานเช่นกิจการสาธารณูปโภคต่างๆโดยหวังว่าเดเงินจะลงไปหมุนเวียนในระบอบเศรษฐกิจ ทำให้มีการสร้างงานเพิ่มขึ้น
การดำเนินการเหล่านี้ ถือเป็นกระบวนการประชานิยมของรัฐบาลเพราะเป็นการฝืนกลไกธรรมชาติของเศรษฐกิจที่ชะลอตัวไปทั่วโลกเป็นการพายเรือทวนน้ำที่ต้องใช้กำลัง(เงิน)เพิ่มขึ้นกว่าภาวะปกติปี 2517 นี้ มีการลงทุนใน 36 โครงการวงเงิน 895,575 ล้านบาท โครงการทั้งหมดเป็นโครงการด้านคมนาคม ตั้งแต่รถไฟทางคู่ จนถึงการคมนาคมทางน้ำ ทางอากาศ โดยโครงการที่วงเงินต่ำสุดคือการจัดซื้อรถเมล์กระทรวงคมนาคมมักจะได้รับงบประมาณสูงๆหรือสูงสุดเสมอ
มีการสำรวจเชิงวิเคราะห์กันหลายเปเปอร์ในรอบสิบกว่าปีมานี้ พบว่ากระทรวงคมนาคมเป็นกระทรวงที่มีการคอรัปชั่นมากที่สุดในบรรดากระทรวงทั้งหมด
กรณีทุจริตในการจัดซื้อเครื่องยนต์ของโรลส์-รอยซ์ที่หมดอายุความแต่เพิ่งเอามาเปิดเผยเมื่อไม่กี่วันมานี้เป็นตัวอย่าง
ตอนนี้มีการเพิ่งเล็งไปที่นักการเมืองที่เคยเข้ามาดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีในกระทรวงนี้แต่ไม่มีใครเอ่ยถึงข้าราชการประจำชั้นสูงของกระทรวง
คงจะลืมกระเป๋าเดินทางบรรจุเงินสดๆเกือบพันล้านบาทในห้องนอนของอดีตปลัดกระทรวงคมนาคมคนหนึ่งที่โจรไปพบขณะเข้าไปขโมยทรัพย์สินในบ้านนั้นแล้วกระมังงานคอรัปชั่นขนาดยักษ์นั้น ไม่ใช่จะทำกันง่ายๆสั้นๆวันเดียวจบต้องมีขั้นตอน มีการชง มีการเดินเรื่องปิดงานกันที่การแบ่งสันปันส่วนผลประโยชน์
โครงการประชานิยมซ่อนรูปนี้ มีการคอรัปชั่นกันที่รอยต่อของโครงการทุกโครงการใช่แต่ระดับชาติและส่วนกลางระดับกระทรวงเท่านั้น ระดับภูมิภาคก็ไม่เว้น
แม้ขนาดจะเล็ก ทว่ามีจำนวนมากและถี่ ก็ทำให้วงเงินสูง เทียบคอรัปชั่นระดับชาติได้มีการสำรวจและทำวิจัยของหลายสถาบันการศึกษา พบว่ามีการคอรัปชั่นทุกองค์การบริหารส่วนจังหวัดไปจนถึงส่วนตำบลรัฐบาลคสช.พยายามจะยุบอบต.ด้วยเหตุผลว่ามีการคอรัปชั่นมากเป็นการแก้ไม่ตรงจุด เนื่องจากจุดประสงค์ที่จะยุบอบต.จริงๆนั้น ก็เพื่อตัดแขนตัดขานักการเมืองใช้อบต.เป็นส่วนหนึ่งของการสร้างฐานคะแนนเสียง
อันที่จริงความดีของอบต.นั้นมีมากกว่าประเด็นคอรัปชั่นถนนหนทาง ไฟฟ้า น้ำประปา งานสาธารณูปโภค งานการศึกษา ฯลฯในชุมชนบทที่มีเกือบทัดเทียมกันทั่วประเทศนั้น ก็ด้วยอบต.เหล่านี้จะโทษว่ามีการคอรัปชั่นกันทุกอบต.ก็ต้องโทษว่ามีการคอรัปชั่นกันทุกกระทรวงในทำนองเดียวกันมีโพลของหลายสถาบันการศึกษาเกี่ยวกับความรู้สึกถึงการคอรัปชั่นภาครัฐพบว่า กว่า 64%เห็นว่า พวกเขายอมรับได้หากนักการเมืองคอรัปชั่นแล้วพวกเขาได้ประโยชน์ โพลเหล่านั้น ทำกันในสมัยรัฐบาลพลเรือน ที่มีเสียงบ่นเรื่องคอรัปชั่นกันมากแต่วันนี้ นักการเมืองไม่ได้ปกครองประเทศ ดัชนีคอรัปชั่นไทยทำไมถึงแย่ลง ?สำนักโพลตั้งคำถามที่มีความเป็นกลางที่สุดไปสำรวจความเห็นของประชาชนสักทีเถอะ