ข้อมูลจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน หรือบีโอไอ ระบุถึง 7 เทรนด์สำคัญที่กำลังจะเปลี่ยนโฉมหน้าของอุตสาหกรรมอาหารในอนาคต โดยสรุปดังนี้

“1. โภชนาการที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล : การเก็บข้อมูลอย่างละเอียดเกี่ยวกับก็จกรรมทางกาย พฤติกรรมการนอนหลับ และข้อมูลทางพันธกรรมช่วยให้การแนะนำโภชนาการตอบโจทย์ความต้องการส่วนบุคคลมากขึ้นการพิมพ์อาหารแบบ 3D ยังเป็นเทคโนโลยีที่น่าจับตามอง เพราะคือการใช้วัตถุดิบที่กินได้

2. เกษตรกรรมไฮเทค : ฟาร์มแนวตั้งและไฮโดรโพนิกส์กำลังเปลี่ยนโฉมการผลิตอาหารในเมืองใหญ่ ช่วยให้เราสามารถผลิตผักสดและพืชต่างๆ ภายในพื้นที่จำกัดได้ ลดการพึ่งพาห่วงโซ่อุปทานที่ซับซ้อนและยาวนาน ลดการใช้น้ำและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากการขนส่งอาหารในระยะไกลนอกจากนี้ ฟาร์มที่ใช้หุ่นยนต์ในการเก็บเกี่ยวผลผลิตยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต

3. นวัตกรรมอาหารเปลี่ยนโลก : เทคโนโลยีใหม่สร้างอนาคตที่ยั่งยืนการเติบโตของอาหารจากพืชและเนื้อสัตว์ที่เพาะเลี้ยงในห้องทดลอง (Plant-Based and Lab-Grown Foods) กำลังสร้างกระแสใหม่ใหม่ในอุตสาหกรรมอาหาร การเกษตรแบบฟื้นฟู (Regenerative Agriculture) ก็เป็นอีกหนึ่งนวัตกรรมที่กำลังได้รับความนิยม รวมถึงการใช้จุลินทรีย์และเทคโนโลยีชีวภาพในเชิงอุตสาหกรรม ที่เรียกว่า เศรษฐกิจชีวภาพและการใช้จุลินทรีย์ (MicrobialBioeconomy)

4. การผสานรสชาติท้องถิ่นและสากล : อาหารฟิวชั่น กลายเป็นแนวทางที่ได้รับความนิยม อาหารที่ผสมผสานวัตถุดิบท้องถิ่นเข้ากับวิธีการปรุงอาหารสากลไม่เพียงสร้างความแปลกใหม่ ช่วยสร้างความเป็นเอกลักษณ์ให้ผลิตภัณฑ์ได้และยังช่วยส่งเสริมเศรษฐกิจท้องถิ่น

5. อาหารฟังก์ชัน : ผลิตภัณฑ์อาหารที่มีคุณสมบัติในการเสริมสุขภาพจิตกำลังเป็นที่ต้องการมากขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มผู้บริโภคที่มองหาอาหารที่ช่วยปรับสมดุลอารมณ์และลดความเครียด ส่วนผสมเช่น อะแดปโตเจนส์ (Adaptogens) กำลังเป็นที่นิยมในผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม

6. เพิ่มความมั่นใจด้วยเทคโนโลยี : เทคโนโลยีอย่างบล็อกเช่น (Blockchain) และปัญญาประดิษฐ์ (AI) มีบทบาทสำคัญในการสร้างความไว้วางใจ ช่วยให้ผู้บริโภคสามารถตรวจสอบข้อมูลการผลิตได้ตั้งแต่ต้นทางจนถึงมือผู้บริโภค

7. ดิจิทัลและระบบอัตโนมัติ : ช่วยลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพอย่างมหาศาล การคาดการณ์ปริมาณวัตถดิบ การจัดการการขนส่ง และการลดของเสียเป็นไปได้อย่างแม่นย่าด้วยเทคโนโลยีเหล่านี้ สายการผลิตที่ไร้คนขับเคลื่อนด้วยหุ่นยนต์และ AI ช่วยให้การผลิตอาหารรวดเร็วและมีคุณภาพมากขึ้น”

จากข้อมูลดังกล่าว น่าจะเป็นประโยชน์สำหรับกลุ่มผู้ประกอบการธุรกิจอาหาร หากแต่ปัญหาภัยพิบัติและภาวะโลกร้อนต่างๆ ที่ยกระดับความรุนแรงขึ้นทุกวัน จึงขอกระตุ้นเตือนภาครัฐและผู้เกี่ยวข้องให้เตรียมรับมืออนาคต ป้องกันและลดความเสี่ยงที่จะเกิดวิกฤติอาหาร เพื่อให้เกิดความมั่นคงอย่างยั่งยืน