เรื่องของเสรีภาพ นำเสนอมาเป็นตอนสุดท้ายแล้ว สำหรับการถอดความปาฐกถา ของสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) ที่ตัดตอนนำมาเสนอเป็นบางช่วงบางตอน ต่อเนื่องจากตอนที่แล้ว มีความดังนี้ “โอกาสที่จะให้ ก็ต้องมีเสรีด้วย โอกาสที่จะให้เป็นสิ่งที่สำคัญ เป็นเนื้อหาสาระของประชาธิปไตย เป็นส่วนของเหตุ เสรีภาพในการได้เป็นส่วนของผล ก่อนที่จะเราจะได้ผล เราต้องทำเหตุก่อน ถ้าไม่มีเสรีภาพในการให้ เสรีภาพในการได้ก็จะเป็นไปได้ยาก เพราะเสรีภาพในการได้เป็นระดับผล ก่อนจะได้ผลต้องทำเหตุเสียก่อน ก็ต้องมีเสรีภาพในการให้ ซึ่งเป็นด้านเหตุเสียก่อน เสรีภาพด้านเหตุที่เป็นการให้นี้เป็นอย่างไร ก็คือการปกครองแบบประชาธิปไตยนี้ เป็นการปคกรองที่ พยายาม ที่จะเข้ามาเอาศักยภาพของมนุษย์แต่ละคนนี้ออกไปให้เป็นส่วนรวมให้เป็นประโยชน์ แก่สังคม การที่เรามีเสรีภาพ ก็คือการที่เราสมารถเอาศักยภาพของเราไปให้แก่สังคม เป็นส่วนร่วมที่เป็นประโยชน์ คนนี้มีความสามารถ คนนี้มีสติปัญญา แต่ไม่มีเสรีภาพไม่สามารถพูด ไม่สามารถแสดงออกไม่สามาถให้ความคิดเห็น เอาสติปัญญาของตนไปช่วยสังคมได้ นี่เป็นการปกครองที่ไม่มีประชาธิปไตย ไม่มีเสรีภาพ จะมีลักษณะที่ปิดกั้นสติปัญญามนุษย์ ทำให้ความสามารถที่คนแต่ละคนมีอยู่ ไม่เป็นประโยชน์ต่อสังคมเท่าที่ควร พอมีเสรีภาพเข้า ความสามารถสติปัญญาหที่แต่ละคนมรี มันมีโอกาสที่จะออกไปร่วมกับสังคม ออกไปเป็นประโยชร์แก่สังคม เพราะฉะนั้น การปกคกรองแบบประชาธิปไตย สำคัญอยู่ตรงนี้มาก เป็นส่วนเหตุเลย ถ้าไม่ได้อันนี้แล้วเราจะไปชื่นชมกับผลที่ได้ เป็นไปได้ยาก มันไม่มั่นคง ยั่งยืน เพราะฉะนั้นต้องมองเสรีภาพในส่วนเหตุนี้ให้หนัก และทำอย่างไรที่จะทำให้ศักยภาพของคนแต่ละคนที่มีอยู่ออกไปเป็นประโยชน์แก่สังคม อันนี้คือลักษณะของการให้ เสรีภาพในส่วนนี้ที่คนมักจะมองข้าม การปกครองแบบประชาธิปไตยเนื้อหาสาระสำคัญ เสรีภาพในส่วนนี้ คือ สังคมที่ดี พัฒนาดีแล้ว ประชาธิปไตยเขาจะพยายามเอาศักยภาพของคนแต่ละคนออกไปใช้ประโยชน์ให้กับสังคมให้เต็มที่ เรามีเท่าไหร่ เราก็ทำประโยชน์ให้แก่สังคมได้เท่านั้น ถ้าได้อย่างนี้เมื่อไหร่สังคมประชาธิปไตยจะพัฒนา จะก้าวหน้า นี่แหละเป็นสิ่งที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะฉนั้นเรามองเสรีภาพกัน มักจะมองแค่ ความหมายหนึ่ง เรื่องรูปแบบการแสดงออก ทำได้ตามชอบใจ สองมองในแง่ที่จะอาผลเท่านั้นเอง ไม่ได้นึกถึงการที่จะทำเหตุขึ้นมา อันเป็นความหมายอีกระดับหนึ่ง ยังมีเสรีภาพอีกระดับหนึ่ง คือคนเราจะมีเสรีภาพแท้จริงภายนอกได้ เราจะต้องมีเสรีภาพภายในด้วย คือจิตใจจะต้องมีเสรี เสรีคือเป็นอิสระจากการครอบงำของอำนาจ ที่จะมาชักจูเราให้ผิดไปจากธรรมะ อำนาจที่จะมาครอบงำจิตใจให้หันเหไปจากธรรมะ ก็คือกิเลส ความโลภ ความโกรธ ความหลง หรือตัณหา มานะทิฐิ ถ้าพวกนี้เข้ามาครอบงำจิตใจแล้ว ทำให้จิตใจเราไม่อยู่ในธรรมะ เราเขวออกจากธรรมะะ พอเราเขวจากธรรมะ เมื่อจิตใจเขวออกไปแล้วแสดงออกมาภายนอกก็เขวหมดทำตามเพื่อประโยชน์ส่วนตัวด้วยความโลภ ทำตามด้วยความเกลียดชังเคียดแค้นเขา จะทำลายเขาก็เป็นโทษะ ทำตามด้วยความลุ่มหลงมัวเมาเป็นโมหะ ทีนี้พอเสรีภาพถูกเจ้ากิเลสเหลานี้ครอบงำ มันก็กลายเป็นการทำตามชอบใจอย่างที่ง่ส ทำเพื่อผลประโยขชน์ตัว ทำด้วยความเคียดแค้นเจะทำลายเขา ทำด้วยความลุ่มหลง เสรีภาพก็จะเสียทันที ก็จะเกิดผลร้าย เพราะที่แท้จริงนั้นในใจของเขาไม่มีเสรีภาพ ใจของเขาเป็นทาสของกิเลส ก่อนที่คนจะแสดงออกมาว่าฉันจะทำตามเสรีภาพของฉัน เขาไม่รู้ว่าตัวว่าที่จริงในใจของเขาเป็นทาสแล้ว เพราฉะนั้น ข้อสำคัญที่สุดในใจจะต้องมีเสรีภาพ คือ เสรีภาพจากกิเลส ไม่ตกอยู่ในตกอยู่ในอำนาจของโลภ โทษะ โมหะ จะใช้ปัญญหาก็ใช้ด้วยความเที่ยงธรรม ด้วยความสุจริตใจจริงๆ ซึ่งความสุจริตใจในการใช้ปัญญา จะเกิดขึ้นไม่ได้ถ้าใจถูกครอบงำด้วยกิเลส ถ้าคนมีโลภ โทษ โมหะ ใช้ปัญญาคิดการ มันก็คิดเอาประโยชน์ให้แก่ตน คิดจะทำลายเขาบ้าง คิดด้วยความลุ่มหลงมัวเมาบ้าง แล้วผลดีจะเกิดขึ้นแก่สังคมได้อย่างไร มันเป็นไปไม่ได้ เพราะฉะนั้นจะต้องมีเสรีภาพภายในด้วย เสรีภาพระดับนี้ไม่ค่อยมีคนคิดถึง มีแต่บอกว่า ฉันคิดว่าอย่างนี้จะต้องทำให้ได้ เป็นเสรีภาพ แต่ไม่ได้ถามตัวเองว่าใจของตัวเมีเสรีภาพหรือยัง อันนี้เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด เพราฉะนั้นก่อนที่จะมีเสรีภาพภายนอกได้อย่างแท้จริง จะต้องมีเสรีภาพทางจิตใจเสียก่อน อันนี้เป็นขั้นสุดท้าย”