การที่พรรคการเมืองใหญ่ลงสนามเลือกตั้งท้องถิ่นนั้น ทำให้ประชาชนให้ความสนใจการเลือกตั้งท้องถิ่นมากขึ้น แม้ปัจจัยการเลือกตั้งท้องถิ่นจะแตกต่างจากการเลือกตั้งระดับชาติ ที่ตัวบุคคลและการตัดสินใจของประชาชน

อย่างไรก็ตาม ก่อนถึงวันอาทิตย์ที่ 11 พฤษภาคมนี้ ที่จะมีการเลือกตั้งเทศบาล ขออนุญาตทบทวนสิ่งที่ควรรู้ก่อนเข้าคูหาเลือกตั้ง ดังนี้ ประเทศไทยแบ่งประเภทของเทศบาลออกเป็น 3 ประเภท คือ

1.เทศบาลตำบล (ทต.) – ท้องถิ่นที่มีรายได้เพียงพอและได้รับการยกฐานะจาก อบต.

2.เทศบาลเมือง (ทม.) – ต้องมีประชากรตั้งแต่ 10,000 คนขึ้นไป หรือเป็นที่ตั้งศาลากลางจังหวัด

3.เทศบาลนคร (ทน.) – ต้องมีประชากร 50,000 คนขึ้นไป และรายได้เพียงพอ

ข้อมูล ณ วันที่ 9 กันยายน 2563 พบว่า ประเทศไทยมีเทศบาลรวม 2,472 แห่ง ได้แก่ เทศบาลนคร 30 แห่ง เทศบาลเมือง 195 แห่ง และเทศบาลตำบล 2,247 แห่ง

โครงสร้างสภาเทศบาล

เทศบาลนคร: 4 เขต เขตละ 6 คน รวม 24 คน

เทศบาลเมือง: 3 เขต เขตละ 6 คน รวม 18 คน

เทศบาลตำบล: 2 เขต เขตละ 6 คน รวม 12 คน

ทุกเทศบาลมีนายกเทศมนตรี 1 คน

การแจ้งเหตุไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง

สามารถแจ้งต่อนายทะเบียนท้องถิ่น ก่อนหรือหลังวันเลือกตั้ง 7 วัน โดยระบุเหตุผลและเลขบัตรประชาชนผ่าน 3 ช่องทาง: ด้วยตนเอง, มอบหมายผู้อื่น, ส่งไปรษณีย์

เหตุจำเป็น เช่น

-เดินทางไกล

-เจ็บป่วย

-พิการ/ผู้สูงอายุ

-ปฏิบัติราชการ

-ออกนอกประเทศ

-อยู่ห่างหน่วยเกิน 100 กม.

-เหตุอื่นตาม กกต. กำหนด

ผลของการไม่ไปใช้สิทธิ

ถูกจำกัดสิทธิทางการเมือง 2 ปี เช่น ไม่สามารถสมัคร ส.ส., ส.ว., ผู้บริหารท้องถิ่น หรือดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาในท้องถิ่นได้

สิทธิผู้พิการ/ผู้สูงอายุ
กกต. จัดบริการช่วยเหลือในการลงคะแนน โดยต้องเป็นไปตามเจตนาของผู้มีสิทธิ

ขั้นตอนการลงคะแนน

1.ตรวจสอบรายชื่อ

2.แสดงหลักฐาน เช่น บัตรประชาชน

3.รับบัตรเลือกตั้ง 2 ใบ (นายกฯ และสมาชิกสภา)

4.กากบาทในคูหา

5.พับบัตรและหย่อนบัตรด้วยตนเอง