24 มิถุนายน 2475 ปฏิวัติสยาม คณะราษฎรก่อปฏิวัติยึดอำนาจจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อบังคับให้พระราชทาน 92 ปีผ่านไป เราได้เห็นการเปลี่ยนแปลง หรือ วิวัฒนาการของประชาธิปไตยมาเป็นลำดับ ส่วนจะใกล้เคียงกับคำว่าประชาธิปไตย หรือถอยหลังลงคลองนั้น ก็สุดแท้แต่จะมองจากมุมใด ซึ่งหลักการประชาธิปไตย ที่มีผู้ให้นิยามไว้มากมายนั้น
กระนั้นเนื่องในวันเปลี่ยนแปลงการปกครอง ขออัญเชิญพระราชดำรัสของ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เมื่อครั่งเสด็จฯไปทรงดนตรีที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2521 ตอนหนึ่งว่า
“คำว่า พอสมควรนั้นเป็นหัวใจของประชาธิปไตย เพราะว่าการเลือกตั้งก็ตาม หรือการถกเถียงอะไรทุกสิ่งทุกอย่างก็ตาม ต้องได้ผลพอสมควรทั้งนั้น ถ้าไม่ได้ผลพอสมควร ได้ผลร้อยเปอร์เซ็นต์ เชื่อได้ เพราะทุกคนมีผลประโยชน์มีความต้องการแตกต่างกัน และก็มีเสรีภาพ ความแตกต่างนั้นอาจทำให้เบียดเบียนกันได้ก็ต้องมีผลสมควร จึงจะมีความเรียบร้อย มีความเงียบสงบ แต่ถ้าแต่ละคนเห็นแก่ตัว มีแต่จะเอาผลเต็มที่สำหรับตัว เชื่อว่าอีกคนหนึ่งเขาก็เดือดร้อนประชาธิปไตยหรือความเป็นอยู่ของสังคมของชาติอยู่ที่แต่ละคนมีความสุขพอสมควร จะได้ไม่เบียดเบียนกันอย่างเปิดเผย ก็หมายความว่าทุกคนก็ต้องร่วมมือช่วยกันทำ ตัวใครตัวมันก็ไม่ได้ ก็ต้องถือเป็นหลักว่าเราต้องช่วยทำ ผู้ที่มีความคิดความรู้ก็ควรที่จะคิดให้มากหน่อย แล้วก็ พยายามที่จะจัดการหรือทำให้เปลี่ยนแปลงในทางที่ดีพอ สมควร
หลักสำคัญของประชาธิปไตยแบบนี้ อาจไม่ใช่หลักของประชาธิปไตยของอเมริกา หรือของอังกฤษ หรือของฝรั่งเศสหรือของจีนแดง พวกนั้นทุกฝ่ายเขามีหลักประชาธิปไตยทั้งนั้น
เขาเป็น Democracy ทั้งนั้น บางทีทางกลุ่มฝ่ายแดง ฝ่ายคอมผิวนิสต์เขาเรียกว่าประชาธิปไตยของประชาชน ส่วนอีกฝ่ายเขาก็เรียกว่าประชาธิบไตยเสรีประชาธิปไตย แต่เรื่องอะไรก็ตามเราก็อาจไม่จำเป็นที่จะเอาอย่างเขาก็ได้ ประชาธิปไตยนั้นที่แท้ก็คือประเทศที่มีประชาชนมีความคิดมีความพิจารณาที่รอบคอบเพื่อให้บ้านเมืองมั่นคงให้บ้านเมืองอยู่โดยไม่เบียดเบียนซึ่งกันและกัน แล้วก็เชื่อว่ามีทางที่จะปฏิบัติได้ โดยเฉพาะเมืองไทย ซึ่งแม้แต่จิตใจของประชาชนก็ไม่เหมือนกับประชาชนของประเทศอื่น อย่างนักศึกษาเองก็มีความคิดที่ดี ได้พิสูจน์แล้วว่าได้ช่วยดูแลเกี่ยวกับการเลือกตั้งมาแล้ว” (พระราชอารมณ์ขัน โดยวิลาศ มณีวัต หน้า 45-48)