แสงไทย เค้าภูไทย ข้าวกลายเป็นวิกฤตของรัฐบาลเมื่อราคาตกต่ำที่สุดในรอบ10 ปี สต็อกค้างบานเบอะ โรงสีกดราคารับซื้อ ผลผลิตล้น คู่แข่งแรงแย่งตลาด หั่นราคายับราคาข้าวผันผวนมาตั้งแต่ปี 2013 ( 2556) เหตุจากการทุ่มตลาดตัดราคาของชาติส่งออกข้าวรายใหญ่ 5 รายของโลก เป็นเอเชียถึง 4 คืออินเดีย ไทย ปากีสถานและเวียดนามอีกด้าน ค่าบาทแข็งขึ้น 3% ตั้งแต่สิ้นปีที่แล้วจนถึงเดือนตุลาคม เป็นอีกตัวการหนึ่งที่ทำให้ราคาข้าวไทยแพงกว่าเวียดนามที่ลดค่าด่องหัวปี ท้ายปี เพื่อให้ค่าเงินอ่อน เวียดนาม แย่งตลาดข้าวหอมมะลิจากไทยไปถึง 40% ซ้ำกัมพูชา ตอดไปอีก 6-10 %ทำให้ตลาดข้าวหอมมะลิที่ไทยเคยครองอยู่ 100% หลุดมือ ตกลงไปเหลือประมาณ 48-50 %ข้อตกลง ความร่วมมือสนับสนุนการค้าข้าวในภูมิภาคอาเซียนที่หนุนการพึ่งพาตนเอง ( ASEAN Rice Trade Forum to Promote Regional Cooperation on Rice Trade and Self-sufficiency) ก็เป็นอีกส่วนที่ทำให้มีการเพิ่มผลผลิตในประเทศลูกค้า ทำให้ลดการนำเข้า ทั้งนี้องค์กรเพื่อความมั่นคงด้านอาหารอาเซียน ( ASEAN Food Security Reserve Board -AFSRB) ที่ประกอบด้วย 10 ประเทศสมาชิกอาเซียนได้แก่ บรูไน ดารุสซาลาม กัมพูชา อินโดนีเซีย ลาว มาเลเซีย เมียนมาร์ ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ไทยและเวียดนาม ได้รับการสนับสนุนด้านการเงินจากกองทุนญี่ปุ่นเพื่อลดความยากจน ( Japan Fund for Poverty Reduction) ผ่านธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย (ADB) กลไกตลาดเริ่มเปลี่ยนไปเมื่อมีความพยายามลดการพึ่งพาอาหาร โดยเฉพาะข้าวจากเมียนมาร์ที่ส่งออกข้าว 70% ของผลผลิต ได้ขยายปริมาณส่งออกเป็น 80% ของผลผลิต เหตุจากส่วนเกินจากการบริโภคภายในประเทศมีมากขึ้นตลาดข้าวของพม่ากว่า 80% เป็นตลาดยุโรป ในรูปของข้าวเปลือก โดยโรงสีและพ่อค้าข้าวยุโรปจะเป็นตัวกลางกระจายข้าวสีแล้วไปสู่ตลาดประชาคมเศรษฐกิจยุโรป (EU) และแอฟริกาไทยเองก็อาศัยตลาดยุโรปในรูปแบบนี้หลายหมวดสินค้า เช่นผลิตภัณฑ์ประมง ข้าวและเนื้อไก่สดปริมาณข้าวส่งออกและราคาข้าวไทยต่ำสุดในรอบ 10 ปีเมื่อสิ้นปี 2518 ต่อเนื่องไตรมาสแรกของปีนี้ โดยสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทยเมื่อเดือนมกราคม 59 รายงานว่า แม้ภัยแล้งจะทำให้ผลผลิตข้าวไทยลดลง 4-5 ล้านตันข้าวสาร ต่ำกว่าปีก่อนหน้าถึง 40-50% แต่สต๊อกยังมีอยู่ถึง 13.5 ล้านตันข้าวสาร การที่รัฐบาลมีโยบายรับจำนำยุ้งฉาง หมายถึงรับจำนำข้าวที่มีอยู่ในยุ้งฉาง ก็เท่ากับรับจำนำข้าวของโรงสี ที่จะสรวมรอยเป็นชาวนา ขึ้นทะเบียน ร้ายยิ่งกว่าการรับจำนำข้าวจากชาวนาที่ชาวนาได้รับเงินกับมือตนเองในยุครัฐบาลยิ่งลักษณ์เสียอีก ในการนี้ นายชูเกียรต์ โอภาสวงศ์ นายกกิตติมศักดิ์ สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทยแนะว่า รัฐบาลจ่ายเงินให้ชาวนากันตรงๆถึงตัวตันละ2,000 บาทเสียเสียจะดีกว่า โดยช่วยเหลือชาวนาที่ปลูกข้าวรายละไม่เกิน 20 ไร่ จำนวน 3 ล้านครัวเรือน ใช้เงินประมาณ 40,000 ล้านบาท น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกฯ น่าจะฉวยโอกาสนี้ประกาศไม่ยอมเสียค่าปรับคดีรับจำนำข้าว แต่จะเอาเงินที่ต้องเสีย 3.5 ล้านบาทมาจ่ายให้ชาวนาโดยตรงแทน เพื่อสานต่อปณิธานช่วยชาวนาชาวนา 3 ล้านครัวเรือน แต่ละครัวเรือนมีผู้ที่อายุเข้าเกณฑ์มีสิทธิเลือกตั้งได้เฉลี่ย 3 คนต่อครัวเรือน ก็จะได้เสียง 9 ล้านคน คะแนนเสียงเห็นๆว่าแต่ว่า จะเอาเงินที่ไหนมาจ่าย สต็อกข้าวจำนวนนี้ มีทั้งของรัฐและของโรงสี จนถึงวันนี้ ลดลงไปเล็กน้อย เนื่องจากตลาดส่งออกของไทยยังไม่กระเตื้อง เนื่องจากตลาดถูกรบกวนด้วยข้าวจากเวียดนาม กัมพูชาและเมียนมาร์ นี่คือสาเหตุหนึ่งที่ทำให้โรงสีลดการซื้อข้าวจากชาวนา หรือถ้าซื้อก็กดราคาต่ำราคาข้าวส่งออกของไทยในช่วงปี 2558 ต่ำสุดในรอบ10 ปี โดยข้าวขาว 5% ราคาตันละ 365 ดอลลาร์ สรอ.ข้าวหอมมะลิตันละ 700-720 ดอลลาร์สรอ.ข้าวนึ่ง(ตลาดแอฟริกา)ตันละ 350 ดอลลาร์สรอ. นี่คือสาเหตุที่ทำให้ราคาข้าวในประเทศลดลงตามโดยข้าวเปลือกจ้าวราคาประมาณ 8,000 บาทต่อเกวียนตัน ข้าวเปลือกหอมมะลิละ 12,000 บาทต่อเกวียนตัน ช่วงนั้นถือว่าแพง แต่วันนี้ โรงสีรับซื้อข้าวเปลือกจ้าวเกวียนละ 5,000-6,000 บาท ข้าวเปลือกหอมมะลิเกวียนละ 8,000 บาท แค่นี้ก็ถือว่าชาวนาได้ราคาดีมากแล้ว ปี 2558 ไทยส่งออกข้าวได้ 9.8 ล้านตันตกเป็นอันดับ 2 รองจากอินเดียที่ส่งออก 10.2 ล้านตัน ทั้งๆที่ปี 2516-17 (รัฐบาลยิ่งลักษณ์)ไทยส่งออกถึง10.9 ล้านตัน เป็นอันดับ 1 ของโลก สาเหตุที่ไทยส่งออกข้าวต่ำกว่าอินเดียก็เพราะ อินเดียครองตลาดข้าวตะวันออกกลางเกือบหมดโดยเฉพาะข้าวหอมบัสมาตินั้น อินเดียยังส่งออกได้มากที่สุดในโลก ครองตลาด 100% ขณะที่ข้าวหอมมะลิไทยเหลืออยู่ประมาณ 45-50% อีกสาเหตุที่ข้าวไทยส่งออกน้อยลงก็คือราคาน้ำมันดิบถูกลง ทำให้ลูกค้ารายใหญ่ในกลุ่มชาติผลิตน้ำมันลดการนำเข้าข้าวลง โดยเฉพาะลูกค้ารายใหญ่สุดไนจีเรีย ลดลง ปีที่แล้วนำเข้าแค่ 640,000 ตันจากปกติ 1.1-1.2 ล้านตัน ทำให้สัดส่วนการส่งออกข้าวนึ่งไปตลาดแอฟริกาลดลงจาก58% เหลือ 48% ปีนี้เป้าหมายส่งออกข้าวนึ่งเชื่อว่าจะลดลงเหลือประมาณ 1 ล้านตันหย่อนๆ จากปกติ 2.2 ล้านตัน ตลาดข้าวขาวซึ่งราคาถูกกว่า มีการนำเข้ามากกว่าข้าวหอมมะลินั้น ไทยจะต้องแข่งกับเวียดนามอย่างรุนแรงกว่าปีก่อน เพราะฤดูการผลิตนี้ เวียดนามได้ข้าวถึง .3.5 ล้านตัน ราคาที่ประมูลได้อาจจะตกลงไปถึง 350 ดอลลาร์สรอ.ต่อตัน ผู้บริหารสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทยประเมินสถานการณ์ สำหรับตัวเลขส่งออกล่าสุด 1 ม.ค.- 6 ก.ย. 59 อินเดียส่งออก 6.9 ล้านตัน เป็นอันดับ 1 ของโลก ไทย6.4 ล้านตัน เวียดนาม 3.2 ล้านตัน ปากีสถาน 2.5 ล้านตัน สหรัฐ 2.3 ล้านตัน ประมาณการตลอดทั้งปี ไทยจะส่งออกได้ 9.4-9.5 ล้านตัน ต่ำกว่าปีที่แล้ว 500,000-600,000 ตัน ถ้าอินเดียส่งได้เท่าเดิมหรือต่ำลงเล็กน้อย อินเดียก็จะยังคงความเป็นอันดับ 1 ของโลกส่งออกข้าวอีกปี การที่ตลาดโลกต้องการข้าวลดลง โดยเฉพาะจีนที่เป็นผู้นำเข้ามากที่สุดในโลก ขณะนี้ลดการนำเข้าเนื่องจากข้าวนำเข้าส่วนหนึ่งใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมอาหาร ซึ่งตลาดอาหารสำเร็จรูปและกึ่งสำเร็จรูปของโลกก็หดตัว ทำให้จีนลดการผลิตเพื่อส่งออกตามภาระที่รัฐบาลจะต้องหาทางระบายข้าวในสต็อกของรัฐบาลออกไปให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้เพื่อลดแรงกดดันราคาในประเทศเป็นเรื่องที่ทำได้ยาก แต่ไม่ว่าจะยากหรือไม่ยาก ก็จำต้องทำ เพราะไม่มีทางเลือกอื่นดีกว่านี้ โดยเฉพาะข้าวฤดูการผลิตปี 2559/60 ที่กำลังจะออกมา ประเมินว่าจะมีถึง 30-31 ล้านเกวียนตันข้าวเปลือก สูงกว่าประมาณการ 27.7 ล้านตัน บ่นกันแต่ต้นปีว่าแล้งรุนแรงเสียหายหนัก แต่กลางปีมาจนขณะนี้ ฝนลงหนักจนบางพื้นที่ต้องลอยคอเกี่ยวข้าว คำเสี่ยงทายพระโคกินข้าว ข้าวโพด กินงา หญ้า เหล้าในพิธีแรกนาขวัญ พยากรณ์ว่าธัญญาหาร ผลาหาร ภักษาหาร จะอุดมสมบูรณ์ บริบูรณ์ดี การคมนาคม การค้าดี เศรษฐกิจะรุ่งเรืองแต่ไม่ได้บอกว่า ราคาพืชพันธุ์ ธัญญาหาร จะดีหรือไม่ดี