รัฐบาลไทยในอดีตยาวนานนำทางพัฒนาเศรษฐกิจประเทศไทยเสียสมดุลระหว่างเกษตรกรรมกับอุตสาหกรรม จึงเกิดปัญหาความเหลื่อมล้ำ กลายเป็นปัญหาสังคมปัญหาใหญ่ โดยเฉพาะในช่วงยี่สิบกว่าปีก่อน ที่รัฐบาลไทยเลือกแนวทางจะสร้างประเทศเป็น “นิค Nictประเทศอุตสาหกรรมใหม่
ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช ได้ชี้เตือนปัญหาล่วงหน้าไว้แล้ว โดยปาฐกถาเรื่อง “หากไทยเป็นนิค คนไทยจะได้อะไร?” ในงานสัมมนาทางวิชาการของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2532 ว่าหากพัฒนาอุตสาหกรรมโดยไม่แก้ปัญหาราคาพืชผลเกษตรกรรมอันเป็นสินค้าปฐมภูมิก็จะก่อปัญหาในชนบทหนักหน่วง สรุปคำเตือนดังนี้
“ในการพัฒนาทางอุตสาหกรรมนั้น มาตรฐานชีวิตในเมืองเริ่มจะเปลี่ยนไปแล้ว แต่ในชนบทของเมืองไทยนั้นยังคงพออยู่ในระดับเก่าได้บ้าง แต่ก็ไม่แน่ว่าจะอยู่ได้นานนัก...
อันนี้เป็นปัญหาใหญ่ เพราะการพัฒนาทางอุตสาหกรรมนั้น ทำให้เกิดรายได้เพิ่มเมื่อเราเห็นข้อเท็จจริงอย่างนี้แล้ว ก็แสดงว่ารายได้ของคนในกรุงเทพนั้นเพิ่ม แต่คนในบ้านนอก คนในชนบทไม่เพิ่ม เวลานี้มันอยู่อย่างนี้ สภาพความเป็นจริง
ของในชนบท ของที่ผลิตได้ในชนบทเป็นสินค้าปฐมภูมิ คือไพรมารี โพรดัคส์ (Primary Products) พืชพันธุ์ธัญญาหารต่าง ๆ ราคาไม่ขึ้น รายได้ของคนก็แตกต่างกัน คนในชนบทมีรายได้ไม่สูงขึ้นกว่าเดิม ยังอยู่ยังไงก้อยู่ยังนั้น แต่ถ้าเขาสามารถรักษามาตรฐานความเป็นอยู่ของเขาไว้ได้ เขาก็จะไม่เดือดร้อน แต่ถ้าการพัฒนาทางอุตสาหกรรมเข้าไปทำลายมาตรฐานความเป้นอยู่ของคนในชนบทแล้ว ความเดือดร้อนจะเกิด เพราะเขาจะมีรายได้ไม่พอกับชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไป”
เมื่อราคาสินค้าเกษตรปฐมภูมิ เติบโตไม่สมดุลกับด้านอุตสาหกรรม เกษตรกรก็จะยิ่งต้องเพิ่มการผลิต มีผลผลิตมากขึ้น แล้วก็ทำให้ราคาพืชผลตกต่ำลง ดังที่เราเห็นปัญหาอยู่ในขณะนี้
“..ไพรมารี โพรดัคส์ สินค้าขั้นปฐมนั้นราคาไม่ขึ้น เพราะเป็นสินค้าราคาต่ำมาแต่นานแล้ว ถึงเดี๋ยวนี้ก็ยังไม่ขึ้น ที่เป็นเช่นนี้น่ะ มันน่าจะทำให้สินค้าขั้นปฐมนั้นมีปริมาณลดลง เพราะราคามันถูกใครจะไปผลิตผู้ผลิตสินค้าเหล่านี้อาจจะไม่เห็นคุ้มในการผลิต สินค้าขั้นปฐมอาจจะลดลง
แต่ความจริงมันไม่ลด ถึงแม้ราคาจะถูก คนที่ผลิตสินค้าขั้นปฐมนั้นยังต้องการเงิน ต้องการรายได้อยู่ จึงต้องผลิตสินค้าขั้นปฐมให้มากกว่าที่เคยผลิตมาขึ้นไปเรื่อย ๆ ไม่มีที่สิ้นสุด นาเคยทำปีละหนพอกินพอใช้ เดี๋ยวนี้เสร็จแล้วมาทำสองหน เกิดมีนาปรัง เดี๋ยวนี้ทำ 3 หน 4 หน จนไม่มีขอบเขต...เพราะเหตุว่าเขาต้องการใช้เงินมาก
เมื่อข้าวมันไม่ขึ้นราคาไปมากเท่าไหร่ ก็ต้องทำข้าวให้มาก เอขายเอาเงินเป็นจำนวนกองใหญ่ ๆ มาใช้ จำนวนมาก ๆ มาใช้ มันเป็นการฟอร์ส force มันเป็นการบังคับให้ต้องทำงานมากขึ้นกว่าที่เคยทำกันมา คือในบางกรณีอาจจะเป็นการทำงานมากเกินกว่าที่ร่างกายมนุษย์จะทนได้
นี่มันก็เลยเป็นการทำลายทรัพยากรมนุษย์ลงไปเช่นเดียวกัน การพัฒนาอุตสาหกรรมในเมือง มันจะมีผลอย่างนี้”
แล้วทุกวันนี้ก็เห็นผลกันแล้ว
ชาวนาไทยผลิตข้าวได้มากจนล้น แล้วรัฐก็คิดว่าจะต้องลดการผลิต จะให้ลดการผลิตข้าว และ/หรือ หันไปผลิตสินค้าขั้นปฐมชนิดอื่น มันไม่ได้แก้ปัญหาที่แก่นแท้ เพราะสินค้าเกษตรขั้นปฐมชนิดอื่น ๆ ก็ราคาไม่ดีไปหมด รายได้เกษตรกรไม่พอกับมาตรฐานชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไปตามสังคมอุตสาหกรรม
รัฐเดินทางผิดมานาน จะกู้ฟื้นมาได้ เราเห็นทางเดียวนั้นคือ ยุทธศาสตร์เศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ