วันที่ 5 มีนาคมของทุกปี เป็น “วันนักข่าว” ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงขององค์กรสื่อที่ต้องปรับตัวให้อยู่รอด ท่ามกลางพายุเศรษฐกิจและเทคโนโลยีดิจิตัลที่ถาโถม ในบรรยากาศการเลือกตั้งที่จะมาถึง คนข่าวต้องเผชิญความท้าทายต่างๆที่จะเข้ามาทดสอบภูมิคุ้มกันด้านจริยธรรม สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ได้แนวปฏิบัติเพื่อกำกับจริยธรรมของสื่อมวลชนในช่วงการเลือกตั้ง เป็นข้อพึงระวังของสื่อมวลชนในระหว่างการเลือกตั้ง 10 ข้อ 1. สื่อมวลชนทุกประเภท อยู่ภายใต้กรอบกฎหมาย และระเบียบเกี่ยวกับการเลือกตั้งตัวอย่างที่พึงระวัง อาทิ - ไม่เสนอข่าวในลักษณะที่อาจเข้าข่ายเป็นการหาเสียงทางอ้อมให้กับพรรคการเมืองตั้งแต่ 18.00 น. ก่อนวันเลือกตั้ง จนสิ้นสุดเวลาการลงคะแนนเลือกตั้ง -สื่อมวลชนทำโพลล์หรือรายงานผลโพลล์ของสำนักโพลล์ต่าง ๆ ได้ โดยต้องระวังว่าต้องไม่ใช่โพลล์ที่ทำโดยเจตนาไม่บริสุทธิ์ โดยหวังผลชี้นำต่อการตัดสินใจของผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง - ต้องไม่นำเสนอผลโพลล์ระหว่าง 7วัน ก่อนวันเลือกตั้งจนถึงสิ้นสุดการเลือกตั้ง -ระมัดระวังในการบันทึกภาพบริเวณหน่วยเลือกตั้ง จนอาจทำให้การลงคะแนนของผู้มีสิทธิ์ไม่เป็นความลับ -สืบเนื่องจากระบบการเลือกตั้งแบบจัดสรรค์ปันส่วนผสม ทำให้ทุกคะแนนเสียงอาจมีผลต่อพรรคการเมืองได้ทุกพรรค การอำนวยความสะดวกของพรรคการเมืองในการทำข่าวของสื่อมวลชนในระหว่างมี พระราชกฤษฎีกาการเลือกตั้ง อาจเข้าข่ายการให้ผลประโยชน์ที่อาจคำนวณเป็นตัวเงินแก่ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งได้ 2.สื่อมวลชนทุกประเภทอยู่ภายใต้กรอบกฎหมายอื่นๆที่เกี่ยวข้อง เช่น กฎหมายหมิ่นประมาท กฎหมายว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ 3.สื่อวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ ห้ามขายพื้นที่โฆษณาทางการเมืองในระหว่างมี พระราชกฤษฎีกาการเลือกตั้ง 4. สื่อประเภทอื่น ๆ นอกจากข้อ3รับเงินค่าโฆษณาการหาเสียงได้ภายใต้เงื่อนไขไม่เกินค่าใช้จ่ายในการหาเสียง 5.กฎหมายกำหนดให้สื่อวิทยุกระจายเสียง และวิทยุโทรทัศน์ ต้องให้ความร่วมมือกับ กกต. ในการจัดสรรเวลาออกอากาศให้กับพรรคการเมือง 6. การทำหน้าที่ของสื่อสารมวลชนทุกประเภท ในการรายงานข่าวเลือกตั้ง สามารถทำได้ตามสิทธิเสรีภาพหลักวิชาชีพ หลังจรรยาบรรณ จริยธรรมวิชาชีพ โดยการยึดหลักความเป็นกลาง ความเสมอภาพของผู้สมัครและพรรคการเมืองนั้น อาจมีส่วนช่วยให้ศาลใช้ดุลยพินิจโดยยกหลักการทำหน้าที่ของสื่อมวลชน หากเกิดกรณีถูกฟ้องเป็นจำเลยร่วม 7. การจัดเวทีอภิปรายของผู้สมัครหรือผู้แทนพรรคการเมืองเพื่อนำเสนอในพื้นที่สื่อให้คำนึงถึงการกระจายโอกาสให้กับพรรคการเมืองต่างๆ แต่ไม่จำเป็นต้องมีตัวแทนทุกพรรคในแต่ละเวที อาจกระจายเวทีเป็นประเด็นตามนโยบาย หรือขนาดของพรรค 8.ห้ามสื่อมวลชน พิธีกร ศิลปิน ใช้ความสามารถของอาชีพเพื่อช่วยหาเสียงแก่ผู้สมัครหรือพรรคการเมืองเว้นแต่จะเป็นตัวผู้สมัครเอง 9. ห้ามเผยแพร่ถ้อยคำหาเสียงที่ใช้ถ้อยคำรุนแรง ก้าวร้าว หยาบคาย หรือปลุกระดม 10. ห้ามรับเงิน ทรัพย์สินหรือผลประโยชน์ เพื่อเอื้อประโยชน์ให้มุ่งรายงานข่าวด้านดีแก่พรรค หรือผู้สมัคร หรือมุ่งรายงานข่าวแง่ร้ายแก่คู่แข่ง แนวปฏิบัติดังกล่าว สะท้อนความพยายามในการควบคุมกันเอง ตามแนวทางปฏิรูปสื่อ