ประเทศอุตสาหกรรมใหม่ ( newly industrialized country, NIC) เป็นประเภทการจำแนกประเทศทำนองเดียวกับที่เคยจำแนกเป็นประเภทที่เรียกกันว่า ประเทศพัฒนาแล้ว ประเทศด้อยพัฒนา ประเทศกำลังพัฒนา มันจึงมีความหมายเพียงกว้าง ๆ เช่น แอฟฟิกาใต้ , เมกซิโก , บราซิล ,อินเดีย ,จีน , อินโดนีเซีย , มาเลเซีย , ฟิลิปปินส์ , ตุรกี และ ไทย ได้เป็นประเทศอุตสาหกรรมใหม่มาตั้งแต่ พ.ศ 2557 แล้ว
ประเทศอุตสาหกรรมใหม่เป็นประเทศที่สถานะทางเศรษฐกิจยังไม่เทียบเท่ากับประเทศพัฒนาแล้ว แต่ถือว่ามีสถานะดีกว่าประเทศใกล้เคียงในทางเศรษฐศาสตร์มหภาค และมีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจสูง โดยมีตัวบ่งชี้ที่สำคัญคือ การพัฒนาเป็นประเทศอุตสาหกรรมในระยะแรกเริ่มและมีการพัฒนาต่อเนื่อง ซึ่งทำให้ในบางประเทศมีการอพยพของประชากรจากชนบทหรือภาคเกษตรกรรมเข้าสู่เมืองใหญ่
ปกติแล้วประเทศอุตสาหกรรมใหม่จะมีลักษณะร่วมกันดังนี้
ประชากรมีสิทธิและเสรีภาพมากขึ้น
เศรษฐกิจเปลี่ยนแปลงจากภาคเกษตรกรรมไปเป็นภาคอุตสาหกรรม โดยเฉพาะภาคการผลิต
เศรษฐกิจตลาดเสรีเพิ่มมากขึ้น มีการค้าเสรีกับชาติอื่นๆ
มีองค์กรขนาดใหญ่ของชาติดำเนินงานอยู่ในหลายภูมิภาคของโลก
มีการลงทุนจากต่างประเทศมาก
มีความเป็นผู้นำทางการเมืองภายในภูมิภาค
ส่วนคำว่า “อุตสาหกรรมใหม่” นั้นหมายถึงอุตสาหกรรมที่จะรุ่งเรืองขึ้นในอนาคต รูปธรรมของอุตสาหกรรมใหม่จึงขึ้นกับวิสัยทัศน์ของชนชั้นนำที่กุมอำนาจรัฐอยู่แต่ละประเทศ
สำหรับประเทศไทยน่าจะสรุปได้จาก “อุตสาหกรรม” ที่โครงการอีอีซีสนับสนุน
กระทรวงอุตสาหกรรมได้นำเสนอเรื่อง ข้อเสนอ 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย : กลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจเพื่ออนาคต (New Engine of Growth) ภายใต้แนวคิดที่ว่า ประเทศไทยสามารถผลักดันการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ(S - Curve) ใน 2 รูปแบบ ได้แก่ 5 อุตสาหกรรมที่มีศักยภาพ (First S - Curve) และ 5 อุตสาหกรรมอนาคต(New S - Curve) และคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2558 เห็นชอบตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ (ที่มา : สำนักงานเพื่อการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก ....ส กรศ.)
“อุตสาหกรรมใหม่” สำหรับประเทศไทยที่มีอนาคตจึงคือ 10 อุตสาหกรรมเป้าหมายของโครงการ อีอีซี นั่นเอง
“10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย : กลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจเพื่ออนาคต” นี้เป็นมาตรการระยะยาวที่จะกำหนดทิศทาง “การปรับโครงสร้างด้านการผลิต ทั้งเกษตร-อุตสาหกรรม-บริการ” ของประเทศให้มีประสิทธิภาพ มีความสามารถในการแข่งขัน มีการสร้างงานคุณภาพ และมีการสนับสนุนเศรษฐกิจภูมิภาคอย่างเป็นระบบ ต่อเนื่อง และยั่งยืน โดยมการต่อยอดจากอุตสหกรรมที่ไทยมีวามโดดเด่นอยู่แล้ว 5 อุตสาหกรรม และสร้างอุตสาหกรรมใหม่อีกห้าอุตสาหรรม
การต่อยอด 5 อุตสาหกรรมเดิม ประกอบด้วย 1) อุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ (Next-generation Automotive) 2) อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ (Smart Electronics) 3) อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวกลุ่มรายได้ดีและการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ (Affluent, Medical and Wellness Tourism) 4) การเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ (Agriculture and Biotechnology) 5) อุตสาหกรรมการแปรรูปอาหาร (Food for the Future)
การเติม 5 อุตสาหกรรมอนาคต ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมใหม่ที่ประเทศไทยมีศักยภาพในการแข่งขัน และมีผู้สนใจลงทุน ประกอบด้วย
1) อุตสาหกรรมหุ่นยนต์เพื่อการอุตสาหกรรม (Robotics) • เพราะโลกมีความต้องการสูง เชื่อว่าจะใหญ่กว่าอุตสาหกรรมรถยนต์ในอนาคต
2) อุตสาหกรรมการบินและโลจิสติกส์ (Aviation and Logistics)
3) อุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ (Biofuels and Biochemicals)
4) อุตสาหกรรมดิจิทัล (Digital)
5) อุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร (Medical Hub)