สถานการณ์มลพิษในประเทศไทยที่เห็นชัดเจนที่สุดคือ ปัญหาขยะของเสียในเมือง , ปัญหาน้ำเน่าน้ำเสีย โดยเฉพาะเมื่อเกิดอุบัติเหตุบ่อกักเก็บน้ำเสียแตก
แต่จากรายงานของกรมควบคุมมลพิษจะชอบรายงานสถานการณ์มลพิษ ที่ดีขึ้นกว่าปีก่อน ๆ เสมอ เช่นเมื่อวันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2560 ก็เสนอรายงานว่า
“คุณภาพน้ำแม่น้ำสายหลัก 59 แม่น้ำของประเทศในปี 2560 มีแนวโน้มที่ดีขึ้น โดยคุณภาพน้ำที่อยู่ในเกณฑ์พอใช้ถึงดีเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 80 เป็นร้อยละ 86 และอยู่ในเกณฑ์เสื่อมโทรมลดลงจากร้อยละ 20 เป็นร้อยละ 14 โดยไม่มีแหล่งน้ำที่มีคุณภาพอยู่ในเกณฑ์เสื่อมโทรมมาก” ไว้นำหน้า
แล้วจึงตามด้วยรายงานว่า
“ส่วนแหล่งน้ำ ที่คุณภาพเสื่อมโทรม ลง 5 อันดับแรกคือ แม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่าง ,พังราดตอนบน , ระยองตอนกลาง และ กวง เป็นช่วงที่แม่น้ำไหลผ่านพื้นที่ชุมชนเมืองที่มีประชากรอาศัยอยู่อย่างหนาแน่น แหล่งที่ตั้งของอุตสาหกรรม พื้นที่ทำการเกษตรและการเพาะเลี้ยงสัตว์ ซึ่งไม่มีระบบบำบัดน้ำเสียและระบบที่ดำเนินการอยู่ยังดูแลจัดการน้ำเสียไม่เต็มประสิทธิภาพ”
และนอกจากสถานการณ์มลพิษน้ำจืดแล้ว ยังมีสถานการณ์มลพิษด้านอื่น ๆ ด้วย เช่นคุณภาพน้ำทะเล แหล่งน้ำทะเลที่มีคุณภาพเสื่อมโทรมสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ ปากคลอง 12 ธันวา และหน้าโรงฟอกย้อม กม.35 จังหวัดสมุทรปราการ ปากคลองท่าเคย จังหวัดสุราษฎร์ธานี ปากแม่น้ำเจ้าพระยา จังหวัดสมุทรปราการ และปากแม่น้ำท่าจีน จังหวัดสมุทรสาคร เนื่องจากเป็นพื้นที่รองรับน้ำเสียที่มาจากแหล่งชุมชน แหล่งอุตสาหกรรม เกษตรกรรม และการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
สถานการณ์คุณภาพอากาศ จากการติดตามตรวจสอบคุณภาพอากาศ โดยมีสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศทั่วประเทศทั้งหมด 63 สถานี ที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ 33 จังหวัดที่ต้องมีการเฝ้าระวังคุณภาพอากาศอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะเมืองขนาดใหญ่ เขตอุตสาหกรรม พื้นที่เสี่ยงต่อการเผาในที่โล่ง คุณภาพอากาศในปี 2560 มีแนวโน้มดีขึ้น สารมลพิษที่ยังเป็นปัญหา คือ ฝุ่นละออง ( TSP PM10 PM2.5 ) ก๊าซโอโซน (O3) และสารอินทรีย์ระเหยง่าย (VOCs) โดยฝุ่นละออง PM10 ตรวจวัดได้ในช่วง 3 -268 มคก./ลบ.ม. ค่าสูงสุดเฉลี่ย 114 มคก./ลบ.ม. (ค่ามาตรฐาน 120)เกินมาตรฐาน 13 จังหวัด จาก 18
สถานการณ์การจัดการขยะมูลฝอย ปี ปริมาณขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้นทั่วประเทศประมาณ 27.40 ล้านตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.26 จากปี 2559 ที่เกิดขึ้น 27.06 ล้านตัน เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของประชากรและการขยายตัวของชุมชนเมือง แต่อัตราการเกิดขยะมูลฝอยต่อคนลดลงจาก 1.14 กิโลกรัม/คน/วัน ในปี2559 เป็น 1.13 กิโลกรัม/คน/วัน โดยเป็นผลมาจากความร่วมมือของหน่วยงานท้องถิ่น ประชาชน และภาคเอกชนในการลดและใช้ประโยชน์จากขยะมูลฝอยและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค
สำหรับปีนี้ บังเอิญมีเรื่องมลพิษในอากาศ ขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอน ที่กทม. ผู้คนจึงอาจจะต่อว่าไม่พอใจ “กรมควบคุมมลพิษ”กันมากหน่อย แต่ก็อย่าลืมว่า ผู้ทำหน้าที่ตรวจวัด ไม่มีอำนาจปราบปราม