ชัยวัฒน์ สุรวิชัย - สถานการณ์บ้านเมืองในปีหน้า จะมีเงื่อนไขและปัจจัยสำคัญในการเปลี่ยนแปลงสังคม ทั้งในเชิงลบและเชิงบวก จากคนและพระ จากภาครัฐภาคการเมืองภาคเอกชนและภาคประชาชน โดยภาครัฐ ภาคการเมืองและภาคเอกชนที่เป็นทุนใหญ่ จะเป็นตัวกำหนดที่สำคัญ แต่ภาคประชาชน ที่หมายถึงประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ ที่มีปริมาณมากที่สุดแต่คุณภาพอ่อนแอที่สุด หากภาคประชาชน ผู้นำและผู้ที่มีจิตใจอาสาเพื่อส่วนรวม ได้ปรับยกระดับตนเอง ก็จะมีบทบาทสำคัญ เรื่องการวิเคราะห็สถานการณ์ให้ถูกต้องหรือใกล้เคียงที่สุด จึงเป็นเรื่องที่สำคัญที่จะต้องศึกษาเรียนรู้เข้าใจ - การวิเคราะห์สถานการณ์ เพื่อความเข้าใจ และการเดินต่อที่ถูกทาง การที่เรา จะคิดจะทำอะไรสักอย่างในชีวิต เราไม่สามารถเอาความต้องการของเราอย่างเดียว มากำหนดไม่ได้ เพราะเราอยู่ในสังคม และยังอยู่ในโลกใบโตที่มีอิทธิพลต่อประเทศและต่อเราด้วย ฉะนั้น สิ่งที่เราจะต้องรับรู้และเข้าใจให้แจ่มชัด คือ 1. เป้าหมายที่เราต้องการ 2. ข้อมูล (ที่ถูกต้อง) ที่เกี่ยวข้อง 3. ปัญหาอุปสรรค 4. หลักคิด กรอบคิด หรือทฤษฎี ที่เราจะใช้ 5. ยุทธศาสตร์ ยุทธวิธี แผนงาน ขั้นตอน วิธีการ ระยะการเปลี่ยนผ่าน 6. ปฏิบัติ ดำเนินการ 7. ผลที่ได้รับ 8. การสรุป ประเมินผล 9. การดำเนินการต่อ เมื่อเราเข้าใจฯ แล้ว เราก็จะไม่เป็นคนมืดบอด แต่จะมองเห็นทางและอนาคต การมองเพื่ออนาคต จะทำให้เรา มีความกล้าหาญเสียสละ “คนเรา หากมองที่ตัวเอง จะเปลี่ยนแปลงได้ยาก หากเรา ทำ เพื่อลูก เราก็จะทำอะไรได้มากขึ้น แต่หากเราทำ เพื่อหลาน เพื่ออนาคตของประเทศ เราจะมีความกล้าหาญเสียสละ” - ในที่นี้ ผมจะนำเสนอ 2 ส่วน ส่วนแรก เป็นหลักคิดที่เป็นประสบการณ์ตัวเองและได้นำมาใช้อย่างได้ผลระดับหนึ่ง ส่วนที่สอง เป็นแนวคิดทางวิชาการ ที่คนส่วนใหญ่ได้นำเอามาใช้กัน -ส่วนแรก เป็นหลักคิดที่เป็นประสบการณ์ของตัวเอง 1. เป้าหมายที่เราต้องการ (1) ประชาชนมีความสุข มีเสรีภาพ ความเสมอภาค (2 ) สังคมที่เป็นธรรม เศรษฐกิจพอเพียง (3) ประเทศมั่นคง มั่งคั่งและยั่งยืน 2. ต้องมีข้อมูลที่ถูกต้อง ในเรื่องที่เกี่ยวข้อง (1). สังคมไทย เป็นอย่างไร ใครเป็นผู้กำหนด บทบาทของภาคส่วนที่สำคัญ (2.) โลก ในส่วนที่มีบทบาทและอิทธิพลต่อประเทศของเรา (3.) ตัวเราเอง และส่วนที่เกี่ยวข้อง ภรรยา, งานที่ทำ 3. ปัญหาและอุปสรรค (1.) ผู้คนหรือคณะที่ขึ้นมาเป็นฝ่ายบริหาร นิติบัญญัติ ตุลาการ มีปัญหายึดติดระบบอำนาจนิยม และแนวคิดประชาธิปไตย)เลือกตั้งตะวันตก (2.) ชนชั้นนำในสังคม ขาดคุณภาพ และความรับผิดชอบต่อสังคม ( 3.) นักการเมือง กลุ่มทุน ข้าราชการ ไม่เข้มแข็งถูกแทรกแซง ไม่รับใช้ประชาชน (4.) ประชาชน ขาดคุณภาพ และการมีส่วนร่วมที่แท้จริง ( 5.) สังคมไทยขาดวิสัยทัศน์ ขาดรัฐบุรุษ และขาดอุดมการณ์ที่มั่นคงแน่วแน่ (6.) สังคมไทย สับสน ซับซ้อน แบ่งฝักแบ่งฝ่าย ไม่เชื่อกัน (7.) ขาดผู้นำทางสังคมและการเมือง ที่จะได้รับการยอมรับจากคนทั้งชาติ 4. หลักคิด กรอบคิด ทฤษฎี ระบบ และ คน ระบบที่ดี ไม่ใช่ ระบบที่ดีเลิศจากต่างประเทศ หรือจากหลักศาสนาหรือสำนักไหน ระบบที่ดี แต่เมื่อเอานำมาใช้ แก้วิกฤตไม่ได้ คือ ระบบที่ไม่ดีไม่เหมาะกับสังคมไทย “แต่ระบบที่ดี คือ ระบบที่เมื่อนำ เอามาใช้ แล้ว ได้ผลต่อประชาชนและประเทศ” ระบบ จะพัฒนาเปลี่ยนแปลงไป ตามคุณภาพของประชาชนมีมากมายหลายสำนัก ที่จะนำเอามาใช้ ขอนำเสนอ 1. ทฤษฎีว่าด้วยความขัดแย้งของสังคม (1) มีความขัดแย้งหลัก และความขัดแย้งรอง คู่ของความขัดแย้ง (2) ทัศนะและท่าที่ที่ถูกต้อง ต่อประวัติศาสตร์ 2. ลดอำนาจรัฐ อำนาจทุนสามานย์ สร้างอำนาจประชาชน 3. การสร้างสมดุล ในสังคม ระหว่าง ฝ่ายทหาร : การเมือง : ข้าราชการ : ทุน : ประชาชน 4. ปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคม สังคมไทย อยู่ในขั้นวิกฤต แต่เรามีเงื่อนไขที่จะแก้ไขหรืออกจากวิกฤติได้ หากเราเอาจริง และร่วมกับผู้คนที่หลกหลาย เข้าร่วมการเปลี่ยนแปลงโดยที่มีฝ่ายที่ต้องการการเปลี่ยนแปลง ซึ่งมีอำนาจและกำลังฯ เข้าร่วม 5. ยุทธศาสตร์ ยุทธวิธี แผนงาน ขั้นตอน วิธีการ ระยะการเปลี่ยนผ่าน ( 1.) หลักการที่สำคัญ > ขจัดระบบอำนาจนิยม ทุนนิยม และสร้างระบอบประชาธิปไตยที่มีคุณธรรม > ขจัดคนไม่ดี ไม่ให้เข้ามาปกครองบ้านเมือง แต่ส่งเสริมคนดีให้เข้ามาแทน ( 2 ) ระยะเปลี่ยนผ่าน (1) เมื่อมีการขจัดหรือโค่นล้มระบบเก่าที่ไม่ดี ลง (2) คนใหม่ที่ขึ้นมา ต้องดำเนินการเด็ดขาดกับ ผู้มีอำนาจเก่าที่ชั่วร้าย (3) สร้างกติกาใหม่ ที่ปิดโอกาสของอำนาจเก่าที่สามานย์ (4) การเสริมสร้างคุณภาพและความเข้มแข็งของสถาบันสำคัญ > ระบบราชการที่มีคุณภาพ เข้มแข็ง รับใช้ประชาชน > ระบบภาคธุรกิจ มีธรรมาภิบาล โปร่งใส > ระบบพรรคการเมืองที่เป็นประชาธิปไตย นักการเมืองมีความรับผิดชอบ > ระบบตรวจสอบ ที่มีประสิทธิภาพ ได้ประสิทธิผล > องค์กรภาคประชาชน มีคุณภาพมีความรู้ มีจิตใจประชาธิปไตยรับใช้ประเทศ > ระบบและกระบวนการยุติธรรม เป็นธรรม ทันกาล เสมอภาคมีประสิทธิภาพ > สื่อ มีจรรยาบรรณ อิสระ ปลอดการแทรกแซงจากนายทุนพรรคการเมือง 6. ระบบความคิดที่ครอบงำสังคม > ระบบทุนนิยมผูกขาด (ทุนนิยมสามานย์) > ระบบอำนาจนิยม ระบบอุปถัมภ์ และระบบบริภาคนิยม > ทฤษฎีความคิด เทคโนโลยี และอิทธิพลของประเทศมหาอำนาจ 7. ระบบที่สังคมไทยต้องการ ระบบประชาธิปไตยฯ ที่สอดคล้องกับสังคมไทย (ผลประโยชน์ตกกับประชาชน) ระบบที่ดีมีคุณภาพ และคนมีคุณภาพ 8. แนวโน้ม (Trend) ของสถานการณ์ ทั้งของโลก และของประเทศ การเข้าใจแนวโน้มนี้ จะทำให้เราเข้าใจ ถึงโอกาสและเงือนไขของการเปลี่ยนแปลง 9. จุดวิกฤต จุดเปลี่ยนผ่าน (Turning Point) และการเปลี่ยนผ่าน 10. หลักคิดง่ายๆ เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น ตามสภาพเงื่อนไขที่จำกัด