ทองแถม นาถจำนง
รามเกียรติ์ของสยาม ดัดแปลงจากเรื่อง “รามยณะ” ของอินเดีย มีหลายตอนที่ “แปลง” ไปมาก ซึ่งก็เป็นเรื่องปกติ เพราะรากเหง้าวัฒนธรรมของสยามแตกต่างจากชาวอารยัน เราเลือกรับสิ่งที่เราเห็นว่าดีและเหมาะสมกับเราอย่างเรื่องวรรณะสี่วรรณะกับจัณฑาล เราก็ไม่เอา เป็นต้น
ตัวละครที่สำคัญในเรื่องรามเกียรติ์ที่มักถูกมองข้ามไปคือ “พิเภก” อันที่จริงพิเภกมีบทบาทสำคัญ กระทั่งมีบทบาทชี้ขาดในหลาย ๆ ตอน ถ้าขาดพิเภกเสียหนึ่งคน ต่อให้มีสิบหนุมาน พระรามก็อาจเอาชนะทศกรรฐ์ไมได้ลักษณะของ “พิเภก” ผู้ถูกทศกรรฐ์พี่ชายขับไล่ออกจากกรุงลงกานั้น ตามเรื่องรามเกียรติ์ของไทย พิเภกเป็นยักษ์ผู้มีความรู้ (เปรียบเหมือนนักวิชาการ) แต่ขี้ขลาดหวาดเสียวไปต่าง ๆ นานา (ก็ช่างเหมือนนักวิชาการไทยอีกนั่นแหละ)
ม.ร.ว คึกฤทธิ์ ปราโมช ท่านมองว่ารามเกียรติ์ยุคใหม่ พิเภกควรจะเปลี่ยนบุคลิกนิสัยใจคอ ให้มีศักดิ์ศรีแห่งความเป็นบัณฑิตผู้รู้ และให้มีความองอาจกล้าหาญ มั่นใจในเกียรติภูมิทางวิชาการ และชาติภูมิที่เป็นถึงพญายักษ์น้องชายผู้ครองมหานครลงกา พลตรี ม.ร.ว คึกฤทธิ์ ปราโมช เคยจัดแสดงโขนธรรมศาสตร์ ตอน “พิเภกสวามิภักดิ์” แสดงช่วงปลายเดือนธันวาคม พ.ศ 2515 และต้นมกราคม พ.ศ 2516ท่านเขียนเล่าไว้ว่า “โขนที่จะแสดงในครั้งนี้ เป็นตอนที่โบราณเรียกว่า “ขับพิเภก”ซึ่งฟังดูแล้วไม่เพราะจึงได้เปลี่ยนเสียใหม่ว่าเป็นตอน “พิเภกสวามิภักดิ์” จับตั้งแต่พระรามยกทัพไปยังภูเขาเหมติรัน เพื่อตั้งพลับพลาในการศึกประชิดกรุงลงกา ต่อมาทศกรรฐ์เกิดฝันร้าย ให้พิเภกทำนายฝัน พิเภกก็ทำนายว่าฝันครั้งนี้ร้ายนัก ทศกรรฐ์จะต้องพ่ายแพ้แก่ข้าศึกถึงเสียชีวิต ไม่มีทางที่จะผ่อนหนักเป็นเบาได้ นอกจากทศกรรฐ์จะส่งองค์นางสีดาคืนให้แก่พระรามทศกรรฐ์จึงกริ้วโกรธ ถอดพิเภกจากยศถาบรรดาศักดิ์ทั้งปวง แล้วขับออกจากกรุงลงกา พิเภกก็เดินป่าไปเข้าสวามิภักดิ์ต่อพระราม และถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยาถวายแก่พระราม เป็นจบโขนตอนนี้
ฟังดูก็ออกจะไม่มีเรื่องอะไรหนักหนา แต่ในการแสดงนั้นมีเรื่องที่จะแสดงมาก ในการสัมมนาที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ว่าด้วยเรื่องนาฏศิลปะและดนตรีไทย เมื่อเดือนมิถุนายนที่แล้วมานี้ ผู้ที่เข้าร่วมสัมมนาได้มีความเห็นพ้องต้องกันว่า โขนและละครของไทยเป็นนาฏศิลป์ของชาติอันแท้จริง และเป็นศิลปะชั้นสูงที่ควรจะรักษาเอาไว้นอกจากนั้นก็ยังได้มีการอภิปรายว่า การแสดงนาฏศิลปะนั้น เท่าที่เขาทำกันในประเทศอื่น เขามักจะมีการแสดงคติธรรมตลอดจนปัญหาต่าง ๆ ให้ปรากฏด้วยการแสดงนั้น โขนและละครของไทยน่าจะได้มีการพิจารณาหาวิธีการแสดงให้ผู้ดูได้แลเห็นคติธรรมหรือปัญหาต่าง ๆ นั้นได้อีกด้วย
ความจริงการแสดงโขน ซึ่งอยู่ในเรื่องรามเกียรติ์แบ่งออกเป็นตอน ๆ ไปนั้น ส่วนใหญ่ก็เป็นการแสดงคติธรรมอยู่แล้ว
เช่นแสดงให้เห็นว่า ความชั่วจะต้องพ่ายแพ้ความดี
หรือแสดงให้เห็นว่า ความชั่วจะต้องพ่ายแพ้ความดี
หรือแสดงให้เห็นว่า ความซื่อสัตว์จงรักภักดี เช่น ความซื่อสัตย์ จงรักภักดี ของหนุมาณ ที่มีต่อพระรามนั้นเป้นของที่ควรสรรเสริญ หารแสดงโขนครั้งนี้จึงได้พิจารณาหาทางที่จะแสดงไปในทำนองนั้นด้วยกล่าวคือในการทำบทโขนตอนนี้ ได้พยายามเอาหลักนาฏศิลปสากลเข้ามาใช้ตามแต่จะทำได้
แสดงให้เห็นจิตใจของพิเภกผู้ซึ่งเป็นน้องทศกรรฐ์ และมีความหวังดีต่อทศกรรฐ์และวงศ์วานยักษ์ของตนเป็นธรรมดา
แต่พิเภกเป็นผู้มีศีลธรรมและรู้ว่า ทศกรรฐ์พี่ชายของตนนั้นได้ประพฤติผิดอย่างแน่ชัด และความผิดทศกรรฐ์นั้นจะต้องนำเอาความหายนะล้มตายมาสู่อสุรพงศ์อันเป็นที่รักของตนอย่างแน่นอน
ปัญหาทางใจของพิเภกจึงเกิดขึ้นว่า จะทำอย่างไร และตัดสินอย่างไรเมื่อพิเภกถูกขับโดยทศกรรฐ์ ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาให้แก่พิเภกได้เองแล้ว พิเภกก็ยังต้องตัดสินใจอีกว่า จะไปเข้าข้างพระรามดีหรือไม่ทางฝ่ายพระรามเมื่อพิเภกมาสวามิภักดิ์ ก็ย่อมจะต้องสงสัยเป็นธรรมดา เพราะพิเภกเป็นถึงน้องทศกรรฐ์ จะเชื่อถือลงไปทีเดียวว่าพิเภกตัดขากมาจากพี่ได้อย่างไร ปัญหาต่าง ๆ เหล่านี้ นำเอามาแสดงไว้ในการแสดงโขนครั้งนี้ ความจริงก็เป็นปัญหาที่มีอยู่ในเรื่องรามเกียรติ์แล้ว แต่ได้ทำบทข้นใหม่เพื่อให้ผู้ดูได้เห็นชัดขึ้น
นอกจากนั้นคนทำบท คือตัวผมเองยังมีความเห็นว่า ลักษณะนิสัยใจคอของพิเภก ตามที่ปรากฏอยู่ในเรื่องรามเกียรติ์ของไทยนั้น เป็นผู้มีวิชาความรู้ แต่ขี้ขลาดหวาดเสียวเกรงกลัวไปต่าง ๆ ไม่มีอิทธิฤทธิ์เหมือนยักษ์ธรรมดาสามัญทั่วไป ซึ่งไม่น่าจะเป็นไปได้ เพราะถึงอย่างไรพิเภกก็เป็นน้องในไส้ของทศกรรฐ์ มีตำแหน่งฐานะอันสูงในกรุงลงกา พูดอย่างไทยก็เป็นถึงสมเด็จเจ้าฟ้าพิเภก จึงย่อมจะต้องเป็นผู้มีศักดิ์ศรีและมีความองอาจมั่นใจในเกียรติภูมิของตนเช่นเดียวกับยักษ์ตนอื่นผู้มีศักดิ์สูงในเรื่องรามเกียรติ์ด้วยเหตุนี้ในการแสดงโขนครั้งนี้ จึงได้เปลี่ยนลักษณะนิสัยใจคอของพิเภกไปจากเดิม ให้มีความองอาจกล้าหาญและมีอิทธิฤทธิ์ตามที่เห็นว่าควรจะมี”
ถ้าจะมองสถานการณ์การเมืองขณะนี้เปรียบเทียบกับเรื่องรามเกียรติ์ พิเภกก็เป็นตัวอย่างของนักวิชาการผู้มีความกล้าหาญทางวิชาการ กล้าชี้ผิดชี้ถูก โดยไม่กลัวเกรงอะไร