ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช เคยเขียนเรื่อง “กลัวโลก” เล่าเรื่องตอนเกิดอาการป่วยหนัก ต้องเข้าโรงพยาบาล ปฏิบัติตัวตมคำสั่งของแพทย์อยู่นานวัน จนกระทั่งเคยชิน เกิดความรู้สึกยินดีกับภาวะการนอนพักผ่อนในโรงพยาบาลที่มีความปลอดภัยสูง ครั้นเมื่ออาการสุขภาพดีขึ้น หมออนุญาตให้ออกจากโรงพยาบาล สามารถออกมาอยู่ในโลกภายนอกได้ อาจารย์หม่อมกลับรู้ “กลัวโลก” ภายนอก “เพราะเมื่อตอนที่ออกไปจากโรงพยาบาลเพียงครู่เดียวนั้น โลกภายนอกดูวุ่นวาย ฉุกเฉินและอึกทึกครึกโครม น่าตระหนกตกใจเสียนี่กระไร รู้สึกหวาดหวั่นไปหมด” ก็จะไม่รู้สึกหวาดหวั่นได้อย่างไร เพราะ “โลกภายนอกคือเมืองไทยนั้น เราไม่รู้จะทำตัวอย่างไรดี” เช่นขณะนี้ก็กลัวพิษของฝุ่นละอองละเอียด ไม่กล้าออกจากบ้านไปไหน ที่สำคัญคือ ไม่มีคำแนะนำที่เชื่อถือได้ เพราะคนแบ่งเป็นหลายพวก ต่างพวกก็ต่างความห็น ต่างพวก “ก็ด่ากัน โจมตีกัน” จนเชื่อถืออะไรไม่ได้ ในเมืองไทยเป็นอย่างนี้ คือข้อมูลของ “กลุ่มพวก” ที่ต่างกันนั้น ล้วนถูกมองเป็นเรื่องเลวร้ายไปหมด เชื่อถือไม่ได้ไปหมด ที่เมืองนอกก็ทำนองเดียวกัน....คือ ไม่รู้จะปฏิบัติตัวอย่างไรดี เช่นอยู่เมืองอังกฤษ ก็ไม่รู้จะแตกตัว แยกตัว ออกจากสหภาพยุโรป ดีหรือไม่ดี ก็ไม่รู้จะเลือกตั้งพรรคคอนเซอร์เวตีฟหรือเลือกตั้งพรรคเลเบอร์ดี คนในอังกฤษตดสินใจไปแล้วว่า จะไม่ฝกผีฝากไข้กับคนในยุโรป คือลงประชามติ Brexit แยกตัวออกจากสหภาพยุโรปไปแล้ว เจรจารายละเอียดเรื่องราวเกี่ยวกับการแยกตัวออกจากสหภาพยุโรปกันไปแล้ว แต่รัฐสภาอังกฤษก็ไม่รับรองเรื่องที่รัฐบาลพรรคคอนเซอรืตีฟไปเจรจาไว้กับยุโรปเรื่อง Brexit แล้วนายกรัฐมนตรีอังกฤษจะทำงานต่อไปได้อย่างไร ? เพราะนักการเมืองส่วนข้างมากลงมติไม่รับรองข้อตกลงที่รัฐบาลไปเจรจากับสหภาพยุโรปไว้ ซึ่งถ้าเป็เรื่องที่เกิดในเมืองไทย รัฐบาลก็คงจะต้องลาออก แต่ที่อังกฤษ ที่ดูเหมือนเป็นต้นแบบประชาธิปไตย เขาบอกว่าไม่จำเป็น ยังมีทางเลือกให้ปฏิบัติได้หลายทาง นายกรัฐมนตรีอังกฤษจะเลือกทำทางไหน ยังมีเวลาให้คิดอีกหลายวัน ส่วนที่สหรัฐอเมริกาก็เกิดเรื่องล้อเลียนที่รุนแรง คือเกิดมี หนังสือพิมพ์ “ของปลอม” พาดหัวว่าปรานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ ลาออก เหตุการณ์ในอังกฤษนั้น เป็นเรื่องจริง ส่วนเหตุการณ์ที่สหรัฐอเมริกาเป็นเรื่อง “ล้อเลียน” แต่ทั้งสองเรื่องนี้ถ้าเกิดขึ้นในเมืองไทย คนไทยคงจะตีกัน และทางออกก็มีทางเดียวคือ “รัฐประหาร”