ดร.วิชัย พยัคฆโส
payackso@gmail.com
หลังจากประเทศไทยถูก “อียู” ใบเหลืองให้ประเทสไทยในกิจการส่งออกาหารทะเลไทยถึง 4 ปี ได้ฤกษ์ปลดล็อคใบเหลืองได้ นับเป็นข่าวดีของไทยที่พยามยามปรับแก้การส่งออกอาหารทะเลไทยในเวทีของ “อียู” ได้มากขึ้นอีกทางหนึ่ง
ล้วนแล้วแต่เป็นข่าวที่น่ายินดีกับการเอาจริงเอาจังกับประมงไทยเข้าสู่มาตรฐานโลก การที่ “อียู” ปลดใบเหลืองของไทย ทำให้เครือจักรภาพของ “อียู” เริ่มที่จะสั่งสินค้าทะเลจากไทยได้มากขึ้น ถือเป็นเรื่องที่น่ายินดีของรัฐบาลชุดนี้เป็นอย่างมาก
อีกเรื่องหนึ่งคือการส่งเสริมการลงทุนของไทยในปี 2561 ตัวเลขสูงกว่าประมาณการ 720,000 ล้านบาท เป็น 9.1 แสนล้านบาท และเป็นที่น่าสนใจอย่างมากจากการเปิดตัวอีอีซีของไทยกับ
อุตสาหกรรมแห่งอนาคตได้ถึง 758,000 ล้านบาท หรือ 84% ของการลงทุนทั้งหมดมาอยู่ที่ new s-curve 10 อุตสาหกรรมหลัก
เทคโนโลยีดิจิทัล
การแพทย์ครบวงจร
ปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ
และอากาศยาน
ส่วน s-curve เดิม ได้แก่ การเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็คทรอนิกส์ ยานยนต์และชิ้นส่วน ท่องเที่ยว และการแปรรูปอาหาร มีเงินลงทุน 210,000 ล้านบาท ซึ่ง s-curve เดิม มีผู้สนใจลงทุนเพิ่มเติมอีก
สำหรับจังหวัดที่มีการลงทุนมากที่สุดคงได้แก่ จ.ชลบุรี 193 โครงการ เงินลงทุน 576.910 ล้านบาท ติดตามมาด้วย จ.ระยอง 156 โครงการ เงินลงทุน 58,700 ล้านบาท และฉะเชิงเทรา 73 โครงการ เงินลงทุนรวม 46,300 ล้านบาท ซึ่งทั้ง 3 จังหวัดอยู่ในโครงการของ อีอีซี ทั้งหมด
ในเมื่อรัฐบาลจุด “อีอีซี” ติดแล้ว หมายถึงความมั่นใจของโครงการที่จะลงทุนได้ต่อเนื่องจากปีที่ผ่านมา แม้จะเป็นรอยต่อของรัฐบาลชุดใหม่ แสดงว่าต่างชาติให้ความมั่นใจว่ารัฐบาลชุดนี้จะสามารถรักษานโยบายนี้ได้ตลอดไป
ขณะเดียวกัน ปตท. ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจขนาดใหญ่ของไทยพร้อมที่จะลงทุนใหม่ “อีอีซี” ในกลุ่ม new s-curve 5.84 หมื่นล้านบาท รวมกับกลถุ่ม ปตท. อีก 4 โครงการ เงินลงทุน 6.5 หมื่นล้านบาท รวมเป็นเม็ดเงินที่จะลงทุน 1.23 แสนล้านบาท
การลงทุนของ ปตท. ในพื้นที่ 500 ไร่ แสดงถึงความมั่นใจต่อเสถียรภาพของรัฐฐาล ซึ่งกลุ่ม ปตท.จะเน้นการลงทุนใน 5 โครงการขนาดใหญ่ที่ทันสมัย เช่น เกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ การบินและโลจิสติกส์ เชื้อเพลิงและเคมีชีวภาพ การแพทย์ครบวงจรและยานยนต์สมัยใหม่ ซึ่งเป้น new s-curve ที่มีอนาคต
ในขณะที่ “อีอีซี” กำลังได้รับความสนใจจากการลงทุนของบริษัทขนาดใหญ่ ทำให้มั่นใจได้ว่า “อีอีซี” จะไม่ล้มโครงการต่างๆ โดยเฉพาะรถไฟความเร็วสูงจากมักกะสันสู่ “อีอีซี” ที่กำลังเข้มข้นกับการลงทุนของ ซีพี เจ้าใหญ่ของวงการเกษตร หันเข้ามาสู่การพัฒนาพื้นที่ของมักกะสันและธุรกิจแนวทางรถไฟ
พอที่จะอนุมานได้ว่าโครงการ “อีอีซี” จะรุดหน้าเริ่มต้นโครงการไปได้ดี ใครมาเป็นรัฐบาลจะสามารถเก็บเกี่ยวรายได้จากโครงการนี้ในอีก 5 ปี ให้เกิดอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ได้เช่นเดียวกับอีสเทิร์นซีบอร์ด ในอดีตได้เป็นอย่างดี