ชัยวัฒน์ สุรวิชัย หัวข้อเรื่องที่ครบถ้วน ที่ควรจะพูดถึง 1.การทำประชามติ 7 สิงหา มีวัตถุประสงค์เพื่ออะไร การออกเสียงประชามติ คือ การนำ ร่างรัฐธรรมนูญ กติกาสูงสุดของประเทศ ไปผ่านการตัดสินเพื่อแสดงความเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบโดยประชาชนผู้เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย นับเป็นการเปิดโอกาสให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจต่อแนวทางการปกครองประเทศ และถือเป็นประชาธิปไตยทางตรงแบบหนึ่ง ในการบริหารราชการแผ่นดิน @ การรับหรือไม่รับ 2 ประเด็น คือ ตัวหลัก จะรับหรือไม่รับรัฐธรรมนูญฉบับมีชัยหรือไม่ และตัวรองหรือตัวเสริม คำถามเพิ่ม ที่จะให้อำนาจแก่สว.ในช่วง 5 ปีแรก จะรับไหมเพื่อเป็นหลักประกันว่า ฝ่ายนิติบัญญัติและรัฐบาลชุดต่อไป จะบริหารประเทศได้ไหม 2. ผลของการรับหรือไม่รับ จะเป็นอย่างไร มีผลต่อ Road Map ไหม @ ถ้าหากรับ ทั้งรธน. และ คำถามพ่วง การเดินหน้าของรัฐบาลใหม่ จะมีหลักประกันมากขึ้น @ หากรับ รธน. แต่ไม่รับคำถามพ่วง รัฐบาลใหม่ก็จะเดินหน้าต่อ แต่อำนาจการต่อรองจะลดลง @ หากไม่รับ รธน. คสช.ต้องแต่งตั้งกรธ.ชุดใหม่ หรือมีการดำเนินการ ร่างรธน.ใหม่ ซึ่งจะถูกนำเอามาใช้ได้เลย โดยผลของการรับหรือไม่รับ จะไม่มีผลต่อ Road Map ตามที่นายกประยุทธ ได้ประกาศไว้ ทั้งในประเทศ และต่างประเทศ ฉะนั้น ใคร บุคคลใด หรือ กลุ่มการเมืองใด จะสร้างกระแส ว่า “ถ้าประชามติ ไม่รับ” จะมีผลให้ รัฐบาลพลเอกประยุทธ อยู่ต่อไปอีกนานนั้น คือ “ไม่จริง” เป็นการแอบอ้างที่มิชอบ @ แต่หาก “ประชามติ” ออกมาไม่รับ จะเป็นเงื่อนไขใหญ่ ให้ทักษิณปูเพื่อไทย นปช. ออกมาปลุกระดมมวลชนออกมา ล้มรัฐบาล จะทำให้สถานการณ์กลับไปเหมือนแบบเดิม ซึ่งไม่มีประโยชน์ 3. หลักการที่ควรจะมี เพื่อทำให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชนและประเทศชาติ @ หลักความเป็นจริง ที่จะเกิดขึ้น โดยใช้ความรู้สติปัญญา มิใช่อคติ เพ้อฝัน การใช้รูปธรรมที่เกิดขึ้นจริง สัมผัสแตะต้องได้ มิใช่นามธรรม ที่แอบอ้าง ไม่เกิดจริง สังคมแต่ละแห่ง มีความแตกต่างกัน ต้องใช้หลักการและวิธีการที่ต่างกัน ซึ่งคือ การนำหลักการประชาธิปไตยตะวันตก มาปรับใช้ อย่างสอดคล้องกับสังคมไทย มีคำพังเผยที่เห็นภาพชัด คือ การตัดรองเท้า(ประชาธิปไตยตะวันตก) ให้เข้ากับเท้าคนไทย มิใช่แบบที่ทำมาตลอด 84 ปี คือ “การตัดเท้าคนไทย ให้เข้ากับรองเท้าตะวันตก” ทำให้ประเทศไทย ติดหล่ม อยู่ในวงจรอุบาทว์มาตลอด การเปลี่ยนผ่านของทุกสังคม ที่ก้าวไปสู่ประชาธิปไตย จะมีระยะเปลี่ยนผ่าน ซึ่งในระยะนี้ เป็นการปรับดุลอำนาจของสังคม จากคนส่วนน้อยที่มีอำนาจบริหารปกครองฯไปสู่ การที่คนส่วนใหญ่ เข้ามามีบทบาทในการกำหนดชะตาชีวิตของตนเอง ซึ่งมีความจำเป็นจะ ต้องกำจัด หรือลดบทบาทอำนาจของคนส่วนน้อยที่ไม่ดีลง เพื่อให้ คนส่วนมากมีโอกาสที่จะเข้ามาสู่อำนาจบริหารปกครองได้ @หลักเรื่องดี เรื่องถูกต้อง และดีต่อใคร คนส่วนน้อย หรือคนส่วนมาก ใครที่รักหวังดีและทำเพื่อประชาชน มีผลงานที่ประชาชนพอใจ และ ใครที่สร้างความเสียหายให้แก่บ้านเมือง โกงโกหก การใช้อำนาจไม่เป็นธรรม และเป็นทุกข์ @ หลักมีประโยชน์ ต่อใคร ประชาชนประเทศชาติ หรือ กลุ่มคนหน้าเดิมที่สร้างปัญหาไว้ ประชาชนคนธรรมดาสามัญส่วนใหญ่ ไม่เคยได้ แต่แต่นักการเมืองข้าราชการทุน @ สรุปบทเรียน ความผิดพลาดที่เกิดขึ้น เกิดใคร พวกใด ใครสร้างปัญหา ใครพยายามแก้พฤติกรรม เล่ห์กล เพทุบาย ของใคร ฝ่ายใหน ที่ออกมาโกหก บิดเบือน ทำให้คนสับสน ใครที่อ้างเรื่องสิทธิเสรีภาพ แต่ใช้ด้านเดียว และไปดึงต่างชาติมาแทรกแซงอธิปไตยไทย ใครที่พยายามชี้แจง ให้ข้อเท็จจริง ผลดีที่ประชาชน ส่วนรวมและประเทศชาติจะได้รับ ใครที่แทงกั๊ก เหตุเพราะยึดติด กรอบคิดตะวันตก กรอบคิดเดิม ที่แก้ปัญหาไม่ได้จริง @ แม้ว่าจะดูใช้ได้ แต่ก็ไม่ถูกต้อง คือ การตัดสินให้ตรงข้ามกับ พวกที่ไม่ดีไม่ชอบ เช่น ไม่ต้องคิดมาก หากทักษิณปูเพื่อไทย หรือนักการเมือง คัดค้าน :ก็ให้เห็นด้วย หรือ เผด็จการทหาร ไม่ดีไม่ถูกต้อง ฉะนั้นต้องงทำตรงข้ามกับ ทหารหรือรัฐบาลประยุทธ์ 4กลุ่มที่มีความคิดเห็นแตกต่างกัน มีใครบ้าง ในเรื่องอะไร คงจะแบ่งประเภทของลุ่มคนในเรื่อง รธน.และการลงประชามติ ได้ 5 กลุ่ม @ ส่วนที่เป็นฝ่ายรัฐ ที่ทำหน้าที่ดูแล ให้การลงประชามติดำเนินไปอย่างเรียบร้อย @ ส่วนที่ทำหน้าที่เป็นคนร่างรธน. คือ กรธ. และการจัดการเลือกตั้ง คือ กกต. @ฝ่ายที่เห็นด้วย @ ฝ่ายที่คัดค้าน @ ประชาชน ที่ไปลงคะแนน 5.ใคร หรือ อะไร เป็นตัวหลัก ที่จะมีผลต่อการลงประชามติของประชาชน โดยธรรมชาติและลักษณะของสังคมไทย ที่ขาดคุณภาพ ไม่คิดเอง แต่จะเชื่อและว่าตาม ? จริงๆแล้ว ประชาชนที่จะไปลงประชามติ จะยึดหลักและมีแนวคิด ดังนี้ @ ผู้นำของรัฐ ของสังคม ของพรรคการเมือง กลุ่มองค์กร บุคคล ฯลฯ ที่เขาเชื่อถือชมชอบ @คิดตามอุดมคติ ความเชื่อของตน @ข้อมูล ความรู้ ความเข้าใจที่ได้รับ @การได้รับผลประโยชน์ทางตรงและทางอ้อม @ บทบาทของสื่อมวลชน และสังคมออนไลน์ @ ทำตามกระแสสังคม หรือการก่อกระแสสูงให้เกิดขึ้น ในภาวะและห้วงเวลาขณะนั้น เรื่องนี้เป็นเรื่องที่มีส่วนสำคัญในการร่ที่จะดึงดูดคนให้เข้าร่วม ให้ไปลงประชามติจะเป็นตัวก่อและปลุกให้เกิดความรู้สึกของการมีส่วนร่วม ที่จะต้องไป ไม่ไปไม่ได้เหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์ไทย จะเริ่มจากคนน้อย แต่เมื่อมีกระแสสูงขึ้น ผู้คนจะกระโดด และชักชวนกันให้ไปมีส่วนร่วม ฯแต่เรื่องของกระแสนี้ จะเกิดขึ้นในช่วงสั้นๆ เพราะมีลักษณะฉาบฉวย เป็นเหตุผลขั้นต้น ยังไม่ได้ลงลึก ที่จะกลายเป็นความรู้สึก ความมุ่งมั่น เอาจริงเอาจัง 6.ข้ออ่อนของแต่ละฝ่าย มีอะไรบ้าง เป้าหมายที่แท้จริงของแต่ละกลุ่ม @ ฝ่ายรัฐบาล : ต้องการให้รธน.ผ่าน เพื่อที่จะได้เดินหน้าตามRoad Map แม้จะทำหน้าที่เป็นกลาง แต่ก็ถูกสร้างให้เชื่อว่า “เข้าข้าง กรธ. และกกต.” และการที่เป็นรัฐบาลมาจากการรัฐประหาร จึงถูกกล่าวหาได้ง่าย ว่า ต้องการรักษาอำนาจ เรื่องของการเปิดโอกาสให้ใช้สิทธิในการแสดงความคิดเห็นต่อร่าง รธน.ก่อนลงประชามติที่ไม่ได้เปิดกว้าง 100 % ที่จะแสดงความคิดเสรี อย่างใดก็ได้ แบบเดิมๆหรืออย่างตะวันตก โดยที่ ไม่ได้คิดต่อว่า “การแสดงความคิดเห็นของนักการเมือง นักวิชาการ นักสิทธิ ฯลฯ” ไม่มีการให้ความรู้ ความคิดเห็นแบบตรงไปตรงมา อะไรดี หรือไม่ดี มีแต่จะบิดเบือนและกล่าวหา กรธ. กกต. และรัฐบาล รวมทั้ง คสช. ด้านเดียวอีกทั้งยังใช้สื่อสารมวชน ฯ เป็นเครื่องมือกระจาย สร้างความเท็จ ไปสู่สาธารณ การถูกกล่าวหานี้ ส่วนใหญ่มาจาก นักการเมือง นักวิชาการและนักสิทธิ และต่างชาติ @ ฝ่าย กรธ. กกต มีเป้าหมายให้รัฐธรรมนูญผ่าน การลงประชามติเรียบร้อย ขาดความเป็นเอกภาพ และการประสานงานที่ดี ระหว่าง กรธ. และ กกต. ถูกโยงและกล่าวหาว่า ทำหน้าที่รับใช้ และทำตาม รัฐบาลและคสช. โดยเฉพาะ ตัวประธานมีชัยฯ จะถูกการใช้วาทกรรม “เนติบริกร” มาทำลายภาพพจน์ โดย ไม่เอา เหตุผล ข้อดีของรัฐธรรมนูญมาพูด แต่อ้างว่า “คนร่างใช้ไม่ได้” จึงไม่รับ @ฝ่ายนักการเมือง : ปฏิเสธทหาร รัฐบาล รธน. ต้องการกลับสู่การเลือกตั้งแบบเดิม โดยเนื้อแท้แล้ว เหมือนกัน คือ ยึดเอาตัวเองแลพรรคการเมืองเป็นหลักเพียงแต่พรรคเพื่อไทย เห็นชัดว่า “ทำไปเพื่อทักษิณและพวกพ้อง” ส่วน พรรค ปชป. โดยเฉพาะผู้นำ ที่ออกมาประกาศไม่รับ มีทัศนะ ปชต.ตะวันตก ที่ให้ความสำคัญกับการเลือกตั้งมาก่อน แต่ไม่พิจารณาว่า “การเลือกไม่เคยสุจริตเที่ยงธรรม” @ ข้ออ่อนใหญ่ คือ เป็นผู้สร้างวิกฤตให้กับสังคมและบ้านเมือง และไม่สามารถแก้วิกฤตได้ @ กลุ่มสิทธิ และภาคประชาชนบางส่วน : ไม่เอารัฐธรรมนูญมีชัย ไม่ให้ผ่านที่ออกมากล่าวหาโจมตีรัฐบาลและคสช. โดยมีทัศนะ ไม่ชอบทหาร และการรัฐประหารข้ออ่อน เป็นคนส่วนน้อย และไม่เคยโจมตีทักษิณปูและพรรคเพื่อไทย @ ประชาชน ส่วนใหญ่ให้ผ่าน ไม่เอานักการเมืองเก่า ให้แก้วิกฤตของประเทศขาดการรับรู้ข้อมูล และการตัดสินใจด้วยตนเอง แต่มักทำตาม ผู้ใหญ่และคนที่เชื่อถือศรัทธา