แสงไทย เค้าภูไทย ปีใหม่ฟ้าเมืองไทยยังไม่ใหม่ตามปี บรรยากาศยังขุ่นๆมัวๆ ทั้งความหวาดระแวงทางการเมือง ปัจจัยลบทางเศรษฐกิจมีมาก ด้านสังคมวิกฤตการณ์ผ้าเหลืองกลายเป็นระเบิดเวลาไปอีกครึ่งปี แม้กฎหมายลูกรัฐธรรมนูญที่มีแต่เงื่อนตายผูกมัดนักการเมืองจะผ่านไปด้วยดี แต่ก็ไมได้หมายถึงการยอมรับ โดยดุษฎีของนักการเมืองมืออาชีพ เพราะตราบใดที่ยังไม่มีการเลือกตั้ง ตราบนั้นคลื่นใต้น้ำจะยังคงเคลื่อนตัวอยู่ ด้านเศรษฐกิจ ปีนี้มีแต่ปัจจัยเสี่ยง ทั้งภายนอก ภายใน จากภายนอกจะมีสงครามการค้าระหว่างสหรัฐกับประเทศคู่ค้า เมื่อว่าที่ประธานาธิบดีโดแนลด์ ทรัมป์ ประกาศจะเก็บภาษีนำเข้าเพิ่มขึ้น ส่งออกไทยติดลบค่อนปี เพิ่งมาดีเอา 2 เดือนสุดท้าย จะถดถอยกลับไปอีก คาดว่าอาจหดลงไปถึง 10% ด้านสังคม ความธรรมกายยังไม่ทันหาย ความสังคายนากฎหมายสงฆ์ก็เข้ามาแทรก มองตามเกมว่า เป้าหมายอยู่ที่การแต่งตั้งสมเด็จช่วงฯ เป็นพระสังฆราช ฝ่ายคัดค้านเห็นว่าจะเป็นชนวนให้เกิดความขัดแย้งบาดหมางในหมู่สงฆ์ระหว่างมหานิกายกับธรรมยุต ฝ่ายสนับสนุนก็ว่าเป็นการดีที่จะได้พระสังฆราชพระชนมายุน้อยมาปฏิบัติหน้าที่ เพราะถ้าใช้อาวุโส ไม่ว่าจะด้วยพรรษาหรือด้วยอายุ พระราชาคณะชั้นสมเด็จที่มีอาวุโสสูงสุดที่อยู่ในข่ายได้เป็นพระสังฆราชนั้น อายุล้วนเกิน 80 ทั้งสิ้น บางรูปทนรอไม่ไหว ชิงมรณภาพเสียก่อน อย่างสมเด็จพระพุฒาจารย์เกี่ยว อุปเสโณ ประธานคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราชแทนสมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปรินายกที่ประชวรหนักอยู่ วันนี้สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ช่วง วรปุญโญ อยู่ในข่ายได้รับการสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 20 ท่ามกลางแรงต้าน เพราะมีปัญหาทางกฎหมายเรื่องครอบครองรถเบนซ์โบราณ และความสัมพันธ์กับวัดพระธรรมกาย กว่าจะสะสางล้างมลทินหมดก็คงจะเมื่อมีรัฐบาลใหม่ ดร.วิษณุ เครืองาม รองนายกฯฝ่ายกฎหมายยกตัวอย่างในอดีตว่าประเทศไทยเคยว่างเว้นจากการมีพระสังฆราชถึง 10 ปีมาแล้ว ถ้าหน่วงกันได้นานขนาดนั้น สมเด็จช่วงน่าจะไม่อยู่รอ เพราะปีนี้อายุท่าน 92 ปีแล้วและยังอาพาธบ่อย การที่พ.ร.บ.สงฆ์ฉบับแก้ไขใหม่ว่าด้วยการสถาปนาสมเด็จพระสังฆราชที่ เสนอแก้ไขมาตรา 7 โดยให้ใช้ข้อความว่า “พระมหากษัตริย์ทรงสถาปนาสมเด็จพระสังฆราชองค์หนึ่ง และให้นายกรัฐมนตรีลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ จากเดิมที่เป็นการเสนอชื่อโดยความเห็นชอบของมหาเถรสมาคมโดยคำนึงถึงความอาวุโสในสมณศักดิ์เป็นเกณฑ์ สมเด็จ 20 รูปในคณะกรรมการมหาเถรสมาคม ทุกองค์มีสิทธิได้รับการสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราชองค์ใหม่ ถือเป็นสมเด็จพระสังฆราชประจำรัชกาล สำหรับด้านเศรษฐกิจที่เป็นจุดเปราะบางของรัฐบาลคสช. ปี 60 สำนักเศรษฐกิจหลายแห่งพยากรณ์ไม่ตรงกัน บ้างว่าครึ่งปีแรกจะยังมีอาการเมาค้างไปจากปีที่หมดไป แต่จะไปดีครึ่งหลัง บ้างว่า ไม่ดีไปจนถึงกลางปีหน้า เพราะแม้จะเห็นด้วยกับฝ่ายที่ว่าครึ่งปีแรกเศรษฐกิจจะยังติดเชื้ออาการชะลอตัวจากปี 59 ไปอีกระยะหนึ่ง ส่วนจะให้ไปดีเอาครึ่งปีหลังนั้น ยังไม่เห็นหนทาง เพราะตัวการเปลี่ยนแปลงโลกในวันนี้คือโดแนลด์ ทรัมป์ ว่าที่ประธานาธิบดีสหรัฐคนใหม่ที่จะสาบานตนรับตำแหน่งวันที่ 20 ม.ค.นี้ เขาประกาศจะขึ้นอัตราภาษีสินค้านำเข้าสหรัฐอีก 35-45% ของอัตราภาษีที่เก็บกันอยู่ในอัตราปัจจุบัน คำนวณกันว่า ด้วยอัตราภาษีนี้ มูลค่าส่งออกของไทยจะลดลงไปถึง 10% เพราะอเมริกาเป็นตลาดส่งออกใหญ่ที่สุดของไทย นอกจากได้รับผลกระทบจากการส่งออกไปสหรัฐโดยตรงแล้ว ยังได้รับผลกระทบทางอ้อมอีกด้าน คือการส่งออกไปจีน ตลาดใหญ่อันดับ 2 ของไทย มาตรการกีดกันทางการค้าด้วยการตั้งกำแพงภาษีของทรัมป์เป้าหมายเพื่อต่อต้านสินค้าจีนเป็นหลักโดยเฉพาะอัตราภาษีนำเข้าจากจีนนั้น ตั้งเป้าหมายเก็บถึง 45% เมื่อจีนส่งออกลดลง การนำเข้าสินค้าประเภทวัตถุดิบจากไทยเช่น แป้งข้าว ยางพารา น้ำมันปาล์ม มันสำปะหลัง น้ำตาลทรายฯลฯ ก็ย่อมจะลดลงเป็นลูกโซ่ นอกจากเกิดสงครามการค้าด้วยมาตรการกีดกันทางการค้าแล้ว ยั มีอีกปัจจัยสมทบ นั่นคือราคาน้ำมันดิบ ชาติส่งออกน้ำมันดิบ ทั้งโอเปกและนอกโอเปกตกลงกันได้เรื่องลดกำลังผลิตเริ่มแต่มกราคมนี้เป็นต้นไป ราคาน้ำมันจึงแพงมาตั้งแต่เดือนที่แล้ว ต้นทุนพลังงานของเราก็จะเพิ่มตาม ขณะที่อัตราดอกเบี้ยของเฟดที่ขึ้นไปแล้วเมื่อกลางเดือนธันวาคม และคาดว่าจะขึ้นอีก 2-3 ครั้งในปีนี้ อันจะยังผลให้ค่าดอลลาร์สหรัฐแข็ง ค่าบาทอ่อน เป็นผลดีต่อการส่งออก แต่กูรูเศรษฐกิจอเมริกาบอกว่า อาจจะเป็นตรงกันข้าม เพราะรูปแบบของทรัมโปโนมิกส์จะเป็นเหมือนเรแกนโนมิกส์ คือดอกเบี้ยต่ำ ภาษีเงินได้บุคคลและนิติบุคคลลด จูงใจให้มีการลงทุนในประเทศ กระตุ้นการบริโภคภายในประเทศ เราคงไม่ได้อานิสงส์ในส่วนนี้ เพราะแม้การบริโภคจะได้แรงจูงใจด้วยอัตราดอกเบี้ยต่ำ คนอเมริกันรูดเครดิตการ์ดกันเพลิน แต่สินค้าไทยเข้าอเมริกาปีนี้ ภาษีนำเข้าเพิ่ม จะทำให้ราคาแพงขึ้นมาอีก 10-15% คงขายไม่ได้มาก ที่ว่าครึ่งปีหลังจะดี จึงน่าจะไม่ดีตามที่