มาต่อกันเรื่องเทรนด์ “ซื้อก่อน จ่ายทีหลัง” หรือ Buy Now Pay Later ( BNPL) ซึ่งกำลังเป็นที่นิยมทั่วโลก และในประเทศไทย
โดยจากผลสำรวจแนวโน้มพฤติกรรมการใช้เงินแบบซื้อก่อนจ่ายทีหลังในกลุ่มประชาชน ที่มีอายุระหว่าง 15 – 55 ปี ครอบคลุม 11 จังหวัด ที่จัดทำโดยสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ร่วมกับบริษัท ศูนย์วิจัยเพื่อการพัฒนาสังคม และธุรกิจ จำกัด (SAB)
พบว่า มีผู้ที่เคยใช้บริการ BNPL ประมาณร้อยละ 23.1 ของผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมด ส่วนใหญ่เป็นกลุ่ม Gen Y (อายุ 28 – 45 ปี) ซึ่งมี สัดส่วนร้อยละ 60.1 รองลงมาเป็นกลุ่ม Gen Z (อายุ 15 – 27 ปี) ร้อยละ 26.4 และกลุ่ม Gen X (อายุ 46 – 55 ปี) ที่มีสัดส่วนร้อยละ 13.5
สำหรับช่องทางในการใช้บริการ BNPL พบว่า ร้อยละ 78.9 ใช้จ่ายผ่านช่องทางออนไลน์ โดยสินค้าหลัก ที่นิยมซื้อ คือ สินค้าเทคโนโลยี และเครื่องใช้ไฟฟ้า/เฟอร์นิเจอร์ สำหรับราคาสินค้าที่ผู้ใช้บริการ BNPL ผ่อนช าระ อยู่ที่ประมาณ 7,500 บาท
ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาสถานะทางการเงินของกลุ่มผู้ใช้บริการทางการเงิน พบว่า ร้อยละ 37.0 เป็นกลุ่มที่มีรายได้ต่ำกว่า 15,000 บาท ซึ่งเหตุผลที่เลือกใช้บริการ BNPL ร้อยละ 34.6 ระบุว่า มีขั้นตอนการสมัคร ที่ง่ายและอนุมัติไว รองลงมาคือการไม่มีดอกเบี้ยและไม่มีค่าธรรมเนียมที่ร้อยละ 19.4
จากผลสำรวจ ระบุว่าผู้ใช้บริการ BNPL เกือบทั้งหมดไม่เคยผิดนัดชำระในรอบ 6 เดือนที่ผ่านมา คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 96.2 มีเพียงร้อยละ 3.1 เคยผิดนัดชำระ แต่ช าระแล้ว ส่วนผู้ที่ยังผิดนัดชำระอยู่มีสัดส่วนเพียงร้อยละ 0.7 เท่านั้น
ในรายงานภาวะสังคมไทย ไตรมาส 3 ปี 2566 ของสำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ วิเคราะห์ผลการสำรวจข้างต้น แม้จะชี้ให้เห็นว่าการใช้บริการ BNPL ในปัจจุบันยังอาจไม่พบปัญหามากนัก เพราะยังมีสัดส่วนผู้ใช้บริการไม่มาก และผู้ใช้บริการส่วนใหญ่สามารถจ่ายชำระหนี้คืนได้ อย่างไรก็ตาม ผลสำรวจ ยังสะท้อนถึงความเสี่ยงที่จะเกิดปัญหาได้
กรณีแรกคือ เด็ก Gen Z ที่มีรายได้ต่ำกว่า 15,000 บาท ใช้บริการ BNPL มากกว่าครึ่ง ซึ่งส่วนใหญ่ใช้จ่าย ไปกับเสื้อผ้า รองเท้า และเครื่องประดับ โดยกลุ่ม Gen Z ที่ใช้บริการ BNPL ร้อยละ 63.3 มีรายได้ต่ำกว่า 15,000 บาท แบ่งเป็นผู้มีรายได้ต่ำกว่า 10,000 บาท ร้อยละ 36.7 และรายได้ระหว่าง 10,001 – 15,000 บาท ร้อยละ 26.7 สูงกว่าสัดส่วนของผู้ใช้ Gen Y และ Gen X ซึ่งกลุ่ม Gen Z กว่าร้อยละ 38.0 ใช้บริการ BNPL ในการซื้อ สินค้าจำพวกเสื้อผ้า รองเท้า และเครื่องประดับ สะท้อนให้เห็นถึงพฤติกรรมเสี่ยงของเด็กรุ่นใหม่ที่อาจก่อหนี้เกินตัวในอนาคต (อ่านต่อฉบับหน้า)