ห้าอุตสาหกรรมใหม่ ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมใหม่ที่ชนชั้นปกครองของประเทศไทยฝากความหวังเอาไว้ประกอบด้วย
1) อุตสาหกรรมหุ่นยนต์เพื่อการอุตสาหกรรม (Robotics) • เพราะโลกมีความต้องการสูง เชื่อว่าจะใหญ่กว่าอุตสาหกรรมรถยนต์ในอนาคต
2) อุตสาหกรรมการบินและโลจิสติกส์ (Aviation and Logistics)
3) อุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ (Biofuels and Biochemicals)
4) อุตสาหกรรมดิจิทัล (Digital)
5) อุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร
เมื่อผู้กุมอำนาตรัฐไทยฝากความหวังไว้กับอุตสหกรรมใหม่เหล่านี้ “วิถีชีวิต” ของคนไทยส่วนใหญ่จึง “ขึ้น” กับความสำเร็จของอุตสาหกรรมใหม่เหล่านี้อย่างแน่นอน
แต่น่าห่วงตรงที่ คนไทยส่วนข้างมากยังขาดความรู้พื้นฐานในเรื่องเหล่านี้อย่างมาก
ตัวอย่างรูปธรรมเช่น ไทยฝากความหวังไว้กับอุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร แต่ก็ “เสีย” โอกาสการพัฒนาผลิตภัณฑฺทางการแพทย์จากกัญชาไปแล้ว เพราะมิได้สนับสนุน “งานวิจัย” และลิขสิทธิ์ผลิตภัณฑ์จากกัญชา
อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์จากกัญชาอาจเกิดขึ้นได้ในประเทศไทย แต่ “เจ้าของลิขสิทธิ์เท่านั้น” ที่จะได้ประโยชน์
ส่วนเกษตรกรที่ปลูกกัญชา จะได้เพียงแค่ราคาสินค้าเกษตรปฐมภูมิ (ซึ่งจะราคาต่ำ) และผู้ขายแรงงานก็จะได้แค่ค่าจ้างรงงานเท่านั้น
แล้วมันจะแตกต่างอะไรกับการพัฒนา “อุตสาหกรรมเก่า” ในรอบสามทศวรรษที่ผ่านมา ซึ่งสร้างให้ไทยเป็น “ผู้รับจ้างประกอบชิ้นส่วนสินค้า” เท่านั้น
อีกทั้ง อุตสาหกรรมใหม่ ด้าน “หุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์” ก็จะทำให้สูญเสียศักยภาพทางด้านการแข่งขัน คือค่าจ้างแรงงานราคาถูกไปอีกด้วย
จากบทวิเคราะห์จำนวนมากชี้ว่า หุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์จะเข้ามาทดแทนแรงงานในทุกระดับ ซึ่งจะนำพาสังคมไปสู่สังคมไร้งาน (jobless economy) และไร้รายได้ในที่สุด
แต่อีกด้านหนึ่งเชื่อว่า หุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์ไม่ได้แตกต่างจากเทคโนโลยีที่เคยพัฒนามาในอดีต หุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์จะเข้ามาทดแทนแรงงานได้เพียงแค่ภาคการผลิตบางภาคเท่านั้น และแรงงานก็จะถูกผลักให้ย้ายไปสู่ภาคการผลิตอื่นที่ดีกว่า
นอกจากข้อถกเถียงเรื่องหุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์เข้ามาแย่งงานคนแล้ว ยังมีความเป็นไปได้ที่หุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์จะทำให้เกิดการแบ่งขั้วของกำลังแรงงานอย่างรุนแรง (polarization of workforce) กล่าวคือ โลกในอนาคตจะเหลือเพียงแค่แรงงานทักษะสูงและแรงงานทักษะต่ำเท่านั้น ในขณะ?ที่แรงงานทักษะปานกลางจะหายไป เนื่องจาก หุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์ไม่สามารถทดแทนแรงงานทักษะสูงได้ ส่วนแรงงานทักษะต่ำนั้น ภาคธุรกิจคิดว่าไม่คุ้มค่าที่จะใช้หุ่นยนต์มาทำงานแทน
ในแง่นี้ แรงงานทักษะสูงคือผู้ชนะที่ได้รับดอกผลจากเทคโนโลยี ในขณะที่แรงงานทักษะปานกลางและต่ำจะเป็นผู้แพ้ แรงงานระดับกลางจะลงไปแย่งงานกับแรงงานทักษะต่ำ ส่งผลให้ค่าจ้างยิ่งถูกกดให้ต่ำลงไปอีก
มีการเตือนคนไทยผู้ขายแรงงานสามระดับนี้บ้างหรือยัง ?