“ไทยนี้รักสงบ แต่ถึงรบไม่ขลาด”
ประโยคหนึ่งจากเนื้อเพลงชาติไทยที่เราร้องกันมาตั้งแต่ยังเยาว์วัยหน้าเสาธงจนขึ้นใจ ประพันธ์โดย หลวงสารานุประพันธ์ บ่งบอกถึงลักษณะนิสัยของคนไทยที่ในยามปกติจะรักสงบ แต่ถึงคราวต้องสู้รบ ก็ไม่เคยหวาดกลัวใคร
ที่หยิบยกข้อความดังกล่าวขึ้นมานี้ ด้วยรำลึกถึงความคุณูปการและความเสียสละของทหารผ่านศึก ด้วยในวันสำคัญคือวันที่ 3 กุมภาพันธ์ ของทุกปีนั้นเป็นวันทหารผ่านศึก
ในวันนี้ องค์การทหารผ่านศึก ในพระบรมราชูปถัมภ์ กำหนดจัดพิธีวางพวงมาลา เพื่อสดุดีและรำลึกถึงวีรกรรมความกล้าหาญของทหารผ่านศึก ณ อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ และมีการจัดพิธีเดินขบวนพาเหรดของทหารผ่านศึกในทุกกรณีสงคราม จากองค์การไปยังอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
ซึ่งวันทหารผ่านศึกนี้ เกี่ยวพันกับอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ด้วยอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมินั้น สร้างขึ้นเพื่อเชิดชูวีรกรรมของทหาร ตำรวจ และพลเรือน 59 คน ที่เสียชีวิตไปในกรณีพิพาทระหว่างไทยกับฝรั่งเศส เรื่องการปรับปรุงพรมแดนไทยกับอินโดจีนฝรั่งเศส โดยได้จารึกชื่อของวีรชนเหล่านั้นไว้บนอนุสาวรีย์ เพื่อเป็นเกียรติ และยังเป็นที่จารึกรายนามทหารที่เสียชีวิต ในกรณีพิพาทระหว่างไทยกับฝรั่งเศส สงครามโลก ครั้งที่ 2 และ สงครามเกาหลี มีแผ่นทองแดงจารึกนามผู้เสียชีวิต รายนามผู้ที่ได้รับการจารึกไว้มีทั้งสิ้น 160 นาย จนถึงปัจจุบันแผ่นทองแดงจารึกรายนามผู้เสียชีวิต และผู้สละชีพเพื่อชาติจากสงครามต่างๆ ตั้งแต่ พ.ศ. 2483 - 2497 รวมทั้งสิ้น 801 นาย
อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ จะเปิดให้เข้าชมปีละครั้ง คือวันทหารผ่านศึก 3 กุมภาพันธ์ โดยเปิดโอกาสให้ทหาร และครอบครัวทหารผู้ล่วงลับ เข้าไปกราบไหว้ แสดงความรำลึกถึงทหารผู้ที่จากไป
อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิที่ใจกลางกรุงเทพมหานครนั้น สร้างขึ้นเพื่อเทิดทูนวีรกรรมของทหาร ตำรวจ และพลเรือนที่เสียชีวิตไปในกรณีพิพาทระหว่างไทยกับฝรั่งเศส เรื่องการปรับปรุงพรมแดนไทยกับอินโดจีนฝรั่งเศส ซึ่งในครั้งนั้นมีผู้เสียชีวิต 59 คน ทั้งทหาร ตำรวจ และพลเรือน โดยพลเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา เป็นผู้วางศิลาฤกษ์เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2484 และจอมพลแปลก พิบูลสงคราม เป็นผู้ทำพิธีเปิดเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2485 สถาปนิกผู้ออกแบบอนุสาวรีย์คือ หม่อมหลวงปุ่ม มาลากุล
3 กุมภาพันธ์ ไม่ได้เป็นเพียงแค่วันสำคัญดังที่กล่าวมาแล้วเท่านั้น ความสำคัญของวันทหารผ่านศึกยังเกี่ยวข้องกับ "อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ" อนุสรณ์สถานที่จะต้องมีการวางพวงมาลาของบุคคลสำคัญของประเทศเพื่อคารวะดวงวิญญาณของทหารหาญและเหล่าวีรชนคนกล้า ที่มีชื่อจารึกอยู่บนอนุสาวรีย์ เป็นการเทิดเกียรติแก่คนเหล่านั้นที่ได้เสียสละชีพเพื่อชาติ และปกป้องอธิปไตยของชาติไทยในเหตุการณ์พิพาทระหว่างไทยและฝรั่งเศส ในการเรียกร้องดินแดนฝั่งขวาแม่น้ำโขงคืน
อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ถูกสร้างขึ้นเพื่อจารึกรายนามของทหารหาญและวีรชนที่เสียชีวิตใน สงครามข้อพิพาทแย่งดินแดนระหว่างไทยและฝรั่งเศส รวมทั้งทหารที่เสียชีวิตใน สงครามมหาเอเซียบูรพา (สงครามโลกครั้งที่ 2) และ สงครามเกาหลี เป็นอนุสาวรีย์กลางเพื่อเทิดทูนวีรชนผู้สละชีพเพื่อชาติทั้งปวง และเพื่อเตือนใจชาวไทยให้ระลึกว่า ชาติไทยนั้นดำรงเอกราชและรักษาความมั่นคงของชาติอยู่ได้ด้วยบรรดา วีรชนนักรบไทย ผู้ซึ่งได้เสียสละชีพเพื่อชาติตลอดมา
จอมพล ป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ได้ประกอบพิธีเปิดอนุสาวรีย์ เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2485 อนุสาวรีย์แห่งนี้ สร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็กประดับศิลาอ่อน มีรูปทรงเป็นดาบปลายปืน 5 เล่ม มีความสูงประมาณ 50 เมตร รอบดาบปลายปืนมีรูปปั้นนักรบ ๕ เหล่า คือ ทหารบก ทหารเรือ ทหารอากาศ ตำรวจ และพลเรือน ยืนล้อมรอบอยู่ บริเวณใต้รูปปั้นมีแผ่นทองแดงซึ่งเป็นที่จารึกรายชื่อของผู้เสียชีวิต และผู้สละชีพเพื่อชาติจากสงครามต่างๆ ตั้งแต่ พ.ศ.2483 -2497 รวมทั้งสิ้น 801 นาย และมีคำขวัญประจำอนุสาวรีย์ว่า "ใครจะจารึกชื่อในอนุสาวรีย์ก่อนกัน"