ในช่วงวัยใกล้เกษียณ นอกจากจะต้องเตรียมตัวเตรียมใจให้พร้อม ภาระทางการเงินต่างๆก็จำเป็นต้องวางแผนระยาวอย่างรอบคอบและเตรียมพร้อมรับมือกับปัจจัยเสี่ยงต่างๆ โดยเฉพาะภาระหนี้สิน ที่ไม่มีใครอยากเกษียณไปแล้วยังคงมีหนี้ท่วมหัว
เพจทางการธนาคารแห่งประเทศไทย เผยกฎเหล็กสำคัญ 3 ข้อสำหรับคนวัย 50 + ต้องทำคือการไม่เพิ่ม “ภาระหนี้” เพราะเหลืออีกไม่กี่ปีก็เกษียณแล้ว ไม่ค้ำประกันใคร ไม่ก่อหนี้ใหม่ ไม่ไปเป็นลูกหนี้ร่วม ไม่ปล่อยปัญหาหนี้บานปลาย หากจ่ายไม่ไหว ให้รับเจรจากับเจ้าหนี้
ส่วนถ้าใครยังมีปัญหาหนี้สินที่ยังค้างคาอยู่ ต้องรีบหาทางแก้ไขให้จบโดยเร็ว ลองเจรจากับเจ้าหนี้เพื่อหาทางออกร่วมกัน
ทั้งนี้เว็บไซต์ธนาคารแห่งประเทศไทย ยังให้แนวทางแก้ปัญหาหนี้ 2 แนวทาง คือ ขอปรับโครงสร้างหนี้ ตั้งแต่ยังไม่เป็นหนี้เสีย
- ครอบคลุมทั้งลูกหนี้รายย่อย และ SMEs เช่น สินเชื่อบ้าน บัตรเครดิต สินเชื่อส่วนบุคคล สินเชื่อเพื่อประกอบอาชีพ (Nano finance) สินเชื่อจำนำทะเบียนรถ
- ขอปรับโครงสร้างหนี้ได้ทั้งก่อนเป็นหนี้เสีย (non-NPL) และหลังเป็นหนี้เสีย (NPL)
- หากเป็น NPL มีเวลาให้พิจารณาแผนปรับโครงสร้างหนี้ อย่างน้อย 60 วัน ก่อนถูกโอนขายหนี้
- วิธีปรับโครงสร้างหนี้ เช่น ขยายระยะเวลาผ่อน ลดอัตราผ่อนจ่ายช่วงแรก จะพิจารณาโดยเจ้าหนี้ ตามความสามารถชำระหนี้และเงินคงเหลือดำรงชีวิต และเข้าโครงการคลินิกแก้หนี้
- แก้หนี้เสีย บัตรเครดิต บัตรกดเงินสด และสินเชื่อส่วนบุคคล ที่ค้างชำระเกิน 120 วัน
- รวมแก้หนี้ในครั้งเดียวได้ หากมีเจ้าหนี้หลายแห่ง ยอดหนี้รวมไม่เกิน 2 ล้านบาท
- ลดดอกเบี้ย เหลือ 3%-5% ต่อปี และเปลี่ยนเป็นผ่อนจ่ายรายงวด สูงสุด 10 ปี
- ลูกหนี้ต้องมีรายได้ อายุไม่เกิน 70 ปี และไม่เป็นบุคคลล้มละลาย
อย่างไรก็ตาม หลักการดังที่กล่าวมาข้างต้นนั้น ไม่จำเป็นต้องรอให้อายุถึง 50 + ค่อยทำแต่จำเป็นต้องเริ่มทำไม่ว่าจะมีอายุเท่าไหร่ หากเริ่มมีภาระหนี้