เริ่มต้นสัปดาห์แห่งความรัก ที่รับช่วงต่อจากเทศกาลตรุษจีนที่ผ่านมา บรรยากาศอบอวลไปด้วยความรัก การจับจ่ายใช้สอยซื้อสินค้าและของที่ระลึกเพื่อคนรัก และครอบครัวเพื่อแสดงความรักต่อกัน ทั้งในโลกออนไลน์ และออนไซต์
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 ว่า เป็นคำกริยา “มีใจผูกพันด้วยความห่วงใย เช่น พ่อแม่รักลูก รักชาติ รักชื่อเสียง, มีใจผูกพันด้วยความเสน่หา, มีใจผูกพันฉันชู้สาว, เช่น ชายรักหญิง, ชอบ เช่น รักสนุก รักสงบ”
หนังสือชื่อ “LOVE IS …นิยามรัก 2015” ให้ความหมายของคำว่า “ความรัก” คือ ปฏิสัมพันธ์ทางอารมณ์ ที่เกิดขึ้นระหว่างคนสองคน (LOVE is an emotional attachment) และจากทฤษฎี การเรียนรู้ แม้บางทีดูเหมือนจะไม่มีเหตุผล แต่หากเมื่อความรักบังเกิดขึ้นแล้วก็เข้าใจซึ่งกันและกันได้ (LOVE is not always reasonable, but rational) (ที่มา:เว็บไซต์สถาบันราชานุกูล กรมสุขภาพจิต)
โรเบิร์ต สเติร์นเบิร์ก อาจารย์ภาควิชาจิตวิทยาประจำมหาวิทยาลัยเยล อธิบายองคประกอบของความรักตาม “ทฤษฎีสามเหลี่ยมแห่งความรัก” ได้แต่ ความใกล้ชิด ความหลงใหล และความมุ่งมั่น
1.ความใกล้ชิด เป็นความรู้สึกร่วมกันที่ผูกพัน คุ้นเคยระหว่างคนสองคน และมีแนวโน้มที่จะกระชับความสัมพันธ์กันและกัน
2.ความหลงใหล คือตื่นตัวทางกายหรือการกระตุ้นทางอารมณ์ความรู้สึกทางเพศหรือโรแมนติกที่รุนแรงต่อใครบางคน
3.ความมุ่งมั่น หรือพันธกรณีที่มีต่อกัน เป็นการตัดสินใจที่จะผูกมัดซึ่งกันและกัน หรือทำสัญญาว่าจะอยู่ร่วมกัน ซึ่งขึ้นอยู่กับระดับความพึงพอใจและสถานการณ์ของคู่รัก เช่น สัญญาว่าจะทำหรือให้บางสิ่งบางอย่าง คำสัญญาว่าจะภักดีต่อบางคนหรือบางสิ่งบางอย่าง
ทว่าในช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา สังคมไทยให้ความสนใจกับคดีฆาตกรรมที่มีชนวนเหตุเกิดจากความรัก ที่ชู้รักของภรรยาของผู้ตาย เป็นผู้ก่อเหตุฆาตกรรมขึ้น ที่ขณะเขียนต้นฉบับอยู่นี้ ยังไม่มีรายงานสรุปถึงเหตุจูงใจที่แท้จริงของฆาตรกร
แม้จะมีมุมมีดของอาชญากรรมที่มาจากความรักอยู่มากมาย ไม่ว่าจะเป็นการหลอกให้รัก หลอกให้โอนเงินคือ Romance Scam หลอกให้รักแล้วชวนร่วมลงทุน หลอกให้รักแล้วกักขังหน่วงเหนียวข่มขืนใจ ทำร้ายร่างกายก็มี
ฉะนั้นก่อนที่จะปล่อยอารมณ์ความรู้สึกกับไปกับใคร ควรศึกษาให้ดี ตรวจสอบหลายชั้นเพื่อป้องกันไม่ให้รักกลายเป็นร้าย