กระแสอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเพื่อลดปัญหาโลกร้อน ทำให้ทั่วโลกตื่นตัวหันมาใส่ใจกับปัญหาขยะพลาสติกจ ไม่ว่าจะเป็น ฝรั่งเศสที่ประกาศห้ามใช้ จาน ชาม ช้อน พลาสติก ในปี 2563 อียูจะห้ามใช้พลาสติกที่ใช้ครั้งเดียว ในปี 2568 ไต้หวันห้ามใช้พลาสติกที่ใช้แล้วทิ้ง ในปี 2573 อังกฤษ หลังปี 2558 ห้ามใช้ หลอดพลาสติก สำลีก้าน เริ่มเก็บค่าถุงพลาสติกใส่ของในร้านค้า ส่วนใหญ่ต้องจ่ายค่ามัดจำ ค่าขวดพลาสติก
ในบ้านเราเริ่มเคื่อนไหวอย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้น ทั้งการคัดแยกขยะเอานำไปรีไซเคิล และการลดใช้ถุงพลาสติก หันมาใช้ถุงผ้า หรือปิ่นโตใส่อาหารแทนกล่องโฟม ที่เริ่มนำร่องกันในสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ ในโรงพยาบาลต่างๆ รวมทั้งภาคเอกชนอย่างเซเว่นอีเลฟเว่น ที่แปรการไม่รับถุงพลาสติกของลุกค้าเป็นเงินบริจาคสมทบทุนจัดซื้ออุปกรณ์การแพทย์ ให้กับโรงพยาบาลศิริราช หรือความร่วมมือกันระหว่างเทสโก้โลตัสกับเอสซีจี ในการนำกล่องกระดาษใช้งานแล้วมารีไซเคิลเป็นถุงกระดาษใหม่
ล่าสุด ที่ทำเนียบรัฐบาล โดยสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี จัดโครงการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม โดยรณรงค์ด้วยป้ายข้อความ “ทำความดีด้วยหัวใจ ลดภัยสิ่งแวดล้อม ” ขอความร่วมมือรณรงค์ตามหลักปฏิบัติ 5 วิธี ประกอบด้วย
1.ยืดอก พกถุงผ้า
2.พกกล่องใส่อาหาร
3.พกแก้วน้ำส่วนตัว
4.ใช้ซ้ำแทนการทิ้ง
5.คัดแยกขยะรีไซเคิล
และป้ายข้อความ “รวมพลัง สลน.ลดโฟม ลดพลาสติก” ตามหลักปฏิบัติ “3 ลด-3พก” คือ ลดโฟม ลดถุงพลาสติก ลดแก้วพลาสติก แลใช้แก้วน้ำแทนแก้วพลาสติก ใช้กล่องข้าวแทนกล่องโฟม และใช้ถุงผ้าแทนถุงพลาสติก นอกจากนี้ยังมีการเพิ่มถังขยะให้แยกประเภทในแต่ละจุด ทั้งถังขยะรีไซเคิล ถังขยะเปียก และถังขยะทั่วไป
ทั้งนี้การรณรงค์ดังกล่าวเป็นไปตามแนวทางของคณะอนุกรรมการร้านค้าสวัสดิการสำนักเลขาธิการนายกฯ โดยจะติดป้ายดังกล่าวในพื้นที่ดูแลของสลน. อาทิ ตึกบัญชาการ 1-2 ตึกสำนักเลขาธิการนายกฯ และห้องผู้สื่อข่าวเป็นต้น ทั้งนี้จากนี้จะมีการประกาศเจตนารมณ์ที่ทำเนียบรัฐบาล เพื่อเป็นการรณรงค์ให้งดใช้ถุงผลิตภัณฑ์ที่ทำจากพลาสติก ซึ่งจะมีการติดตามผลเป็นระยะๆ โดยขอความร่วมมือเจ้าหน้าที่ ข้าราชการ สื่อมวลชน และผู้มาติดต่อราชการในทำเนียบรัฐบาลให้นำภาชนะส่วนตัวมาใส่อาหารและเครื่องดื่ม เพื่อให้ทำเนียบรัฐบาลเป็นหน่วยงานนำร่องในการลดใช้ผลิตภัณฑ์พลาสติก
ในขณะที่สำนักงานเศรษฐกิจการคลังอยู่ระหว่างการเสนอมาตรการให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พิจารณาให้ห้างสรรพสินค้า ซูเปอร์มาร์เก็ต ร้านค้าปลีกรายใหญ่ เรียกเก็บเงินจากการขอใช้ถุงพลาสติกจากลูกค้าใบละ 1-2 บาทเพื่อจูงใจให้ลดการใช้ถุงพลาสติก
นับเป็นอีกก้าวของความพยาพยามช่วยกันฟื้นฟู และอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ที่เราเห็นว่าเป็นเรื่องที่น่ายินดี่เมื่อหลายฝ่ายพร้อมใจกันให้ความสนใจและร่วมมือกัน ทั้งลงมือทำและสร้างจิตสำนึกสาธารณะ