สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเทศนา “ธัมมจักกัปวัตตนสูตร” แก่ปัญจวัคคี ซึ่งเป็นนักบวช แก่สำคัญในคำสอนนี้คือ “ทางสายกลาง” “ภิกษุทั้งหลาย ที่สุดสองอย่างนี้ เป็นสิ่งที่บรรพชิตไม่ควรกระทำ คือการประกอบตนให้พัวพันด้วยกาม (เพราะการกระทำเช่นนั้น) เป็นธรรมอันต่ำช้า เชยแหลก เป็นการกระทำของคนมีกิเลสหนา เอาชนะใครไม่ได้ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์อันใดทั้งสิ้น (อีกทางหนึ่ง) คือ การทรมานตนเอง ซึ่งทำให้เกิดทุกข์แก่ผู้กระทำ เอาชนะใครก็ไม่ได้ และไม่มีประโยชน์แต่อย่างใดทั้งสิ้น ภิกษุทั้งหลาย ข้อปฏิบัติอันเป็นสายกลาง ไม่เข้าไปใกล้ที่สุดทั้งสองอย่างนั้น ตถาคตได้ตรัสรู้แล้วด้วยปัญญาอันประกอบด้วยเหตุผลทุกทาง ไม่มีที่สงสัยได้ ทำตาให้เห็น ทำความรู้ในใจให้เข้าถึงความสงบระงับ เพื่อความรู้สูงสุด เพื่อความรู้ที่ดี และเพื่อความดับเหตุแห่งทุกข์”.... ทางสายกลางนั้น พระพุทธเจ้าตรัสต่อไปว่า ได้แก่มรรคมีองค์แปด ซึ่งเรียกว่า อริยมรรค หรือ สัมมามรรค แปลว่า ทางเดินของฝรั่ง หรือ ท่งเดินอันชอบ ได้แก่ทางสายกลาง ทางสายกลางที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ในปฐมเทศนานี้ ถ้าพิจารณาดูแล้วจะเห็นได้ว่าเป็นทางของพระ พระพุทธเจ้าเองก็ทรงอยู่ในทางนั้นและเมื่อแสดงปฐมเทศนาก็ทรงแสดงให้พระห้าองค์ฟัง เพราะฉะนั้น ถ้าจะพูดถึงทางสายกลางโดยเคร่งครัดแล้ว ก็จะต้องบอกว่า พระที่อยู่ในศีลปาติโมกข์สองร้อยยี่สิบเจ็ดข้อเท่านั้น ที่ท่านอยู่ในสัมมามรรคและมัชฌิมาปฏิปทา เป็นต้นว่า สัมมาอาชีพนั้น ก็ได้แก่การรับอาหารบิณฑบาต ทำมาหากินอย่างอื่นถึงแม้ว่าจะสุจริตเพียงไรนั้น จะถือว่าเป็นสัมมาอาชีพตามนี้ไม่ได้ เพราะยังจะต้องมีกังวล ต้องขวนขวาย ไม่ใช่ทางแห่งความสงบระงับ ด้วยเหตุนี้ คนที่ยังอยู่ในฆราวาสวิสัย จึงจะอ้างว่าตนอยู่ในมัชฌิมาปฏิปทาไม่ได้ การครองเรือน การทำมาหากินด้วยดาชีพต่าง ๆ การหาทรัพย์ การออมทรัพย์ ถึงแม้จะไร้ความชั่วอื่น ๆ ก็ยังต้องถือว่าเป็น กามสุขัลลิกานุโยค เพราะความเป็นอยู่อย่างคนธรรมดาทั่วไปนั้น นักพรตบางเหล่าที่เห็นว่าเป็นของดี เอามาปฏิบัติก็มี คือ เคร่งครัดจนเกินการณ์ สำรวมในอาหารจนหิว เกิดเวทนา เสร็จแล้วปัญญาทึบ คิดอะไรไม่ออก ถึงเวลาจะหลับก็ไม่หลับเพราะหิว ทำให้เสื่อมสุขภาพ ก่อความทุกข์ให้แก่ตนเอง และไม่เกิดประโยชน์อันใด… อย่างไรก็ตาม มัชฌิมาปฏิปทาที่แท้นั้น ถึงจะไม่ใช่ทางของฆราวาส แต่ก็ยังมีเจตนารมณ์ที่คนที่นับถือพระพุทธเจ้าพึงยึดถือได้ และคนไทยก็ดูเหมือนจะได้ยึดถือเจตนารมณ์นี้มาแต่โบราณ คือความไม่มากไป ไม่น้อยไป ซึ่งต้องใช้ความสำรวม ไม่ปล่อยให้อารมณ์เข้ามากำหนดกรรมหรือการกระทำ และเมืองไทยได้อยู่รอด สงบสุข ร่มเย็นมาตลอด คนไทยมีสามัคคีกันมาได้เป็นอย่างดีจนตราบเท่าถึงทุกวันนี้ ทางที่สุดคือทางตัน ไม่มีทางออก การแสวงหาลาภยศและอำนาจนั้น ในที่สุดก็จะตัน ไม่มีทางไปไหนได้ อีกการเคร่งเครียดต่อชีวิตจนเกินไป ก็ตันอีกเช่นกัน ไม่มีทางออก แล้วจะเลือกเดินกันไปทำไม เมื่อมีทางสายกลางซึ่งมีทางออก ไม่ตันให้เดินอยู่แล้ว? ความดี ความถูกต้อง และธรรมนั้น เป็นสิ่งที่ต้องแสวงหา จะใช้ทางที่สุดทางใดทางหนึ่งเดินหาไม่ได้ เพราะเป็นทางตัน แต่ถ้าแสวงหาอยู่ในทางสายกลางแล้ว ถึงวันนี้ยังหาไม่ได้ วันหนึ่งก็ต้องหาได้ เพราะทางสายกลางเป็นทางเดินของคนฉลาด มีทางออกเสมอ” (คึกฤทธิ์ ปราโมช)