เสรีภาพนั้นเป็นสิ่งทุกคนต้องการและแสวงหา โดยมีบทบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ เรืองสิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทย อย่างไรก็ตาม พระนักวิชาการ นักคิดและนักเขียน สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) ปาฐกถาธรรมเอาไว้ ถอดความต่อเนื่องจากตอนที่แล้ว มีความดังนี้
“จะยกตัวอย่างอันหนึ่ง ที่ว่าเป็นหลักของการปกครองตนเอง ในการปกครองแบบประชาธิปไตย เรามีสิ่งหนึ่งที่เรียกว่า เสรีภาพ เสรีภาพก็มีความหมายของมัน เสรีภาพนั้นคืออะไร คนจำนวนมากเข้าใจว่าเสรีภาพคือการทำได้ตามใจตนเอง หรือว่า เสรีภาพคือการทำได้ตามชอบใจ อันนี้คนจำนวนมากเข้าใจว่าอย่างนี้ ก็อยากให้โยมญาติมิตรพิจารณาว่าเป็นความเข้าใจที่ถูกต้องหรือเปล่า
ในเมืองไทยนี้คืดว่าคนไม่น้อยเลย คิดว่าเสรีภาพ คือการทำได้ตามชอบใจ ถ้าหากว่าคิดแค่นี้แล้ว จะปกกรองตนเองได้ไหม ถ้าคนที่คิดว่าเสรีภาพคือการทำอะไรได้คามชอบใจ คิดว่าปกครองตัวเองไม่ได้แน่ เพราะอะไรๆก็จะเอาอย่างใจของตัวเอง เพราฉะนั้น ก็จะมีคำจำกัดความไว้ให้ ความหมายอย่างหนึ่งของเสรีภาพ แต่มันไม่ใช่ความหมายที่แท้จริง เป็นแต่พูดว่า เสรีภาพต้องมีขอบเขต คนที่พูดอย่างนี้ บางทีก็ยังเข้าใจเสรีภาพในความหมายว่า เป็นการทำได้ตามชอบใจเหมือนกัน แต่ว่า ทำได้ตามชอบใจแต่อยู่ในขอบเขตก็คิดแค่นั้น คิดแค่นี้ก็ยังไม่ใช่ความหมายของเสรีภาพ
เสรีภาพ คืออะไร พิจารณาได้หลายขั้น เรามาดูเนื้อหาสาระในทางธรรมะ ธรรมะของพระพุทธเจ้า เป็นธรรมะ ของคนที่มีเสรี บุคคลที่บรรลุธรรม ในพระพุทธศาสนาสูงสุดแล้ว เรียกว่าเป็นบุคคลทีมีเสรีที่แท้จริง ถ้ายังไม่บรรรลุธรรมแล้วยังไม่เสรี แต่จะมีเสรีได้เป็นชั้นๆ
เสรีที่ต่ำที่สุดคือ เสรีภาพของคนที่เข้าใจว่าทำได้ตามชอบใจ ต่อมาสูงขึ้นอีกหน่อย คือคนที่บอกว่าทำได้ตามชอบใจ แต่ต้องมีขอบเขต คือมีกรอบขึ้นมาหน่อย ต่อมาความหมายที่สูงขึ้นเป็นสาระในทางธรรมะมากขึ้น ก็คือความหมายนี้เป็นความหมาย แบบมีดุลยภาพหรือความสมดุลเกิดขึ้น
อนึ่งก็คือ จะต้องมองว่า ตัวเองนี่มีเสรีภาพ โดยสัมพันธ์กับเสรีภาพของผู้อื่น ซึ่งมันก็ใกล้กับเสรีภาพในกรอบหรือขอบเขตเสรีภาพของตนเองสัมพันธ์กับเสรีภาพของผู้อื่น ก็คือการไม่ล่วงละเมิดสิทธิของผู้อื่น หรือยอมรับสิทธิของผู้อื่น อันนี้เป็นการมองแบบง่ายๆ
แต่อีกอย่างที่สำคัญก็คือ ความมีเสรีภาพนั้น คือความพร้อมที่จะยอมให้โอกาสแก่ผู้อื่นด้วย อันนี้คือสิ่งสำคัญ คนที่จะปกครองตนเองได้ จะต้องมีอันนี้ เมื่อเราจะมีเสรีภาพนั้นเราต้องพร้อมที่จะให้โอกาสแก่คนอื่นด้วย มิฉะนั้นแล้ว เสรีภาพจะมีความหมายเป็นของฉันแต่ผู้เดียว คนอื่นจะมีเสรีภาพไม่ได้ เพราะฉะนั้น สิ่งที่คู่กัน เขาเรียกว่าดุลยภาพเป็นสิ่งที่คานกันอยู่ คือเสรีภาพ มีการยอมให้โอกาสแก่ผู้อื่นด้วย อันนี้ก็มีดุลยภาพขึ้นมา แต่ความหมายก็ยังไม่เต็ม ว่ากันเป็นขั้นๆ ลึกลงไปอีก เสรีภาพก็มีความหมายที่แยกไปอีกสองด้าน
เสรีภาพที่แยกเป็นสองด้านคือ เสรีภาพนั้น เพื่อจะเอาอย่างหนึ่งและเพื่อจะให้อย่างหนึ่ง ทั้งการได้และการให้ เป็นความหมายของเสรีภาพ โดยมากคนจะมองในแง่ได้ แต่เสรีภาพในการให้ ไม่มอง ไม่มองว่าเรามีเสรีภาพในการให้ด้วย จะมองแต่เสรีภาพในการจะเอาแต่ได้
เสรีภาพที่มองเป็นสองด้าน เสรีภาพในการได้และการให้นี้เป็นอย่างไร ว่าถึงเสนีภาพในการได้เสียก่อน เพราะคนเราชอบที่จะได้เสียก่อน ให้เอาไว้ทีหลัง ทีนี้ทีได้เป็นอน่างไรก็คือว่า เรามีโอกาส การมีเสรีภาพ คือมีโอกาสในการเข้าถึงผลประโยชน์ที่ตนจะพึงได้ จากระบบการปกครองแบบนี้ การอยู่ร่วมกันของมนุษย์ นี้มีประโยชน์อะไรที่เราจะพึงได้ เราเอยู่ในสังคมนี้ เราก็ควรจะเข้าถึงประโยขชนั้นด้วยโดยสม่ำเสมอกับผู้อืน ไม่ใช่ว่าถูกกดไว้ ถูกปิดกั้น คนอื่น เขาหรือคนบางคนในสังคมเข้าถึงประโยขน์นั้นได้ แต่คนอื่นเข้าถึงไม่ได้ อย่างนี้ก็เรียกว่าเราไม่มีเสรีภาพ การที่มีเสรีภาพ ก็คือแต่ละคนมีโอกาสที่จะเข้าถึงประโยชน์ที่เกิดขึ้นในสังคมนั้นร่วมกัน เรามีโอกาสที่จะเสวยผล ก็เป็นเรื่องของการได้”