ชัยวัฒน์ สุรวิชัย พระรัชทายาท ขึ้นครองราชย์ เป็นสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 ขั้นตอนที่เหลือ สำหรับ พระรัชทายาท จะขึ้น สืบราชสันติวงศ์ 1. เป็นหน้าที่ประธานสนช. ต้องขอพระราชทานอัญเชิญให้สมเด็จพระรัชทายาท ขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์ เมื่อทรงรับก็จะมีการออกประกาศให้ประชาชนได้ทราบว่า บัดนี้ประเทศไทยมีสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว หรือ กษัตริย์พระองค์ใหม่แล้ว ซึ่งจะเรียกว่า สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 2. มีพระราชพิธีบรมราชาภิเษก เป็น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เป็นเรื่องปกติ สำหรับ การที่มีช่วงเวลา ของการรอคอยการสถาปนาเป็นพระมหากษัตริย์ ได้รับทราบ จากผู้หลักผู้ใหญ่ของบ้านเมืองว่า ในช่วงของการเปลี่ยนผ่านจากรัชกาลที่ 8 มาเป็นรัชกาลที่ 9 ที่ต้องรีบดำเนินการทันที ( ในวันเดียวกัน ) เพราะในช่วงนั้น มีความจำเป็นของสถานการณ์บ้านเมือง แต่ในสภาพปัจจุบัน ประเทศไทยมีความมั่นคง ไม่มีความจำเป็นรีบด่วน และที่สำคัญ เป็นพระราชบัณฑูรของพระรัชทายาท ที่ได้ทรงพิจารณาถึงความเหมาะสมของช่วงเวลาการเปลี่ยนผ่าน “ พระองค์ทรงได้รับแต่งตั้งเป็นพระรัชทายาทอยู่แล้วในปัจจุบัน แต่ในระยะเวลานี้ทรงขอเวลาทำพระทัยร่วมกับประชาชนไปก่อน กำหนดการสืบราชสมบัติตามกฎหมายนั้นให้เป็นไปตามความเหมาะสมในภายหลัง “ ซึ่งเป็นการแสดงออกถึงพระวิจารณญาณที่โดดเด่น ที่ได้รับคำชื่นชมจากบุคคลต่างๆมากมาย ในหลวงรัชการที่ 9 ก็ต้องเริ่มต้น จากไม่มีอะไร ต้องสร้างพระบารมีขึ้นมาด้วยพระองค์เอง เพราะ ในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข พระมหากษัตริย์ ไม่ได้ทรงมีอำนาจใดๆ เป็นองค์พระประมุขของประเทศ และพระบารมีที่ได้เกิดขึ้น ในช่วง 70 ปี แห่งการครองราชย์ ทุกสิ่งทุกอย่างที่ทรงสร้างขึ้น หัวใจสำคัญ คือ การคิดและทำเพื่อประชาชนของพระองค์ พระราชกรณียกิจ พระบรมราโชวาท พระราชดำรัส ของในหลวง จะเป็นแบบอย่างที่ดีและวิเศษสุด ในการดำเนินรอยตาม โดยเฉพาะ พระปฐมบรมราชโครงการ “ เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม “ ( 5 พฤษภา 2493 ) ช่วง หกเดือน ที่ผ่านมา มีหลายเรื่อง ที่พระบรมฯ ได้ทรงแสดงออกอย่างเหมาะสมยิ่ง - การจัดการบุคลากร ที่เกี่ยวข้องกับสถาบันฯ ให้เหมาะสม โดยการส่งเสริมคนดีและขจัดคนไม่ดี - การแต่งตั้งบุคคลสำคัญขึ้นดำรงตำแหน่งสำนักพระราชวัง ได้อย่างเหมาะสม (ดร.จิรายุนั้น ควบทั้งตำแหน่ง เลขาธิการพระราชวัง และ ผู้อำนวยการสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ซึ่งประเด็นนี้มีคำอธิบายว่า ทั้งสองตำแหน่งสามารถดำรงโดยบุคคลเดียวกันได้ เพราะมีการควบตำแหน่งเช่นนี้มาหลายยุคสมัย นับแต่เปลี่ยนแปลงการปกครองมาแล้ว) - การมีพระราชบัณฑูร ให้ชะลอการสถาปนาเป็นพระมหากษัตริย์ ในช่วงที่ประชาชนยังเศร้าโศก จากการสวรรคตของในหลวง รัชการที่ 9 - การที่มีสิ่งใหม่ ที่ให้มีการเริ่มทำงานในส่วนที่เกี่ยวข้องกับประชาชนอย่างทันท่วงที่เดิม การประชุมรัฐสภา ( สนช. ) ได้ถูกประกาศว่า “ จะไม่มีการประชุม จนกว่า จะมีการสถาปนาฯ “แต่หลังจาก การมีพระบัณฑูร ต่อ นายกประยุทธ และผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน เปรม ตินสูรานนท์ ประธานสนช เริ่มประชุม 27 ตุลา 2559 การประชุมครม . และการผ่อนคลาย รายการทางทีวี วิทยุฯ - ทรงมีพระราชดำรัส ต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เกี่ยวกับ การบริการให้ความสะดวกแก่ประชาชนที่มุ่งมาถวายพระเกียรติต่อ ในหลวงรัชการที่ 9 ที่ท้องสนามหลวง และพระมหาราชวัง เพื่อถวายบังคมพระศพฯ - การมอบหมายงานที่สำคัญในงานราชพิธีให้แก่ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา ฯลฯ ภารกิจที่สำคัญ ต่อไปในหน้าที่ของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระองค์ใหม่ ซึ่งเป็นเรื่องที่รีบด่วน ที่ทรงจะต้องดำเนินการ เพื่อการแก้วิกฤตของประเทศ - การลงพระปรมาภิไธยในรัชธรรมนูญ ฉบับลงประชามติ - การแต่งตั้ง องค์มนตรี - การเป็นพระมหากษัตริย์ของประชาชนไทย ฯลฯ ช่วงเวลาที่เหมาะสม ที่จะทรงรับเป็นพระมหากษัตริย์ ที่สอดคล้องกับสถานการณ์ 1. รัฐธรรมนูญ ต้องนำร่างรัฐธรรมนูญที่ จะส่งมาต้นเดือนพฤศจิกายนขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย ภายในสามสิบวัน ซึ่งต้องอยู่ภายในต้นเดือนธันวาคม 2559 พระมหากษัตริย์จะมีเวลาที่จะทรงพระวินิจฉัย ใน เก้าสิบวัน 2. เพื่อจะให้ แผนงานตามโรดแมปของรัฐบาล ได้เป็นไปตามสัญญาประชาคม ต่อคนในชาติต่างประเทศ และที่สำคัญ จะได้ทำให้เกิดการขับเคลื่อนก้าวต่อไปข้างหน้า เพื่อให้สามารถแก้ไขวิกฤตของชาติ ซึ่งเป็น ความปรารถนาของประชาชน และของในหลวง รัชกาลที่ 9 3. น่าจะเป็นเวลาที่ก่อนวันสำคัญที่เกี่ยวข้อง คือ วันที่ 5 ธันวาคม 2559 วันพระราชสมภพของในหลวง รัชกาลที่ 9 ที่ถือเป็นวันชาติด้วย ฯลฯ พิจารณาโดยภาพรวมแล้ว น่าจะลงตัว ในวันพฤหัสบดี ที่ 1 ธันวาคม 2559 ซึ่งจะเป็นวันครบ 50 วัน หากนับจากวันที่ 13ตุลาคม ที่เป็นวันสวรรคตของในหลวง รัชกาลที่ 9 พระราชประวัติ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชสมภพ ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต เมื่อวันจันทร์ที่ 28 กรกฎาคม 2495 เวลา 17.45 น. ทรงมีพระนามเดิมว่า สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าวชิราลงกรณ บรมจักรยาดิศรสันตติวงศ เทเวศรธำรง สุบริบาล อภิคุณูประการมหิตลาดุลเดช ภูมิพลนเรศวรางกูร กิตติสิริสมบูรณ์สวางควัฒน์ บรมขัตติยราชกุมาร ทรงเป็นพระราชโอรสเพียงพระองค์เดียว ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามมินทราธิราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ จากนั้นทรงศึกษาระดับอนุบาลที่พระที่นั่งอุดร พระราชวังดุสิต และทรงเข้ารับการศึกษาระดับประถมศึกษาและระดับมัธยมศึกษา ที่โรงเรียนจิตรลดา ระหว่างปี 2499-2505 รวมถึงที่ประเทศอังกฤษ ระหว่างปี 2509-2513 ก่อนทรงเข้าศึกษาระดับเตรียมทหารที่โรงเรียนคิงส์ นครซิดนีย์ แล้วทรงเข้ารับการศึกษาระดับอุดมศึกษา ทรงได้รับปริญญาอักษรศาสตร์บัณฑิต (การศึกษาด้านทหาร) คณะการศึกษาด้านทหาร จากมหาวิทยาลัยนิวเซาเวลล์ ประเทศออสเตรเลีย เมื่อ 2519 นอกจากนี้ ยังทรงศึกษาที่โรงเรียนเสนาธิการทหารบก ระหว่างปี 2520-2521 ทรงได้รับปริญญานิติศาสตร์บัณฑิต มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช เมื่อปี 2530 จวบจนกระทั่งปี 2533 ยังทรงได้รับการศึกษา ณ วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร ประเทศอังกฤษ