ผ่านวันเด็กมาแล้ว ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของโลกในปัจจุบัน ความหวังที่มีต่อเด็กและเยาวชนของชาติซึ่งจะเป็นกำลังในการพัฒนาประเทศต่อไป ท่ามกลางงานวิจัยและการทดลองต่างๆ รวมทั้งการปรับหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ แลขณะเดียวกันบ้านเรายังคงเป็นกระแสถกเถียงกันในเรื่องของเครื่องแต่งกาย จะช่วยเสริมจิตนาการ
หลากหลายปัจจัยที่เข้ามาเกี่ยวข้องนี้ น่าคิดว่าสำหรับพ่อแม้ผู้ปกครองในปัจจุบัน เราเตรียมพร้อมสำหรับเด็กให้เขาเผชิญกับอนาคตมากน้อยแค่ไหน และควรเตรียมพร้อมพวกเขาอย่างไร
ดร.อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์ ผู้อำนวยการหลักสูตรวิเคราะห์ธุรกิจและวิทยาการข้อมูล คณะสถิติประยุกต์ สถานบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ หรือนิด้า ให้สัมภาษณ์ในรายการช่วยคิดช่วยทำทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 3 ถึงการให้เด็กเรียนรู้และปรับตัวไว้น่าสนใจจึงขอหยิบยกมาเป็นถ่ายทอดอีกครั้ง
ดร.อานนท์ ยกตัวอย่างเหตุการณ์เลย์ออฟพนักงานโปรแกรมเมอร์ที่เมืองบังกะลอ ประเทศอินเดีย จำนวน 3 แสนคน ที่เราคิดว่าอินเดียต้องเป็นสุดยอดในเรื่องของไอที แต่ปรากฎว่าโปรแกรมเมอร์ที่ถูกเลย์ออฟนั้น เป็นคนรุ่นโบราณที่ไม่สามารถเรียนรู้วิทยาการสมัยใหม่ เช่นเรื่องวิทยการข้อมูล หรือความปลอดภัยข้อมูลออนไลน์และปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI เพราะต้องทักษะด้านคณิตศาสตร์สูง ในขณะที่โปรแกรมเมอร์รุ่นก่อนไม่ได้รับการฝึกในเรื่องนี้มาอย่างเพียงพอ จึงไม่สามารถปรับตัวเข้าไปเรียนรู้เรื่องใหม่ๆ ที่จะเอามาใช้ในวงการคอมพิวเตอร์ได้ จึงถูกเลย์ออฟเพราะเรียนรู้เรื่องใหม่ไม่ได้
“เขาพยากรณ์ไว้เลยว่า ภายใน 10 ปี คนที่อยู่ในบังกะลอจะอยู่รอดแค่ 30 % ที่เหลือจะเป็นการรีสกิลเอาคนยุคใหม่เข้ามา อีก 70 % ต้องปรับตัวไปทำอาชีพอื่น”
ดร.อานนท์ ยังยกตัวอย่างภายในประเทศ การปรับตัวของธนาคารพาณิชย์ เลย์ออฟคนออก โดยยุคหนึ่งธนาคารแห่งหนึ่งมีพนักงานอยู่สูงถึง 18,000 คน เลย์ออฟออกไป 8,000 คนเหลือ 10,000 คนแล้วรับเข้ามาใหม่ 24,000 คน ทั้งที่ธุรกิจเติบโตแต่คนอยู่ไม่ได้ เพราะปรับตัวไม่ได้ ธนาคารเอาคนออกเพราะต้องการคนที่มีการเรียนรู้และมีความสามรถใหม่เข้ามา
“เดิมแบงก์อยู่หน้าสาขาเป็นเทลเลอร์ แต่ตอนนี้อยู่หน้าจอโทรศัพท์มือถือหรือจอคอมพิวเตอร์คือตัวแบงก์แล้ว เพราะฉะนั้นเขาต้องการ คนมาทำเรื่องอีแบงกิ้ง อินเตอร์เน็ตแบงก์กิ้ง ต้องการคนที่มีทักษะใหม่ที่มาทำเรื่องไซเบอร์ซีเคียวลิตี้ เทลเลอร์แบงก์รุ่นเก่าที่ต้องเลย์ออฟไปทั้งหมดไม่สามารถปรับตัวขึ้นมาเรียนรู้ทักษะใหม่ๆแบบนี้ได้ ซึ่งมันก็คือจบ”
ดร.อานนท์ ยังให้คำแนะนำสำหรับพ่อแม่ว่า ต้องให้เสรีกับลูกในการเรียน แต่จะทำอย่างไรก็ได้ให้ลูกรักที่จะเรียนรู้และปรับตัวด้วยตัวเอง เพราะฉะนั้นต้องเปิดโอกาสให้เด็กได้ทดลอง ได้ท้าทายความสามารถของตนเอง ต้องมีกิจกรรมให้าเรียนรู้ด้วยความสนุก ต้อง PLAY AND LEARN ไปด้วยกัน
“ถ้าเราจะไปบังคับลูกให้เรียนเรื่องเดิมๆ แบบเดิมมันไม่ได้ เราต้องให้เด็กมีความกระหายใคร่รู้เรื่องใหม่ๆด้วยตัวเอง เขาจะเบื่อเรียนหนังสือในห้องไม่เป็นไร แต่เขาต้องมีความสนุก กระหายที่จะเรียนรู้อะไรใหม่ๆ แต่พื้นฐานยังต้องอยู่”
นับเป็นคำแนะนำที่มีคุณค่าสำหรับพ่อแม่ผู้ปกครอง และท่ามกลางกระแสอันเชียกรากของการเปลี่ยนแปลงในโลกดิจิทัล ไม่เพียงแต่ต้องเตรียมเด็กในอนาคต หากแต่คนทุกรุ่นจะต้องเรียนรู้และปรับตัวเพื่ออนาคตของตนเอง