แสงไทย เค้าภูไทย นับเดินหน้าไป 3 วัน จะขึ้นปี 2560 เหตุการณ์และสถานการณ์ที่เกิดในปีเก่าจะกลับมาเกิดปีใหม่หรือไม่ พอจะคาดเดาได้ เพราะปัจจัยแห่งการเปลี่ยนแปลงยังหน้าเดิมๆการเมืองเริ่มลงรูปลงรอย รอเลือกตั้งตามคำมั่นของนายกรัฐมนตรี แม้จะมีคลื่นใต้น้ำพยายามยืดเวลา เพราะคนคสช.ชักเริ่มเสพติดอำนาจของการเป็นรัฐบาลกันแล้วแต่คงจะทำได้ยาก เพราะแม้จะมีแรงเชียร์แรงเชเลียร์ว่าพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกฯที่ดีที่สุดเท่าที่ไทยเคยมีมา แต่การที่ไม่ได้เป็นนายกฯตามกติกาประชาธิปไตย ก็เป็นกำแพงขวางกันที่ไม่อยากจะฝืนฝ่าฟันโดยเฉพาะเมื่อจะต้องอาศัยปัจจัยภายนอกในการฟื้นฟูเศรษฐกิจไทยที่บอบช้ำ ล่าสุด 12 ประเทศ ใช้มาตรการกีดกันสินค้าไทย AD-Saveguard( Active Duty Saveguard)ตรวจสอบสินค้าไทยถึง 17 รายการ คงจะทำให้หืดจับคอในภาคส่งออกยิ่งว่าที่ประธานาธิบดีโดแนลด์ ทรัมป์ ประกาศจะขึ้นภาษีนำเข้าสินค้า ก็ยิ่งเป็นสัญญาณร้าย เพราะมีการประเมินความเสียหายว่าส่งออกไทยจะลดมูลค่าลงถึง 10% ส่วนบรรยากาศทางการเมืองช่วงปี 2559 เริ่มดีขึ้น ความขัดแย้งระหว่างพรรคใหญ่ลดลงไปมาก เพราะตัวก่อความขัดแย้งทั้ง 2 ฝ่ายโดนคดีกันหมด ความเคลื่อนไหวทำได้แค่ออกมาให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนและออกสื่อผ่านสื่อสังคมออนไลน์เท่านั้น แสดงว่างานนี้คสช.เอาอยู่ อย่างไรก็ดี ยังมีกลุ่มที่อยู่ข้างหลังนายกฯที่คอยเชลียร์ไม่หยุดหย่อน บ้างก็จะตั้งพรรคหนุน บ้างก็อยากให้สะดุดโรดแม็พ หวังให้เลือกตั้งสิ้นปีมีเงื่อนไข ต้องยืดเวลาบ้างก็ชอบทำตัวเป็นฟอสซิล ปิดประเทศ แช่แข็งประเทศ เอายุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีเป็นเครื่องหน่วงเวลาอยู่ในอำนาจเหมือนเอาแผนปฏิรูปประเทศ 12 ปีของรัฐบาลหอย ในยุครัฐประหารพล.ร.อ.สงัด ชะลออยู่ มาจำแลงทั้งๆที่มีสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สศช.)ที่ทำหน้าที่ร่างแผนแม่บทในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแผนละ 5 ปีอยู่แล้ว ซึ่งตอนนี้ดำเนินมา 11 แผนแล้วปีหน้าขึ้นแผนที่ 12 หลายประเทศใช้กรอบเวลาแผนละ 5 ปี โดยเฉพาะจีน ที่จะเอาอย่างไปจากไทยหรือไม่ก็ไม่ทราบ เพราะของเรามีมาตั้งแต่ปี 2504 อันเป็นผลพวงจากการ ยึดอำนาจการปกครองปี 2500 ของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ยุทธศาสตร์แห่งชาติ 20 ปีจะมีอะไรดีไปกว่าแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติที่ผ่านมาแล้ว 11 ฉบับแค่ไหน ยังไม่ได้จารไนเนื้อหาแต่ที่ดูร่างเคร่าๆแล้วออกจะเกิดอาการผะอืดผะอม ความคิดเก่าๆของคนแก่ๆ ย้อนยุค ยังมีผสมปนเปอยู่มาก ไม่รู้คิดกันอย่างไรขุดเอาของเก่าเก็บมาขับเคลื่อนนโยบายสำคัญของประเทศยิ่งตกใจมากยิ่งขึ้น เมื่อบรรดาสมาชิกพากันสนับสนุนความคิดห้ามเปลี่ยนแปลงเนื้อหาในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติแม้แต่ตัวเดียวคงจะแก่เกินกว่าจะติดตามข่าวคราวความเคลื่อนไหว เป็นไปของโลกและของบ้านเมืองไทยกระมังคนที่แก้เนื้อหา ข้อมูลในแผนฯนั้น ไม่ใช่อื่นไกล ก็คือคนร่างแผนนั่นเอง ในช่วง 5 ปี แม้ระยะเวลาจะสั้น ทว่าก็มีความเปลี่ยนแปลง มีความผันแปรไปตามปัจจัยที่เกิดขึ้นทั้งในสากลและในประเทศยกตัวอย่างแผนฯ 11 ตั้งตัวเลขเติบโตทางเศรษฐกิจเอาไว้สวยหรูว่าต้อง 5-5.50 % แต่เอาเข้าจริงมันโตไม่ขึ้น เพราะเศรษฐกิจโลกชะลอตัว มูลค่าการค้าโลกหดตัวรุนแรง มูลค่าส่งออกของไทยลดลง ติดลบตั้งแต่หัวปียันท้ายปี บางเดือนถึงขนาดติดลบทำลายสถิติ 8ปี สภาพัฒน์ฯต้องออกมาแก้ตัวเลขประมาณการความเติบโตของจีดีพีจาก 4-5% มาเป็น 3.5-4.0% แล้วก็ลงมาเหลือ 3.3% ขณะที่หลายสำนักเศรษฐกิจ การเงินโลกเช่นธนาคารโลก ไอเอ็มเอฟ ธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย ฯลฯ บอกล่าสุดจะโตแค่ 3.2% เพราะไตรมาสที่ 3 โตแค่ 2.8% Y-o-Y ไปฉุดตัวเลขที่โตเกิน 3 ลงมาเป็นค่าเฉลี่ย ตัวเลขผันแปรกันเดือนต่อเดือนอย่างนี้ คนแก่ในสภาฯที่อายุรวมกันกว่าหมื่นปี จะทำให้ตัวเลขที่ตั้งไว้แต่แรกในแผนฯให้เป็นฟอสซิลได้อย่างไร ตัวเลขประมาณการเช่นนี้ สภาพัฒน์ฯคงต้องบอกว่าเขามีไว้แก้กันนะเจ้าคุณทวด ตอนนี้กำลังฝืนให้ตัวเลขโตกว่านี้ เพราะที่จีดีพีของเราโตต่ำเช่นนี้ เกิดจากมูลค่าส่งออกติดลบต่อเนื่องมา 4 ปี ลดลงตามมูลค่าการค้าโลก จีดีพีของเราแขวนไว้กับมูลคาส่งออกถึง 70% ขึ้น บางช่วง อย่างต้นปีที่กำลังหมดไปขึ้นไปถึง75% ว่ารัฐบาลที่แล้วไม่ดี แต่จีดีพีในรัฐบาลที่แล้วก็เคยลดลงไปใต้เส้น 70% หลายไตรมาส เพราะมีการจับจ่ายใช้สอยในประเทศเข้ามาทดแทนมูลค่าส่งออกได้พอสมควร โดยเฉพาะมีการใช้มาตรการ “รถคันแรก “บ้านหลังแรก”รัฐบาลนี้ก็เลยกระตุ้นให้มีการจับจ่ายใช้สอยในประเทศเพิ่มขึ้น อย่างขณะนี้มีการแจกเงินคนจนกันดื้อๆหลังกระตุ้นให้มีการใช้จ่ายกันในช่วงเทศกาลงานท้ายปีต้นปี 2.8 s หมื่นล้านบาท ขณะเดียวกันก็อัดเงินลงไปสู่ภาคการผลิตส่วนย่อย อย่างกองทุนหมู่บ้าน ที่รัฐหว่านเงินลงไป 1-8 หมื่นล้านบาท เป็นเศรษฐกิจสาย อุปทาน (supply side economy) ที่ประธานาธิบดีโรแนลด์ เรแกน นำมาใช้ช่วงเศรษฐกิจสหรัฐซบเซาจนได้ชื่อทฤษฎีนี้ว่า Reaganomics ต่อมาทักษิณนำมาใช้ก็เรียกว่าThaksinomics นายกฯชินโซอาเบะ นำมาใช้ก็เรียกว่า Abenomics ตอนนี้พลเอกประยุทธ จันทร์โอชา นำมาใช้ก็น่าจะเป็น Prayuthonomics.ใช้ตำราเล่มเดียวกัน ต่างแต่กรรม ต่างวาระและต่างห้วงเวลาเท่านั้น แต่ก็อย่าใช้กันเพลินจนลืมไปว่า คสช.เข้ามาทำอะไร ด้วยเงื่อนไขว่า มีการก่อม็อบการเมืองปั่นป่วนไปทั้งประเทศ เพราะปิดสถานที่ราชการสำคัญ โดยเฉพาะการยึดกระทรวงการคลังอันเป็นหัวใจของเศรษฐกิจภาครัฐเข้ามาเพื่อ “จัดระเบียบ” เท่านั้น มิใช่ติดลม ติดใจ เสพติดอำนาจ เลยเถิดเข้ามาบริหารบ้านเมืองเหมือนรัฐบาลที่เข้ามาแบบถูกครรลองครองธรรมการฝืนกระตุ้นเศรษฐกิจในยามที่ปัจจัยภายนอกไม่พัฒนาไปในทางบวก ก็เท่ากับว่ายทวนกระแสน้ำ รัฐต้องลงทุนอย่างหนัก หนี้รัฐ (sovereign debt) พุ่งพรวดๆจากรัฐบาลที่แล้ว 42% ตอนนี้ขยับใกล้ 50% เข้าไปทุกที จริงอยู่ เพดานหนี้รัฐต่อจีดีพีนั้น ตั้งไว้ 60% จึงยังเหลือพื้ที่ว่างให้เป็นหนี้ได้อีกมาก เทียบกันเป็นเชิงสมมติ ถ้าทุ่มเทลงทุน 1,000 บาททำข้าวแกงออกมาขายยามนี้แล้วมีลูกค้ามากินแค่ 20 จานกับเอาเงินลงทุนเท่ากันแล้วทำขายในช่วงเศรษฐกิจโลกฟื้นตัว จะขายได้ 100 จาน อย่างไหนดีกว่ากัน?