น้ำท่วมโคล่นถล่มหลายพื้นที่ประเทศไทย นำมาซึ่งความสุญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สิน นอกจากจะส่งผลกระทบทางสังคม ที่สำคัญคือด้านเศรษฐกิจ โดยหอการค้าไทยและมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ประเมินมูลค่าความเสียหายแล้ว ประมาณ 29,845 ล้านบาท หรือ คิดเป็น 0.17% ของ GDP (ข้อมูล ณ 28 กันยายน 2567) พบว่า ภาคการเกษตรได้รับผลกระทบมากที่สุด โดยมีมูลค่าความเสียหายรวมถึง 24,553 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนประมาณ 82.3% ของความเสียหายทั้งหมด รองลงมาเป็นภาคบริการ เสียหาย 5,121 ล้านบาท ส่วนภาคอุตสาหกรรมเสียหายราว 171 ล้านบาท

สำหรับจังหวัดที่ได้รับผลกระทบและมูลค่าความเสียหายมากที่สุด 3 อันดับ ได้แก่ เชียงราย มีมูลค่าความเสียหายรวม 6,412 ล้านบาท รองลงมาคือ พะเยา 3,292 ล้านบาท สุโขทัย 3,042 ล้านบาท ตามลำดับ 

ทั้งนี้ หอการค้าไทย ได้จัดทำข้อเสนอทั้งเชิงนโยบายด้านโครงสร้างพื้นฐานและแนวทางการบริหารจัดการน้ำ (Infrastructure and Water Management) รวมถึงข้อเสนอเชิงสนับสนุนใน 6 ข้อ เช่น การศึกษาปัญหาอุปสรรคด้านการบริหารจัดการน้ำในส่วนภูมิภาค สำรวจปัญหา/อุปสรรคและข้อเสนอแนะด้านการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำไปยังหอการค้าจังหวัดในแต่ละมิติ เช่น เครื่องมือ/อุปกรณ์การบริหารจัดการน้ำ ระบบบริหารจัดการ การซ่อมบำรุง และก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานด้านการบริหารจัดการน้ำ เพื่อสะท้อนแนวทางแก้ไขปัญหาเชิงพื้นที่อย่างครอบคลุม

จัดกิจกรรมส่งเสริมและประชาสัมพันธ์ฐานข้อมูลด้านน้ำเพื่อเป็นแนวทางวางแผนและบรรเทาปัญหาเกี่ยวกับการบริหารจัดการน้ำ (น้ำท่วม/น้ำแล้ง) จัดกิจกรรมอบรมการใช้งาน Application หรือ website เกี่ยวกับฐานข้อมูลน้ำที่มีอยู่ในปัจจุบัน โดยฉพาะ "คลังข้อมูลน้ำแห่งชาติ" หรือ "Thaiwater.net"   แนวทางการจัดตั้ง War Room ของรัฐบาลเพื่อสื่อสารข้อมูลเกี่ยวกับสถานการณ์น้ำ ภาคเอกชนสนันสนุนแนวทางที่รัฐบาลได้จัดตั้ง War Room เพื่อทำการสื่อสารข้อมูลเกี่ยวกับสถานการณ์น้ำโดยเฉพาะในพื้นซึ่งมีความเสี่ยงต่ออุทกภัย ตลอดจนการคาดการณ์ การแจ้งเตือน เพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลที่ถูกต้องชัดเจน และเป็นไปในทิศทางเดียวกัน และสนับสนุนมาตรการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย

ที่น่าสนใจ คือในข้อเสนอการบูรณาการ การดำเนินงานระหว่างหน่วยงานภาครัฐ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยใช้แนวทางการบริหารจัดการลำน้ำ/ แม่น้ำร่วม ซึ่งมีปัญหาภัยแล้งและน้ำท่วมที่มักเกิดบนพื้นที่ทับซ้อน และเป็นพื้นที่เศรษฐกิจ ดังนั้น ควรใช้กลไกทางการเมือง การฑูต เข้าไปบูรณาการแก้ไขปัญหาร่วมกัน รวมถึงให้มีการจัดระเบียบของเมืองทางกายภาพ วางแนวทางน้ำไหลตามระดับสูงต่ำ เพื่อป้องกันน้ำท่วมในพื้นที่เศรษฐกิจ รวมทั้งจัดทำคลองระบายน้ำและคลองส่งน้ำร่วมกัน เพื่อแก้ไขปัญหาการระบายน้ำแบบบูรณาการทั้งในฤดูแล้งและฤดูฝน นอกจากนี้ ขอให้นำวิธีการแก้ไขปัญหาที่ประสบความสำเร็จในพื้นที่ขนาดเล็ก เช่น การจัดการน้ำชุมชนนอกเขตชลประทาน มาประยุกต์ใช้กับพื้นที่ที่มีให้มากขึ้นและขนาดใหญ่ขึ้น (Scale Up) ประกอบกับนำเทคโนโลยีและเครื่องมือที่ทันสมัยมาปรับใช้ประกอบ ตลอดจนมีการติดตามและประเมินผลอย่างต่อเนื่อง โดยให้ประชาชนในพื้นที่มีส่วนร่วม    และ ทบทวนและจัดลำดับความสำคัญของโครงการด้านการบริหารจัดการน้ำ (Prioritization)

ซึ่งหากถอดจากโมเดลข้อเสนอของหาการค้าไทย รัฐบาลสามารถนำไปปรับใช้บูรณาการการแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืนได้