ดร.วิชัย พยัคฆโส/[email protected] ตลาด Logistic ในประเทศไทยเติบโต 40% โดยเฉพาะสินค้า online ย่อมทำให้ผู้ประกอบการด้านบริการขนส่งสินค้าประเทศนี้ตาโต เพราะเป็นแนวโน้มใหม่ของตลาดในประเทศไทย เพราะมีผู้รับบริการเข้ามาแข่งขันมากขึ้น หากเอาตัวเลขของลาซาด้ามียอดสั่งสินค้าในปี 2560 มีเพียง 8 แสนชิ้น แต่ปี 2561 เติบโตกระโดดมาถึง 2.5 ล้านชิ้น เติบโตถึง 150% ในขณะที่มีผู้บริการขนส่งรายใหญ่ เช่น บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด มีส่วนแบ่งถึง 55% และเคอรี่เอ็กซ์เพรส 40% คงรับไม่ได้ เพราะเป็นการเติบโตแบบก้าวกระโดด “แฟลชเอกซ์เพรส” ในเครือของอาลี บาบา จึงหันเหมาสู่เวทีการแข่งขันด้านนี้เพิ่มขึ้น ในขณะที่ไปรษณีย์ไทย มีบริการด้วยเครือข่ายกว่า 5,000 แห่ง ที่กระจายอยู่ทั่วประเทศ ด้วยที่ทำการของไปรษณีย์ไทยเอง 1,600 แห่ง และของไปรษณีย์เอกชนอีกกว่า 3,000 แห่ง รวมแล้วประมาณ 5,000 แห่ง ให้บริการจัดส่งสินค้า e-commerce ในขณะที่อันดับ 2 ได้แก่ เคอรี่เอกซ์เพรส มีจุดให้บริการมากกว่า 5,500 สาขา มีศูนย์กระจายสินค้าทั่วประเทศมากกว่า 600 แห่ง มีพนักงานมากกว่า 7,000 คน และปีนี้จะรับเพิ่มอีกถึง 7,000 คน แฟลชเอกซ์เพรส เป็นบริษัทลูกของอาลีบาบาจะลงทุน 1,000 ล้านบาทและนักลงทุนจากสหรัฐอีก 1,500 ล้านบาท กล่าวว่าตลาดในประเทศไทยเล็กกว่าในจีนถึง 18 เท่า มีค่าบริการต่ำเฉลี่ย 15 บาท ส่วนไทยมีต้นทุนด้านการขนส่ง 30 บาท คิดเป็น 26% ของราคาสินค้า แต่จะทำตลาดต่ำสุดด้วยราคา 19 บาท โดยใช้งบอุดหนุนปีละ 600 ล้านบาท โดยจะทำตลาดในไทยโดยการหาสปอนเซอร์จากการโฆษณาข้างกล่อง โดยมีเป้าหมายว่าจะมีผู้ใช้บริการสินค้าประมาณ 5 ล้านบัญชี โดยใช้ เอไอ กับ บิ๊กดาต้าเข้ามาทำตลาด หากมองเช่นนี้ตลาดโลจิสติกในไทย น่าจะเป็นผลดีกับลูกค้าแน่นอน เพราะค่าขนส่งต่ำลงจะเป็นปัจจัยหลักในการขนส่ง เชื่อได้ว่าจะมีสินค้า online เพิ่มขึ้นอย่างน้อยร้อยละ 50 จากเดิมที่มีอยู่ การเข้ามาของแฟลชเอกซ์เพรส เที่ยวนี้ทางไปรษณีย์ไทยกับเคอรี่เอกซ์เพรสกับการแข่งขันด้านราคา แต่จะขยายเวลาทำงานเพิ่มขึ้น ส่วนเคอรี่เอกซ์เพรสเจ้าใหญ่ของสิงคโปร์แจ้งว่า 6 ปีที่ผ่านมาธุรกิจด้านนี้ขยายตัวรวดเร็ว ปัจจุบันมีพนักงานมากกว่า 7,000 คน มีพนักงานพาร์ทไทม์อีก 1.2 หมื่นคน และปีนี้จะลงทุนอีกกว่า 1,000 ล้านบาท เพื่อขยายพื้นที่บริการที่มีอยู่ 5,500 แห่ง ให้ครอบคลุมทั้งประเทศ ในขณะที่ผู้ให้บริการมองภาพรวมออกเช่นนี้ สินค้า e-commerce ของไทย พึงต้องระดมวิจัยสินค้าและค้าขายด้วยระบบ online เพิ่มขึ้นเพราะปัจจัยบวกของค่าขนส่งมีให้มากขึ้น อนาคตสินค้าประเภท e-commerce จะพุ่งเป้าไปสู่ door to door ได้มากขึ้น อย่างไรก็ตาม รัฐบาลได้เตรียมตั้งแผนรับไว้แล้ว โดยจะเรียกเก็บภาษีจากสินค้าประเภทนี้ให้ได้พอสมควร ด้วยการโอนเงินผ่านเข้าระบบบัญชีต่อเดือน เพื่อเรียกเก็บภาษีจากเจ้าของสินค้า เรียกว่าได้ทั้งรัฐบาลและเจ้าของสินค้าพร้อมๆกัน ปีหมูทองปีแห่งการเปลี่ยนแปลงทั้งการเมือง และการค้า หวังว่าการเมืองคงเข้าสู่เวทีประชาธิปไตยเต็มรูปแบบ ควบคู่ไปกับการเปิดเวทีการค้า e-commerce ไปทุกหย่อมหญ้า ขอให้เป็นปีหมูทองที่แท้จริงของการค้า e-commerce กันทั่วหน้า