ดร.วิชัย พยัคฆโส [email protected] พรบ.การศึกษาแห่งชาติถูกตีตกไปก่อนจะสิ้นสุดรัฐบาลชุดนี้ แถมยังมีเสียงไม่เห็นด้วยจากประชาคมครูทั่วไปอีก แล้วจุดบอดที่เขาไม่เห็นด้วยคืออะไร เกาไม่ถูกที่คันตรงไหน คณะกรรมการคงต้องย้อนกลับไปปรับปรุงก่อนเสนอ ครม.ใหม่ ซึ่งไม่รู้ว่าจะมีเมื่อใด พรบ.อุดมศึกษาเปิดประเด็นท้าทายไปก่อนหน้านี้ โดยเฉพาะการเปิดหลักสูตรอุตสาหกรรมแห่งอนาคต 10 หลักสูตร โดยร่วมกับภาคเอกชน ซึ่งตรงประเด็นกว่า พรบ.การศึกษาแห่งชาติ มีแต่น้ำๆ เนื้อหา ประเด็นหลักคืออะไร มาดูที่ GDP ไตรมาสแรกเหลือ 2.8% น้อยกว่าไตรมาสที่แล้ว 3.6% ก็น่าตกใจอยู่ มหาวิทยาลัยได้รับความสนใจจากจีนหลายมหาวิทยาลัยและจากญี่ปุ่น หลังสุดคือมหาวิทยาลัยโตไก ล่าสุดจะเปิดหลักสูตร 10 อุตสาหกรรมใหม่ก่อน เพราะญี่ปุ่นมาลงทุนเยอะ หาวิศวกรและคนทำงานไม่ทัน มหาวิทยาลัยไทยแม้ว่าจะปรับตัวก็ตาม แต่คุณภาพยังไม่เห็นว่าจะสามารถทำงานได้ คนญี่ปุ่นและจีนเขาไม่เข้าใจ จีนมาเน้นที่อาชีวศึกษาใน 10 อุตสาหกรรม ส่วนญี่ปุ่นมาเน้นที่อุดมศึกษาก็ดีแยกกันผลิต แต่จีนมีแผนจะเอา น.ศ.จีนมาเรียนที่ไทย เพราะใช้ภาษาได้ดีกว่า น.ส.ไทย แล้วการศึกษาไทยจะพัฒนาขึ้นหรือไม่ยังเป็นปัญหา หากมาดูตำแหน่งงาน ซึ่งเป็นความต้องการในอีก 4 ปี ข้างหน้า ตั้งแต่ 2562-2566 มีจำนวนทั้งสิ้น 4.75 แสนคน มากพอที่จะผลิตออกมาได้ทันหรือไม่ ซึ่งมีทั้งภายใน EEC และนอก EEC เช่น - ยานยนต์แห่งอนาคต 53,738 ตำแหน่ง - อิเล็คทรอนิกส์อัจฉริยะ 58,235 ตำแหน่ง - ท่องเที่ยวเชิงคุณภาพ 16,920 ตำแหน่ง - หุ่นยนต์ 37,526 ตำแหน่ง - การบิน 32,836 ตำแหน่ง - ดิจิทัล 116,222 ตำแหน่ง - การแพทย์ครบวงจร 11,412 ตำแหน่ง - ระบบราง 24,246 ตำแหน่ง - พาณิชย์นาวี 14,630 ตำแหน่ง - โลจิสติกส์ 109,910 ตำแหน่ง รวม 475,674 ตำแหน่ง ดูจากจำนวนความต้องการแรงงานมากขนาดนี้ มหาวิทยาลัยไทยคงผลิตได้ไม่ทัน หากมีต่างชาติเข้ามาช่วย พอจะมีทางเป็นไปได้แต่กว่าจะมาตั้งฐานการผลิตใช้เวลา 2-3 ปีแล้ว สู้มาร่วมกับมหาวิทยาลัยไทยจะได้เร็วกว่านั้น รองนายกสมคิด ได้เสนอแนวคิดที่จะสนบัสนุนมหาวิทยาลัยเหล่านี้ โดยเฉพาะสาขาอุตสาหกรรม บริการ และเกษตร ป้อนโรงงานเหล่านั้น แต่ลืมคิดถึงโรงงานขนาดเล็กและการศึกษาของไทยนในภาพรวม ถึงกับเอ่ยปากว่าถ้ามหาวิทยาลัยใดไม่สนองตอบจะไม่ให้งบประมาณ ทำให้ชาวอุดมศึกษาถึงกับสะอึก การสนับสนุนควรสนับสนุนทั้งระบบอุดมศึกษาปรับตัวเองแล้ว แต่การศึกษาพื้นฐานยังไม่ขยับ จะรองรับกับสิ่งใหม่ๆได้อย่างไร คงต้องไปด้วยกันทั้งระบบ ทั้งพ.ร.บ.การศึกษาไว้ทีหลัง แล้วเมื่อไหร่จะนำเข้า ครม. หากปรับแก้กันจนถูกใจแล้ว การศึกษาไทยจะเอากันอย่างไร จะร่วมกับต่างชาติหรือสนับสนุนมหาวิทยาลัยไทย ขณะนี้มหาวิทยาลัยไทยได้ปิดกันไปหลายแห่งแล้ว โดยเฉพาะมหาวิทยาลัยเอกชน เอาเป็นว่ามหาวิทยาลัยใดร่วมลงทุนกับมหาวิทยาลัยต่างชาติหรือปรับตัวเอง ผลิตบุคลากรตามเป้าหมายของความต้องการแรงงานไทย รัฐบาลจะสนับสนุนด้วย อย่างนี้พอมีกำลังใจกันหน่อย