ปีใหม่แล้ว มีใครจำ “ร่างสัญญาประชาคม” ได้บ้าง ถึงตอนนี้ ผู้คนทั่วๆไปคงนึกถึงการเลือกตั้งกันทุกวัน อารมณ์ของผู้คนก็อาจจะ “ขึ้น-ลง” ไปตามประเด็นที่คู่แข่งขันในการหาเสียงเลือกตั้งเขาจะ “ปั่น” ให้รู้สึกตาม หลายเรื่องที่รัฐบาลทำไว้ก็อาจจะถูกลิมเลือนไปแล้ว เช่นเรื่อง “สัญญาประชาคม” ที่ประกาศออกมาเมื่อเดือนกรกฎาคมปีที่แล้วอย่างเงียบเชียบ เป้าหมายหลักของสัญญาประชาคม เพื่อสร้างความสามัคคีปรองดอง เนื้อหาร่างสัญญาประชาคมแบ่งเป็น 3 ส่วน คือ บทนำ ความคิดเห็นร่วม และภาคผนวก ความเห็นร่วมมี 10 ข้อ ดังนี้ 1. คนไทยทุกคนพึงร่วมมือกันสร้างบรรยากาศความสามัคคีปรองดองเพื่อให้ประเทศไทยมีความเป็นหนึ่งเดียวภายใต้การปกครองระบอบระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และเข้าใจระบอบประชาธิปไตยอย่างแท้จริง ใช้สิทธิเสรีภาพอย่างแท้จริง ใช้สิทธิเสรีภาพอย่างถูกต้องและอยู่ในกรอบกฎหมาย มีส่วนร่วมกับการเมืองภาคประชาชน ยอมรับความแตกต่างทางความคิด ส่งเสริมสถาบันการเมืองให้มีความเข้มแข็งเพื่อนำไปสู่การเลือกตั้งที่โปร่งใสบริสุทธิ์ ยุติธรรม และยอมรับผลการเลือกตั้งซึ่งถือเป็นฉันทามติของคนไทยทั้งประเทศ รวมทัทั้งร่วมกันตรวจสอบถ่วงดุลอำนาจรัฐและการแก้ไขปัญหาโดยใช้กลไกรัฐสภา 2.คนไทยทุกคนพึงน้อมนำศาสตร์พระราชามาประยุกต์ใช้ในชีวิต 3.คนไทยทุกคนพึงยึดมั่นในคุณธรรมจริยธรรม 4.คนไทยทุกคนพึงอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 5.คนไทยทุกคนพึงส่งเสริมการดูแลคุณภาพชีวิตและสาธาณสุข 6.คนไทยทุกคนพึงเคารพ เชื่อมั่น และปฏิบัติตามกฎหมาย สนับสนุนกระบวนการยุติธรรมเพื่อให้เกิดความสงบเรียบร้อยในสังคม 7.คนไทยทุกคนพึงใช้ความรอบคอบในการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร ไม่บิดเบือน 8.คนไทยทุกคนพึงตระหนักในการส่งเสริมสังคมให้มีมาตรฐานสากล ตามกฎกติการะหว่างประเทศที่ไทยเป็นภาคี 9.คนไทยทุกคนพึงส่งเสริมการปฏิรูปประเทศทุกด้าน ให้สอดคล้องและเป็นไปในแนวทางเดียวกัน 10.คนไทยทุกคนเรียนรู้ให้ความร่วมมือและสนับสนุนการขับเคลื่อนประเทศตามแนวทางยุทธศาสตร์ชาติ “สัญญาประชาคม (social contract) หมายถึง ข้อตกลงภายในรัฐที่ว่าด้วยสิทธิและความรับผิดชอบของรัฐและพลเมือง หรือในความหมายทั่วไปหมายถึงข้อตกลงว่าด้วยสิทธิและความรับผิดชอบระหว่างกลุ่มและสมาชิก โดยปกติถือกันว่าสมาชิกทุกคนในสังคมย่อมยอมรับกฎเกณฑ์ต่างๆ ในลักษณะของสัญญาประชาคมโดยปริยายเมื่อตนเองอยู่ในสังคมนั้น ๆ” เมื่อย้อนกลับไปอ่านร่างสัญญาประชาคมสิบข้อข้างต้น ก็เห็นว่าตามหลักการแล้ว ก็ต้องเขียนกันแบบนั้นแหละ แต่ในทางปฏิบัติจริง ยังมีรายละเอียดอีกมาก ที่ยากทำได้ผลจริงสังคมไทยควรจะเป็นไปตาม “สัญญาประชาคม” สิบข้อ ที่เสนอออกมาโดยหลักการแล้ว ก็เป็นความหวังที่เราจะมีสังคมศิวิไลซ์อย่างนั้น แต่ปัญหาคือเราจะบรรลุถึงจุดนั้นได้อย่างไร ?เราเห็นว่าเรื่อง “ยึดมั่นในคุณธรรมจริยธรรม” สำคัญที่สุด