พจนานุกรมราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 ให้ความหมายคำว่า “พรรคการเมือง” ไว้ว่า คือ กลุ่มบุคคลที่มีอุดมการณ์ทางการเมืองอย่างเดียวกัน ร่วมกันจัดตั้งและจดทะเบียนเป็นพรรคการเมืองตามกฎหมาย
พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2560 กำหนดว่า “พรรคการเมือง” หมายความว่า คณะบุคคลที่รวมตัวกันจัดตั้งเป็นพรรคการเมืองโดยได้จดทะเบียน ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้
มาตรา 92 ของพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2560 บัญญัติว่า เมื่อคณะกรรมการมีหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่าพรรคการเมืองใดกระทําการ อย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ ให้ยื่นศาลรัฐธรรมนูญเพื่อสั่งยุบพรรคการเมืองนั้น
(1) กระทําการล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือเพื่อให้ได้มาซึ่งอํานาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ ในรัฐธรรมนูญ
(2) กระทําการอันอาจเป็นปฏิปักษ์ต่อการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ ทรงเป็นประมุข
(2) กระทําการฝ่าฝืนมาตรา 20 วรรคสอง มาตรา 28มาตรา 30มาตรา 36มาตรา 44 มาตรา 45 มาตรา 46 มาตรา 72 หรือมาตรา 74 (4) มีเหตุอันจะต้องยุบพรรคการเมืองตามที่มีกฎหมายกําหนด เมื่อศาลรัฐธรรมนูญดําเนินการไต่สวนแล้ว มีหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่าพรรคการเมืองกระทําการ ตามวรรคหนึ่ง ให้ศาลรัฐธรรมนูญสั่งยุบพรรคการเมือง และเพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง ของคณะกรรมการบริหารพรรคการเมืองนั้น
โดยในมาตรา 28 ห้ามมิให้พรรคการเมืองยินยอมหรือกระทําการใดอันทําให้บุคคลอื่นซึ่งมิใช่ สมาชิกกระทําการอันเป็นการควบคุม ครอบงํา หรือชี้นํา กิจกรรมของพรรคการเมืองในลักษณะที่ทําให้ พรรคการเมืองหรือสมาชิกขาดความอิสระ ทั้งนี้ ไม่ว่าโดยทางตรงหรือโดยทางอ้อม
และในมาตรา 29 ห้ามมิให้ผู้ใดซึ่งมิใช่สมาชิกกระทําการใดอันเป็นการควบคุม ครอบงํา หรือชี้นํา กิจกรรมของพรรคการเมืองในลักษณะที่ทําให้พรรคการเมืองหรือสมาชิกขาดความอิสระ ทั้งนี้ ไม่ว่า โดยทางตรงหรือโดยทางอ้อม
กรณีของนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี พรรคเพื่อไทย และ 6 พรรคร่วมรัฐบาลเดิมถูกร้องให้ยุบพรรคโดยอ้างเหตุเข้าเงื่อนไขตามมาตราดังกล่าว ทั้งในคณะกรรมการการเลือกตั้ง และที่ยื่นต่อศาลรัฐธรรมนูญ กระบวนการต่างๆจะสิ้นสุดที่ใด และส่งผลกระทบทางการเมืองอย่างไร