วิกฤตการณ์ทางการเมืองในเดือนพฤษภาคม หรือที่เรียกว่า “พฤษภาทมิฬ” ปี 2535 นั้น ได้รับการถอดบทเรียนในหลายต่อหลายครั้ง เพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์ซ้ำรอยขึ้น 27 ปีให้หลังในปี 2562 ห้วงเวลาแห่งการรำลึกถึงเหตุการณ์พฤษภาทมิฬหวนมาอีกครั้ง โดยอยู่ในช่วงเวลาที่เหตุการณ์ดำเนินไปและยุติลงในระหว่างวันที่ 17-24 พฤษภาคม 2535 และเมื่อนำเหตุการณ์ย้อนคิดพิจารณา ก็จะพบว่ามีหลายเหตุการณ์ทางการเมืองที่เกิดขึ้นในปัจจุบันนั้น เหมือนหรือใกล้เคียงกับเหตุการณ์ที่เคยเกิดขึ้นในอดีต ฝ่ายการเมืองจึงมีการหยิบยกขึ้นมาเพื่อปลุกกระแสเพื่อชิงความได้เปรียบทางการเมือง หากแต่ในมุมของพระนักวิชาการ นักคิดและนักเขียนอย่าง สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) ได้เคยแสดงธรรมกถา เอาไว้ เรื่องที่ต่อเนื่อง โลกเดี๋ยวนี้ขัดแย้งกันมากมาย จะแก้ไหวหรือ ธรรมะบรรยาย ชุดธรรมะสู่การเมืองการสร้างสรรค์ประชาธิปไตย 6 มิ.ย. 2535 หลังเหตุการณ์พฤษภาทมิฬไว้ จึงถอดความมานำเสนอเป็นตอนๆดังนี้ “โยมมาทำบุญในวันนี้ ระลึกถึงผู้ล่วงลับไปแล้วโดยกรรมการวัด ระลึกถึงเหตุกาณ์พฤษาภาคมในประเทศไทย ที่มีความรุนแรงเกิดขึ้น มีการเสียชีวิตเกิดขึ้นเนื่องในการเรียกร้องประชาธิปไตย โยมญาติมิตรก็ระลึกถึงท่านเหล่านี้ ในฐานะที่ว่า การเสียชีวิตของท่านเหล่านี้ คงจะเป็นส่วนที่ช่วยให้ ประชาธิปไตยในประเทศไทย มีความเจริญก้าวหน้าไปอีก คือวัตถุประสงค์ในเหตุการณ์ครั้งนี้ ที่มีการชุมนุมนั้นก็ต้องการเรียกร้องประชธิปไตย ไม่ได้มีเจตนาให้มีการเสียชิวิตขึ้น แต่เมื่อมีการเสียชีวิตขึ้นแล้ว นี่ควรจะคิดให้หนักยิ่งขึ้น ว่าทำอย่างไรหตุการณ์ที่เป็นเรื่องสำคัญ เรื่องใหญ่ถึงกับมีการเสียชีวิตขึ้นนี้ไม่ให้เป็นของว่างเปล่า เลื่อนลอย แต่ว่าให้เป็นสิ่งที่มีค่า มีประโยน์ ไม่ให้ท่านที่เสียชิวิตไปแล้ว เสียชีวิตเปล่า การเสียชีวิตของท่านจะไม่เป็นของว่างเปล่า ไร้ค่า ก็ต่อเมื่ออคนที่อยู่ข้างหลัง ยังมีชีวิตอยู่ได้สืบต่อ สิ่งที่ดีงามที่จะทำให้เกิดประชาธิปไตยต่อไป ทีนี้จะทำอย่างไรจะเกิด ประชาธิปไตย ที่เป็นวัตถุประสงค์ที่แท้จริง ประชาธิปไตยที่เรานึกถึงกันนั้น โดยมากจะนึกถึงเรื่องของรูปแบบ รูปแบบที่เป็นรูปธรรมที่ เป็นระบบ อันนี้เราก็นึกถึงกันว่า จะต้องมีรัฐสภา จะต้องมีคณะรัฐมนตรี มีศาล อะไรต่างๆ ที่เรียกว่าอำนาจนิติบัญญัติ บริหาร ตุลาการ จะต้องมีจำนวนผู้แทนเท่านั้นเท่านี้ อะไรต่างๆที่เป็นเรื่องรูปธรรม หรือรูปแบบ คิดกันมาก แต่สิ่งหนึ่งที่สำคัญมาก ที่ไม่ควรจะมองข้าม คือสิ่งที่เรียกว่าเป็นสาระธรรม สาระธรรมของประชาธิปไตยที่เป็นตัวนามธรรม สิ่งนี้เป็นตัวเนื้อ เป็นตัวแก่น ถ้าหากไม่มีเนื้อ ไม่มีแก่นสาร รูปแบบนั้นก็จะไม่มีความหมาย เพราะฉะนั้นผู้ที่ต้องการประชาธิปไตยนั้น ก็จะต้องคิดพิจารณาให้ลึกซึ้งลงไป ถึงเรื่องของเรื้อหาสาระของประชาธิปไตยด้วย ไม่ใช่คิดวนเวียนกันอยู่ในรูปแบบประชาธิปไตยก็คงจะก้าวหน้าไปด้วยดีไม่ได้”