การแบกรับความกดดันในทางการเมือง ไปจนถึงการเผชิญหน้ากับ แนวรบใหม่  สำหรับ พรรคเพื่อไทย  มีแนวโน้มว่าจะยกระดับเพิ่มมากขึ้น หาก เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรมว.คลัง รวมทั้ง บิ๊ก เนม พรรคเพื่อไทย ยังประกาศชัดถอยชัดคำว่า ไม่ถอย และพร้อมจะเดินหน้าผลักดันนโยบายแจกเงินดิจิทัล 1 หมื่นบาทต่อ 

 การเปิดกระทรวงการคลัง เพื่อตั้งโต๊ะแถลงข่าว ของ จุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รมช.คลัง พร้อมคณะเมื่อวันที่ 9 ต.ค.ที่ผ่านมา  ย้ำว่า ไม่มีความคิดที่ยกเลิกนโยบายดังกล่าว เพราะได้แถลงต่อรัฐสภาไปแล้ว
 โดยระบุว่า รัฐบาลเห็นว่าประเทศมีปัญหาสะสมมานานจนทำให้ประชาชนมีความยากลำบาก ขณะที่คนต่างในต่างจังหวัดก็รอคอยนโยบายนี้ด้วยความหวัง จึงต้อง เดินหน้าทำให้สำเร็จ  และการใช้เม็ดเงินจำนวน 5.6แสนล้านบาท ที่จะขับเคลื่อนนโยบายนั้น ก็จะพิจารณาตามกรอบของกฎหมาย ภาระงบประมาณและกรอบวินัยการเงินการคลัง   อย่างแน่นอน

 อย่างไรก็ดีประเด็นใหม่ที่ ถูกจุดชนวนขึ้นมาโดยสว.ซึ่งได้มีการหารือกันในที่ประชุมวุฒิสภาเมื่อวันที่ 10 ต.ค. คือการชี้ว่า หากรัฐบาลคิดที่จะผลักดันนโยบายดังกล่าวต่อ  อาจจะสุ่มเสี่ยงขัดต่อกฎหมายรัฐธรรมนูญ ตามมา ไปจนถึงกฎหมายธนาคาร 
 ทั้งนี้ เฉลิมชัย เฟื่องคอน ชี้ว่า  เป็นโครงการที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 162 เนื่องจากไม่ชี้แจงรายละเอียด รวมถึงแหล่งที่มาของเงินที่จะนำมาใช้ และยังสุ่มเสี่ยงขัดต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 62 ที่กำหนดให้รัฐมีหน้าที่ต้องรักษาวินัยการเงินการคลังอย่างเคร่งครัด ไม่ให้กระทบต่อเสถียรภาพการเงินการคลังของรัฐ

 แรงต้านจากสว.และสส. ในพรรคต่างๆ แน่นอนว่าพรรคเพื่อไทย ย่อมยกเอาเหตุความจำเป็นและความต้องการของประชาชน ที่รอคอยเงิน 1 หมื่นบาท มาหักล้าง  ผ่านการตอบโต้ของทีมโฆษกพรรค ไปจนถึงโฆษกรัฐบาล
  
แต่อย่าลืมว่าเมื่อ ความเห็นการเสียงคัดค้านที่ดังออกมาจาก ฟากฝั่ง นักเศรษฐศาสตร์ ในกลุ่มที่ออกแถลงการณ์เมื่อสัปดาห์ก่อน อาจมีความเคลื่อนไหว ที่หลายคนกำลังจับตาว่า จะมีการ ขยับ ออกมาเป็น ภาคสอง  ระลอกใหม่ตามมาหรือไม่ ? c

 และแนวรบใหม่ที่ไม่ใช่ นักการเมือง นี่เอง อาจกลายเป็นเรื่องหนักหนา และโจทย์ใหญ่ สำหรับรัฐบาลเพื่อไทย !