ประเทศไทยยังคงเดินไปตามโรดแมป คือจะมีการเลือกตั้งแล้วจัดตั้งรัฐบาลใหม่ในอีกไม่นานนี้ เรื่องที่ผู้คนเป็นห่วงกันมาก คือสถานการณ์ด้านเศรษฐกิจจะมั่นคงต่อไปหรือไม่ ?
อย่างไรก็ตาม ทิศทางพัฒนาการของเศรษฐกิจในปี 2562 ก็คงเดินไปตามนโยบายของรัฐบาลเดิม
ซึ่งก็คือวิสัยทัศน์ของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมนั่นเอง
กล่าวคือการบริหารนโยบายเศรษฐกิจมหภาคในปี 2562 ควรให้ความสำคัญกับ
(1) การสนับสนุนการฟื้นตัวและการขยายตัวของภาคการท่องเที่ยวโดยให้ความสำคัญกับการสนับสนุนการฟื้นตัวของจำนวนนักท่องเที่ยวจากตลาดจีนให้สำมารถกลับเข้ำสู่ภาวะปกติภายในไตรมาส กของปี 2562 ควบคู่ไปกับการฟื้นฟูภำพลักษณ์ด้ำนความปลอดภัย การส่งเสริมการขายในตลาดนักท่องเที่ยวระยะไกลและนักท่องเที่ยวรายได้สูง และการกระจายรายได้ลงสู่เมืองรองและชุมชน
(2) การขับเคลื่อนการส่งออกให้สามารถขยายตัวได้ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้โดยให้ความสำคัญกับ การใช้โอกาสจากมาตรการกีดกันทำงการค้า การติดตามการเปลี่ยนแปลงของสินค้านำเข้ำที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการกีดกันทำงกำรค้ำ การปฏิบัติตามกรอบกติกาการค้ำโลก รวมทั้งข้อกำหนดและแนวทางการปฏิบัติในประเทศคู่ค้า และเงื่อนไขที่สำคัญ ๆ และการให้ความช่วยเหลือผู้ผลิตและผู้ส่งออกที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการกีดกันทางการค้ำ
(3) การสนับสนุนการขยายตัวของการลงทุนภาคเอกชน โดยการขับเคลื่อนการส่งออกให้สามารถขยายตัวอย่างต่อเนื่อง การสนับสนุนให้ผู้ประกอบการที่มีฐานการผลิตทั้งในประเทศไทยและในประเทศที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการกีดกันทางการค้ำเพิ่มการใช้กำลังการผลิตในประเทศไทยมากขึ้น ชักจูงนักลงทุนในประเทศที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการกีดกันทางการค้ำให้เข้ำมาลงทุนในไทยมากขึ้น การขับเคลื่อนโครงการลงทุนของภาครัฐ ทั้งในด้านโครงสร้างพื้นฐานและการพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง และ การสร้างความมั่นใจให้กับนักลงทุนเกี่ยวกับควำมต่อเนื่องของโครงการ และมาตรการสำคัญในช่วงหลังเปลี่ยนผ่านสู่การเลือกตั้ง
(4) การดูแลเกษตรกรและผู้มีรายได้น้อยและการสร้างความเข้มแข็งให้กับ SMEs และเศรษฐกิจฐานราก
โดยให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหาราคาสินค้าเกษตรที่ยังมีข้อจำกัดในการฟื้นตัว การดำเนินการตามโครงการบัตรสวัสดิกำรแห่งรัฐ รวมทั้งมาตรการสินเชื่อที่มีวัตถุประสงค์ในการลดภาระการชำระหนี้ และข้อจำกัดในการเข้าถึงแหล่งเงินทุน
(5) การขับเคลื่อนการลงทุนภาครัฐให้สามารถขยายตัวได้ตามเป้าหมายอย่างต่อเนื่อง โดยการเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายลงทุนภายใต้กรอบงบประมาณต่าง ๆ และการขับเคลื่อนโครงการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ภายใต้แผนปฏิบัติการด้านคมนาคมขนส่ง และภายใต้แผนพัฒนาพื้นที่
ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC)
(6) การเตรียมความพร้อมด้านก าลังแรงงานและคุณภาพแรงงานให้มีเพียงพอต่อการรองรับการขยายตัวของภาคการผลิตและการลงทุน โดยเฉพาะภาคอุตสาหกรรมที่มีกรใช้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้น รวมทั้งกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีโอกาสในการขยายตัวจากการย้ำยฐานการผลิตระหว่างประเทศ และอุตสาหกรรมสำคัญที่เป็นเป้าหมายของการพัฒนาประเทศ
นโยบายเหล่านี้จะเป็นนโยบายสำคัญตลอดปี 2562 แน่นอน