ภายใต้สถานการณ์การทุจริตคอร์รัปชั่นในแวดวงต่างๆ ที่ถูกเปิดโปงเป็นระยะๆ นั้น ทำให้ดูเหมือนว่าสถานการณ์กาทุจริตของประเทศไทย น่าเป็นห่วง
ทว่าอีกด้านหนึ่งมความพยายามป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาการทุจริตโดยสร้างภูมิคุ้มกันให้กับคนรุ่นใหม่และสร้างเครือข่ายในการต่อต้านการทุจริตที่เข้มแข็ง ใน การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตระยะที่ 3 (พ.ศ. 2560 – 2564)มีความคืบหน้าที่น่าติดตาม
โดยรศ.ดร. มาณี ไชยธีรานุวัฒศิริ ที่ปรึกษาประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ป.ป.ช. กล่าวในระหว่างการอภิปรายเรื่อง “ประสบการณ์การเรียนรู้ กับการมีส่วนร่วมของผู้บริหาร” ในกิจกรรมเตรียมความพร้อม หลักสูตร “นักบริหารยุทธศาสตร์การป้องกันและปราบปรามการทุจริตระดับสูง” (นยปส.)รุ่นที่ 8 ตอนหนึ่งว่า กระทรวงศึกษาธิการได้นำหลักสูตรต่อต้านการทุจริตมาใช้ในปี 2562 โดยให้บรรจุเป็นวิชา หรือในช่วงเวลาเรียนรู้ ตั้งแต่ระดับอนุบาล จนถึงระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 ให้สามารถปฏิบัติได้แบบอัตโนมัติ ใน 4 ข้อหลักด้วยกัน
1.สามารถแยกแยะผลประโยชน์วนตัวและส่วนรวมได้
2.STRONG จิตพอเพียงต้านทุจริต ประกอบด้วย
S=Sufficient หมายถึง พอเพียง คือหลักความพอเพียง โดยบุคคลสามารถแยกแยะผลประโยชน์ส่วนตัวและผลประโยชน์ส่วนรวมอย่างเป็นอัตโนมัติ
T=Transparent หมายถึงโปร่งใส คือ บุคคลและหน่วยงานปฏิบัติงานบนฐานของความโปร่งใส
R=Realise หมายถึง ตื่นรู้ คือ รู้และพร้อมลงมือป้องกันทุจริต
O=Onward หมายถึง มุ่งไปข้างหน้า คือ มุ่งพัฒนาให้เกิดความเจริญโดยการต่อสู้กับการทุจริตอย่างไม่ย่อท้อ
N=Knowledge หมายถึง ความรู้ คือ แสวงหาความรู้อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เท่าทันต่อสถานการณ์การทุจริต
G-Generosity หมายถึง ความเอื้ออาทร คือ ร่วมพัฒนาให้เกิดความเอื้ออาทรต่อกันบนพื้นฐานของจริยธรรมและจิตพอเพียง
3.ความอาย ความไม่ทนต่อการทุจริต
4.ความเป็นพลเมือง
นอกจากนี้ยังมีหลักสูตรในระดับมหาวิทยาลัย หลักสูตรสำหรับข้าราชการตำรวจและทหาร หลักสูตรโค้ช STRONG อย่างไรก็ตาม ในปี 2562 โครงการ STRONG ได้ลงไปสร้างชมรม STRONG ใน 77 จังหวัด
เราขอสนับสนุนการเสริมสร้างจิตสำนึกต่อต้านการทุจริต โดยเริ่มหว่านเมล็ดลงไปตั้งแต่วัยเยาว์ เมื่อมีจิต พอเพียงต้านทุจริต เกิดขึ้นกับเยาวชนแล้ว ก็เป็นความหวัง ที่จะสร้างประเทศไทยใสสะอาดในอนาคต