แสงไชย เค้าภูไทย
ผลของการลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับนี้จะเป็นอย่างไรยังไม่มีใครคาดเดาได้ เพราะไม่ว่าจะผ่านหรือม่าน ล้วนมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจและการเมืองของประเทศทั้งสิ้นมองจากสายตาคนนอก มูดีส์(Moody's Investors Service -Moody's) )บริษัทจัดอันดับเครดิตหรือความน่าเชื่อถือสากล มองว่าการเมืองไทยยังเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อเศรษฐกิจอยู่มาก ทั้งนี้ไม่ว่าผลการลงประชามติจะเป็นอย่างไร
ทั้งนี้โดยให้เหตุผลว่าการลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ที่จะมีผลไปถึงการเลือกตั้ง ไม่ว่าจะออกมาในรูปใด รับหรือไม่รับ ล้วนกระทบต่อความเชื่อมั่นทางธุรกิจและการบริโภคแต่มูดีส์ก็ไม่ได้ลดเรทติ้งของประเทศไทย เพราะยังมีการลงทุนภาครัฐที่เพิ่มขึ้นและมีรายได้จากอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเป็นตัวพยุงเศรษฐกิจ
เป็นน้ำหนักที่สามารถถ่วงดุลความไม่แน่นอนทางการเมืองได้มากการที่ถือเอาการเมืองไทยเป็นปัจจัยเสี่ยงทางเศรษฐกิจนั้น ภาคเอกชนเห็นว่าเนื้อหาหลักในร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ จะนำไปสู่ความขัดแย้งใหม่เพราะเป็นการส่งต่อความขัดแย้งจากรากเหง้าเดิมพัฒนาขึ้นมาเป็นความขัดแย้งรูปแบบใหม่การให้อำนาจองค์กรกลางในการตรวจสอบ ชี้ขาดและลงโทษ นักการเมืองและองค์กรการเมืองมีบทลงโทษที่รุนแรงขึ้น ถือเป็นการพัฒนารูปแบบการควบคุมฝ่ายการเมืองที่จะเพิ่มความขัดแย้งยิ่งขึ้นเพราะไม่ได้พัฒนากระบวนการการพิจารณา กระบวนการตรวจสอบ กระบวนการอนุญาโตตุลาการ และความเที่ยงธรรมแม้เจตนารมณ์ของเนื้อหาในร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้จะเป็นสิ่งที่ดี จนถือว่าดีมากๆ หากมีความเที่ยงธรรมในกระบวนการเหล่านั้น
แต่ที่ผ่านมา ความขัดแย้ง แบ่งฝักฝ่าย แตกแยกทางความคิด ล้วนเกิดจากกระบวนการยุติธรรมแบบโลกาภิวัฒน์ด้านรัฐสภา การเปิดให้ที่มาของสมาชิกวุฒิสภามาจากการเลือกตั้ง ถือเป็นการถอยลังระบอบประชาธิปไตยของไทยกับไปสู่ยุคขุนนางศักดินายิ่งการให้ ส.ว.มีส่วนร่วมในการเลือกตัวนายกรัฐมนตรีได้ด้วย ก็ยิ่งแสดงถึงเจตนารมณ์สืบทอดอำนาจของขุนนางศักดินาที่แปรรูปเป็นขุนทหารและชนชั้นปกครองในปัจจุบัน ชนชั้นสามัญชนที่เป็นตัวแทนของประชากรไทยทั้งประเทศ ที่มาจากการเลือกตั้ง จะถูกกีดกันการเข้าสู่อำนาจบริหารด้วยเนื้อหาของร่างรัฐธรรมนูญในประเด็นนี้
การเมืองในสายตาของชนชั้นปกครองและกลุ่มอำนาจนิยมคือการเข้าถึงอำนาจการปกครองประเทศที่มีลักษณะเป็น “ของเล่น”
ยุครุ่งอรุณของประชาธิปไตย เจ้าขุนมูลนาย ข้าราชการ นายทหารตำรวจ ที่เกษียณอายุราชการลง “เล่นการเมือง” เพื่อกลับมาเป็น “เจ้าคนนายคน” อีกครั้งส่วนสามัญชน ลงสนามการเมืองเพื่อทำหน้าที่รักษาสิทธิและประโยชน์ของตนบนระนาบเดียวกันกับผลประโยชน์ของประชาชนในประเด็นเรื่องการปราบปรามคอรัปชั่นอย่าลืมว่า ดัชนีคอรัปชั่นของไทยเพิ่มขึ้นมากนับแต่มีการรัฐระหาร 2549
โดยเฉพาะระดับองค์กรบริหารส่วนภูมิภาคอัตราค่าหัวคิวในยุคทักษิณอยู่ที่ 5-10%
แต่หลังจากมีรัฐบาลรัฐประหาร พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี ขบวนการตรวจสอบ ทั้งผ่านระบบรัฐสภา ทั้งองค์กรภาครัฐ ทั้งองค์กรอิสระล้วนถูกอำนาจของคณะรัฐประหารครอบคลุม ไม่สามารถทำงานได้เต็มศักยภาพไม่ได้ครอบงำ หากแต่ครอบคลุม ใครจะทำอะไรที ก็ต้องชำเลืองดูว่าคณะรัฐประหารจะมีท่าทีอย่างไรจึงเกิดสุญญากาศขึ้นเป็นช่องว่างช่องโหว่ให้องค์กรบริหารที่อยู่ไกลหูไกลตาหากินกันโดยสะดวกค่าหัวคิวดีดขึ้นมาจาก 5-10% เป็น 25-35%จนถึงบางงานเรียกกันถึง 50% หรือจัดหนัก 55%รัฐบาลเลือกตั้งชุดถัดๆมามิได้ใส่ใจขจัดปัญหานี้ ซ้ำร้ายนักการเมืองกลับสรวมรอย เข้าสู่กระบวนการกินหัวคิวเสียเองถือว่าทุ่นแรงไปมาก ไม่ต้องไปเสียเวลาสร้างฐาน สามารถเชื่อมต่อวงจรอุบาทว์ เข้ามาต่อยอดได้เลย
ในยุคคสช.นี้จะมีหรือไม่ ไมมีใครกล้าตรวจสอบ แต่ดัชนีความโปร่งใสที่หน่วยวิจัยของมหาวิทยาลัยหลายแห่งเข้าไปเก็บข้อมูลมาวิจัย ยังพบว่ายังสูงอยู่ดัชนีความโปร่งใสในยุคนี้ จะใช้คำว่า ดีกว่าหรือ “มากกว่า รัฐบาลก่อน” เหมือนกับที่ตัวนายกฯและโฆษกรัฐบาลใช้พาดพิงรัฐบาลก่อนอยู่บ่อยๆ อย่างล่าสุดก้เป็นตัวเลขส่งออกแต่กับตัวเลขดัชนีความโปร่งใสวันนี้คงไม่กล้าพูดว่า”มากกว่ารัฐบาลก่อน”
วันนี้ เศรษฐกิจของไทย ซึ่งเป็นไปอย่างที่มูดีส์เรทติ้งให้เหตุผล ว่าเครื่องยนต์ขับเคลื่อนเหลืออยู่แค่ 2 เครื่องเท่านั้น คือการลงทุนภาครัฐกับการท่องเที่ยวรัฐลงทุนมากๆ งบประมาณรายจ่ายที่ไหลไปสู่การลงทุนก็มีมาก เม็ดเงินกระจายออกไปมากเท่าใด ดัชนีความโปร่งใสหรือการคอรัปชั่นก็เป็นเงาติดตามงบประมาณออกไปเท่านั้น
การร่างรัฐธรรมนูญในส่วนของการปราบปรามการทุจริต ต่อให้มีเนื้อหาวิเศษปานใด หากไม่ปฏิรูประบบราชการกันอย่างจริงจัง คอรัปชั่นก็ไม่หมดไปจากแผ่นดินในภาคเอกชนนั้น ไม่ต้องไปแตะต้อง เพราะต่างก็รักษาผลประโยชน์กันและกันการประมูลงานรัฐ หากเกิดการฮั้วกันขึ้น ฝ่ายเสียประโยชน์ย่อมจะโวยวาย ฟ้องร้องขึ้นโรงขึ้นศาลจนฝ่ายปราบปรามเข้ามาจัดการ มีคดีตัวอย่างเกิดขึ้นหลายรายแล้ว
ส่วนภาคเอกชนกับรัฐนั้น ปฏิสัมพันธ์ก็คือ การเอื้อประโยชน์กันระหว่างผู้ประกอบการกับข้าราชการเปรียบได้กับการขายของตามสี่แยกไฟแดง หากตำรวจเอาแต่จับคนขาย ไม่จับคนซื้อ การซื้อขายที่ตราไว้ในกฎหมายว่าเป็นความผิด ก็จะไม่หมดไปสินบน ใต้โต๊ะ ค่าหัวคิวและผลประโยชน์ในรูปแบบอื่นๆ ทั้งทางตรงและแอบแฝง เป็นตัวบ่อนทำลายเศรษฐกิจชาติที่สุดมีมาตั้งแต่คนไทยมีรัฐมีราชธานีเป็นแผ่นดินเป็นโรคเรื้อรังที่รักษาไม่หาย ทำได้แค่บรรเทาและประคับประคองดุจสังขารมนุษย์เป็นที่อาศัยของจุลชีพนับล้านล้านล้านตัวถ้อยทีถ้อยอาศัยกัน เกิดมาด้วยกันตายก็ตายด้วยกัน