แสงไทย เค้าภูไทย
ความพยายามในการสร้างความปรองดองทางการเมืองของทหารรอบสองนับแต่รัฐประหารกำลังถูกมองว่าจะล้มเหลวเหมือนครั้งแรกที่นำมาสู่การทำรัฐประหารช่วงการชุมนุมต่อต้านรัฐบาลพ.ค.57 มีบรรยากาศการเมืองเขม็งเครียดสุดขีด เพราะมีการเผชิญหน้ากันด้วยมวลชนของสองฝ่าย ที่แม้จะอยู่ห่างกันมาก โดยกปปส.อยู่ที่ศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ ส่วนนปช.อยู่ถนนอักษะ พุทธมณฑล
แต่ก็มีแนวโน้มว่าจะเกิดการปะทะกันได้ความขัดแย้งรุนแรงทางการเมืองเช่นนี้ ทำให้ฝ่ายการเมืองอ่อนแอ คู่ขัดแย้งทั้งคู่ก่อให้เกิดความอ่อนแอ ส่งผลให้ทหารมีอำนาจเหนือการเมือง
วันที่ 21 พ.ค. 2557 นั่นเอง พลเกประยุทธ์ จันทร์โอชา ผบ.ทบ.ในขณะนั้น ได้เรียกคู่กรณีทั้ง 2 ฝ่ายมาเจรจาร่วมกันกับฝ่ายเกี่ยวข้องรวมทั้งหมด 7 ฝ่าย อันได้แก่ พรรคการเมือง กลุ่มผู้ชุมนุม คณะกรรมการกำกับดูลการเลือกตั้ง ส.ว. และรัฐบาลถือเป็นการหาทางออกหรือเพื่อสร้างความปรองดองเป็นรั้งแรกการเจรจาเป็นไปด้วยบรรยากาศที่เคร่งเครียด ต่างฝ่ายต่างไม่ยอมกัน ต่างแข็งเข้าหากันพลเอกประยุทธ์จึงนัดให้มาเจรจากันใหม่วันรุ่งขึ้นเวลา 14.00 น. ก็ยังหาคำตอบไม่ได้ในที่สุดพลเอกประยุทธ์ตัดสินใจยึดอำนาจ สั่งจับกุมตัวแทนที่มาร่วมประชุม 7 ฝ่ายทั้งหมดไปเก็บตัวในค่ายทหาร
นี่คือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงการเจรจาปรองดองครั้งแรกครั้งนี้ คงไม่มีบรรยากาศเช่นนั้น เพราะไม่มีเหตุและปัจจัยใดๆที่จะนำไปสู่การถกเถียง โต้แย้งที่แข็งกร้าว แม้ว่าความขัดแย้งฝังลึกยังมีอยู่ก็ตาม
ครั้งนั้นมีผู้เข้าร่วมเจรจาถึง7 ฝ่าย ครั้งนี้ไม่น่าจะมีมากขนาดนั้นเอาแค่พรรคการเมืองคู่ขัดแย้ง 2 พรรคมาคุยกันก็พอ เพราะตัวการหรือต้นเหตุจริงๆอยู่ที่ 2 พรรคนี้เท่านั้นส่วนเรื่องการลงนามเอ็มโอยู (MOU-Memorandum of Understanding ) คือลงสัตยาบันเป็นหลักฐานของการตกลงปรองดองนั้น ก็น่าจะมีแค่ 2 พรรคนี้ลงนามเท่านั้น ทหารหรือใครๆไม่เกี่ยวหรือแม้แต่กลุ่มเสื้อเหลืองพันธมิตรเพื่อประชาธิปไตยหรือพธม.ตัวจุดชนวนและต้นแบบของการต่อต้าน ขับไล่รัฐบาลด้วยการยึดสถานที่สำคัญๆท้าทายอำนาจรัฐ เพื่อแสดงให้เห็นว่ารัฐบาลนั้นเป็นรัฐล่มสลาย เหตุผลที่พธม.ไม่เกี่ยวในการเจราปรองดองในครั้งนี้ก็เพราะ เกิดความแตกร้าวกันเองภายในสมศักดิ์ โกศัยสุข ถูกหาว่าเข้ามาเป็นแกนนำพธม.เพื่อผลทางการเมือง สุริยะใส กตะศิลาก็สบายแล้วได้รับการหนุนส่งจากดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ และเจ้าของมหาวิทยาลัยรังสิตให้เป็นอาจารย์ที่มหาวิทยาลัยแห่งนี้พลตรีจำลอง ศรีเมือง ระยะหลังเงียบไปสนิท หลังพยามยามช่วยเสธ.อ้าย ก่อม็อบต้านรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร แต่กลายเป็นม็อบทอดผ้าป่า เนื่องจากหมดแรงส่งส่วนสนธิ ลิ้มทองกุล ก็อยู่ในเรือนจำอีกนาน กว่าจะออกมาได้ก็คงจะอีก 5 ปียิ่งกว่านั้น ความสัมพันธ์ผูกพันกับ กปปส. หลังรัฐประหาร ถือว่าขาดสะบั้น เพราะพธม.รู้ว่าถูกหลอก ถูกสรวมรอยให้ทำเพื่อประชาธิปัตย์เหมือนครั้ง เหตุการณ์นองเลือดต่อต้านพลเอกสุจินดา คราประยูร เป็นนายกฯคนนอกปี 2535 แม้ว่าช่วงขับไล่ทักษิณ ชินวัตร กลุ่มสุเทพ เทือกสุบรรณและ ส.ส.ปชป.ใต้จะขนคน ขนนักรบศรีวิชัยมายึดทำเนียบ ยึดสนามบิน บุกรัฐสภา จนรัฐบาลเพื่อไทยยุบสภาฯก็ตามเชื่อกันว่า หากมีการเลือกตั้งใหม่และปชป.ได้เป็นรัฐบาล ก็คงจะทำตัวไม่ต่างไปจากหลังเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ 2535พิสูจน์กันแล้วว่า ช่วงเป็นรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ปชป.ไม่ได้ทำอะไรให้พธม.เลย ไม่เยียวยา ไม่เหลียวแล ติดคุกก็ติดไป เจ็บตาย ก็ตายไปต่างจากพวกเสื้อแดง พอเพื่อไทยได้เป็นรัฐบาล ก็สร้างคุกนักโทษการเมืองใหม่ให้ที่บางเขนพวกพธม.ค่อนแคะว่า อยู่กันสุขสบายราวกับเป็นสวรรค์ในเรือนจำ
พวกเจ็บป่วยจากการชุมนุมก็ได้รับการดูแล พายัพ ชินวัตร น้องชายทักษิณ ถือกระเป๋าเป็นผู้ดูแลภาคอีสานซึ่งเป็นขุมพลังใหญ่ที่สุดของคนเสื้อแดงต่างจากพธม.ที่แกนนำสายใต้ย้ายไปอยู่กับกปปส.หมด ส่วนสายอื่นๆกระจัดกระจายกันไปนานๆได้พบปะรำลึกถึงวันเวลาแห่งการต่อสู้ ได้รู้ว่าขณะนี้ ยังมีตัวมีตนกันอยู่ ปรับทุกข์กันอย่างเหงาๆ ลงท้ายด้วยการวิพากษ์ปชป.เจ็บปวดปานนี้แล้วจะให้คบกันได้อย่างไร?ช่วงปชป.เป็นรัฐบาล มีคนกล่าวว่า ประชาธิปัตย์คบยาก นักข่าวจึงไปถามสุเทพ เทือกสุบรรณ แกนนำกปปส.ว่า“เขาหาว่าประชาธิปัตย์คบยากจรึงหรือเปล่า? “
สุเทพตอบสั้นๆด้วยใบหน้าเรียบเฉย “ยาก”
ส่วนเหตุผลพธม.เงียบไปก็เพราะภารกิจขับไล่ทักษิณ จบสิ้นไปแล้วงานปรองดองงวดนี้จึงไม่น่าจะมีพธม.เข้าไปร่วมหากจะมีม็อบการเมืองสายปชป.ครั้งหน้า ก็ไม่น่าจะมีพธม.เข้าร่วมเช่นกัน
ก็คงจะเหมือนกับขบวนการ 14 ตุลาฯ 6 ตุลาฯครบรอบปีหรือมีงานศพ งานบุญ ก็มาพบปะกันในฐานเคยร่วมอุดมการณ์กันมาคนเดือนตุลาฯนั้น มีส่วนหนึ่งที่เข้าป่า ต่อมาร่วมขบวนการพัฒนาชาติไทย
ทุกวันนี้เมื่อมีใครตาย เถ้ากระดูกส่วนหนึ่งของเขาจะได้รับการนำไปบรรจุไว้ในสุสานของผู้ร่วมขบวนการพัฒนาชาติไทย ร่วมกับสหายผู้ล่วงลับคนอื่นๆที่บุรีรัมย์
ถามว่าโอกาสที่จะเกิดเหตุการณ์ชุมนุมทางการเมืองแบบที่ใช้ความรุนแรงดังที่ผ่านมาแล้วจะมีอีกไหม ?
ด้วยสภาพสังคมที่เปลี่ยนไป โลกทัศน์ของคนไทยเปลี่ยนเข้าสู่ยุคดิจิตอลอย่างรวดเร็ว เชื่อว่าความขัดแย้งทางการเมืองครั้งใหม่ ที่มีความรุนแรงแบบครั้งก่อนๆ จะเกิดขึ้นได้ยากแล้วจะปรองดองกันทำไม ?ความปรองดองวันนี้ จะมีก็แต่เฉพาะคนแก่วัยแย้มฝาโลงเท่านั้นคนรุ่นใหม่ไม่นิยมใช้ความรุนแรงเข้ามาเป็นเครื่องมือหักล้างกันทางการเมืองอีกแล้ว
ปัญหาเศรษฐกิจและความเหลื่อมล้ำทั้งทางสังคมและทางรายได้จะเป็นตัวชี้วัดทางการเมืองในอนาคตโพลของสวนดุสิตโพลเมื่อเดือนที่แล้ว (ธ.ค.59) ในหัวข้อ “ชีวิตความเป็นอยู่ของคนไทย ณ วันนี้” สรุปว่า ชีวิตความเป็นอยู่ของคนไทย “สิ่งที่เปลี่ยนแปลงไปในทางที่แย่ลง “แต่ “สิ่งที่ไม่เปลี่ยนแปลงยังอยู่เหมือนเดิม”สิ่งที่เปลี่ยนแปลงของประเทศไทยที่สำคัญที่สุดคือการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง
ถ้าเป้ามายของคำถาม “สิ่งที่เปลี่ยนแปลง”หมายถึง”การเปลี่ยนแปลงทางการเมือง” คำตอบที่ว่า “เป็นไปในทางที่แย่ลง” ก็น่าจะตรงเป้าหมาย ว่า”แย่ลง”แต่เมื่อมีประเด็นชี้นำคือ “ชีวิตความเป็นอยู่” สิ่งที่เปลี่ยนแปลงไปในทางที่แย่ลงก็แย่ลงอย่างที่เป็นอยู่แสดงถึงการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองการยึดอำนาจ การปฏิรูป ฯลฯ ที่เป็นการเปลี่ยนแปลงตามนัยนี้ไม่ได้ทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนดีขึ้น มีแต่แย่ลง(ตามโพล)คงไม่ต้องพูดถึงสิ่งที่ไม่เปลี่ยนแปลงว่ายังเหมือนเดิมยามนี้ อะไรๆที่ยังเหมือนเดิม ถือว่ายังดีกว่าแย่ลงแล้วความปรองดองจะช่วยให้ดีขึ้นไหม?