ทัศนะของนักเศรษฐศาสตร์ไทยหลายท่านอาจจะมองว่า นายโดนัลด์ ทรัมป์ ว่าที่ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาคนที่ 45 มีแนวคิดต่อต้านโลกาภิวัตน์ anti globalization
ซึ่งถ้ามองเรื่อง “โลกาภิวัตน์” ในกรอบแคบ ว่าคือแนวทางที่ประเทสทุนนิยมศูนย์กลางกำลังผลักดันจัดระเบียบโลกทางเศรษฐกิจกันอยู่ ก้อาจจะใช่ ที่นายโดนัลด์ ทรัมป์ มีแนวคิดต่างไป
แต่ถ้ามองในกรอบกว้างว่า โลกาภิวัตน์ก็เป็นผลสืบเนื่องจาก “การปฏิวัติอุตสาหกรรม” ทื่สร้างระบอบเศรษฐกิจทุนนิยมขึ้นมา จนกระทั่งพัฒนามาจนถึงสภาพปัจจุบันนี้ คือ ประเทสทุนนิยมศูนย์กลางต้องการเป็นมหาอำนาจโลกในทุกด้าน โดนัลด์ ทรัมป์ ก็คือตัวแทนแนวคิดของชาวอเมริกันที่ต้องการเป็นจ้าวโลกอยู่เหมือนเดิม เพียงแต่ว่า สถานการณืเร่งด่วนของภาวะเศรษฐกิจอเมริกานั้นคือ จะต้องเร่งฟื้นฟูอำนาจทางเศรษฐกิจของชาติตนให้เกรียงไกรเหมือนช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง
ภาวะ “โลกาภิวัตน์” นั้นเป็นปรากฏการณ์ทางเศรษฐกิจเท่านั้น ไม่ใช่ “อุดมการณ์” ใหม่ที่จะสามารถแทนที่อุดมการณ์ “ชาตินิยม” และ “ศาสนานิยม” ได้
ความก้าวหน้าของเทคโนโลยี IT เพียงแต่เปลี่ยนแปลงรูปแบบกิจกรรมของมนุษย์บางด้านเท่านั้น มันมิได้เปลี่ยนแปลง “สันดาน” และ “อุดมการณ์” ของมนุษย์
เมื่อปรากฏการณ์โลกาภิวัตน์ก้าวย่างเข้ามาใหม่ ๆ นั้น นักคิดนักเขียนหลายคนเสนอแนวคิดว่า มันจะสร้างโลกใหม่ที่จะละลายลัทธิชาตินิยม และความขัดแย้งระหว่างประเทสมหาอำนาจลงได้ แต่ในความเป็นจริง โลกาภิวัตน์ขณะนี้กำลังเผชิญปัญหาจากลัทธิชาตินิยมอยู่ทั่วโลก ดินแดนเล็กดินแดนน้อย ชาติเผ่าพันธุ์ มากมายตื่นตัวเรียกร้อง และบางจุดก็ทำสงครามแบ่งแยกดินแดนไปแล้ว ส่วนกระแสศาสนานิยมเรากเห็นปัญหามากมายในตะวันออกกลาง
อันที่จริงแล้ววาทกรรมชาตินิยมเป็นพลังแท้จริงที่ขับดันการเติบโตของทุนนิยมในรอบสองร้อยปีมานี้ และแนวคิดชาตินิยมก็ยังรุนแรงชัดแจ้งอยู่ในหลายประเทศ เช่น จีนและอินเดียในขณะนี้
โดนัลด์ ทรัมป์ ชนะการเลือกตั้งเพราะกระแสชาตินิยม !
ที่จะฟื้นความเกรียงไกรทางเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกากลับมา
สมรภูมิโลกจึงจะเปลี่ยนจากสนมรบเพื่อดัดแปลงจัดระเบียบโลกใหม่ด้วยสงครามอาวุธ ไปเป็นสงครามที่ไม่หลั่งเลือด แต่ก็รุนแรง นั่นคือ สงครามการค้า และสงครามการเงิน
ปรากฏการณ์นี้มิได้เริ่มต้นในการแข่งขันเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐรอบนี้ หากแต่มันคุกรุ่นและเกิดขึ้นจริงในประเทศทันนิยมศูนยืกลางหลายประเทศแล้ว เช่น กรณี “เบร็คซิท” ที่อังกฤษ
การต่อต้านโลกาภิวัตน์โดยชูธงชาตินิยมเกิดขึ้นในประเทศพัฒนาแล้ว อย่าง อังกฤษ ฝรั่งเศส เนเธอร์แลนด์ สหรัฐอเมริกา แบบอย่างชัดแจ้งและสะดุดตามากกว่าในประเทศกำลังพัฒนา ประเทศเล็ก ๆ เสียอีก
จอห์น เกรย์ John Grey เขียนไว้หลายปีแล้วว่า “กระแสชาตินิยมในอเมริกาอาจกำลังเบรกโลกาภิวัตน์ ในทางกลับกัน กระแสชาตินิยมเป็นหนึ่งในพลังขับเคลื่อนดลกาภิวัจน์ในประเทศกำลังพัฒนาในเอเชีย กระแสชาตินิยมที่รุนแรงกว่าเดิม และความขัดแย้งท่งการเมืองระหว่างรัฐชาตินั้น เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการโลกาภิวัตน์” (บทความเรื่อง The world is round ของ John Grey)
น่าห่วงที่ยังมีพวกมองโลกสวยกับ “โลกาภิวัตน์” อยู่มาก