เป็นที่ทราบกันดีว่า รัฐธรรมนูญถือเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ สิ่งหนึ่งที่แสดงความเป็นกฎหมายสูงสุดของรัฐธรรมนูญคือ กฎหมายใดๆ ที่ใช้บังคับหรือจะใช้บังคับนั้น จะขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นแม่บทนั้นมิได้ เรียกว่า หลักความชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งหลักการนี้ได้รับรองไว้ตั้งแต่ในรัฐธรรมนูญฉบับแรกจนถึงปัจจุบัน ราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 ว่า “รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ บทบัญญัติใดของกฎหมาย กฎหรือข้อบังคับหรือการกระทำใด ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ บทบัญญัติหรือการกระทำนั้นเป็นอันใช้บังคับมิได้” อาจจะเนื่องด้วยประเด็นนี้ก็เป็นได้ คนไทยทั่วไปจึงให้ความสำคัญกับ “รัฐธรรมนูญไทย” เป็นอย่างยิ่ง “รัฐธรรมนูญ” จึงเป็นเป้าหมายที่ต้อง “ล้ม” แล้ว “ร่างขึ้นใหม่” มาตลอดตั้งแต่เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 เป็นต้นมา คนไทยมักลืมไปว่า หน้าที่สำคัญที่สุดของ “รัฐ” คือดูแล “การทำมาหากิน” ของคนไทย เพิ่อให้คนไทยอยู่ดีกินดี เพื่อให้การกระจยรายได้เป็นไปอย่าง “เป็นธรรม” ถ้า “รัฐ” ไทยทำหน้าที่นี้ได้ดี ประชาชนก็จะมีความผาสุก ไม่จำเป็นต้องพึ่งพาการเปลี่ยนแปลงด้วยความรุนแรง (รัฐประหาร) อาจจะเป็นไปได้ที่ “อำนาจรัฐ” ไทย หลงใส่ใจกับ “การยึดครองอำนาจรัฐ” คือเริ่มต้นก็แย่งชิงอำนจจากระบอบสมบรณยาสิทธราชย์ แล้วก็เน้นแต่การแก่งแย่งอำนาจระหว่างชนชั้นปกครอง โดยหลงลิมภาระหน้าที่สำคัญทางด้านดูแลการทำมาหากินของประชาชนคนเล็กคนน้อย “การเมืองไทย” จึงพัฒนามาในแนวทางนี้ แปดสิบกว่าปีของประชาธิปไตยไทยจึงได้สร้าง ความ “รวยกระจุก จนกระจาย” ให้เกิดความเหลื่อมล้ำมากขึ้นเรื่อย ๆ พูดตรง ๆ คือ แปดสิบกว่าปัของ“รัฐ” ไทยนั้น มิได้ใส่ใจเน้นแก้ปัญหาการทำมาหากินของคนเล็กคนน้อยในประเทศ เน้นพัฒนาเศรษฐกิจระบอบทุนนิยม เดินตามแนวทางการพัฒนาประเทศของประเทศทุนนิยมศนย์กลางมาตลอด ทางด้านเศรษฐกิจ ประเทศไทยเริ่มเปลี่ยนจากประเทศนำเข้าสินค้าทางอุตสาหกรรม เปลี่ยนจากเศรษฐกิจประเทศด้อยพัฒนา จนถูกเรียกว่าประเทศอุตสหกรรมใหม่แล้ว แต่ก็ยังไม่พ้น “กับดัก” ประเทศรายได้น้อย ยังเปลี่ยนเป็นประเทศพัฒนาแล้วที่มีรายได้ระดับดีได้สักที นี่ก็เพระเราเดินตามเส้นทางที่คนอื่นเขาเดินทาก่อนแล้ว และไม่เคยเน้นแก้ไขปัหา “การทำมาหากิน” ของชาวบ้าน แม้ถึงปัจจุบันที่กำลังจะมีการเลือกตั้งในอีกไม่กีเดือนข้างหน้านี้แล้ว “รัฐไทย” ก็ยังละลืมปรับเปลี่ยนพัฒนา “รากฐาน” ส่งเสริมการกระจายรายได้ที่เป็นธรรม สร้างโอกาสการทำมาหากินของคนเล็กนน้อยระดับล่างของสังคมไทยอย่างจริงจีง ชนชั้นล่างคนเล็กคนน้อยในสังคมไทยก็ขาดโอกาสพัฒนาการทางระบบความคิด เมื่อหลง “กลัดกระดุมผิดตั้งแต่เม็กแรก” ตีความ “ความเป็นธรรม” ในรัฐธรรมนูญผิดมาตั้แต่เริ่มแรก ปัจจุบันนี้ก็ยากที่จะแก้ไขเปลี่ยนแปลง