ไม่ว่าจะเป็นท่าทีของ ตัวแทนกลุ่มประชาชนร่างรัฐธรรมนูญ ที่นำโดยไปลอว์ รายชื่อประชาชน 205,739 รายชื่อ แนบอ้างอิง เพื่อประสงค์ที่จะเสนอคำถามในการทำประชามติการเขียนรัฐธรรมนูญใหม่ต้องเขียนใหม่ได้ทั้งฉบับ และหากจะมีสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ หรือ สสร. ต้องมาจากการเลือกตั้งของประชาชนทั้งหมด โดยอ้างใช้สิทธิตามมาตรา 9(5) ของพระราชบัญญัติว่าด้วยการออกเสียงประชามติปี 2564
ไม่ว่าจะเป็นท่าทีของพรรคก้าวไกล ผ่านนาย พริษฐ์ วัชรสินธุ สส.พรรคก้าวไกล เสนอต่อที่ประชุมให้เปลี่ยนระเบียบวาระ โดยนำญัตติ ขอให้สภาฯพิจารณาเห็นชอบและแจ้งให้ คณะรัฐมนตรี (ครม.) ดำเนินการให้มีการออกเสียงประชามติเพื่อสอบถามความเห็นของประชาชนต่อการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ซึ่งถูกบรรจุในเรื่องที่ค้างพิจารณาลำดับที่ 33 ขึ้นมาพิจารณาก่อน แต่ไม่ผ่านความเห็นชอบจากสภาฯ
โดยนายพริษฐ์ได้ฝากคำถามไปยังคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ 2 คำถาม คือ 1. คณะรัฐมนตรีชุดใหม่ ยืนยันหรือไม่ว่า การประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ครั้งแรกจะมีมติว่าจะจัดทำประชามติในการจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับ 2. คำถามในการทำประชามติเป็นอย่างไร มีความชัดเจนว่าจะจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับ และสมาชิกวุฒิสภา มาจากการเลือกตั้งทั้งหมดหรือไม่
ขณะเดียวกัน ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ระเบียบคณะกรรมการการเลือกตั้ง ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2566 ที่มีสาระสำคัญให้ยกเลิกความในข้อ 83 ของระเบียบคณะกรรมการการเลือกตั้งว่าด้วยการออกเสียงประชามติ พ.ศ.2565 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 83 หลักฐานในการแสดงตนเพื่อขอใช้สิทธิออกเสียง ได้แก่ บัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรประจำตัวประชาชนที่หมดอายุ หรือบัตรหรือหลักฐานอื่นใดของทางราชการหรือหน่วยงานของรัฐ ที่มีรูปถ่ายและมีเลขประจำตัวประชาชนของผู้ถือบัตร รวมถึงหลักฐานภาพอิเล็กทรอนิกส์ที่เปิดผ่านแอปพลิเคชันของหน่วยงานของรัฐตามกฎหมายว่าด้วยการปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์”
อย่างไรก็ตาม นายชูศักดิ์ ศิรินิล สส.แบบบัญชีรายชื่อ ในฐานะรักษาการหัวหน้าพรรคเพื่อไทย กล่าวถึงขั้นตอนการเสนอคำถามประชามติจัดทำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ซึ่งจะดำเนินการในการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) นัดแรก โดยในส่วนของคำถามประชามติเป็นหน้าที่ของ ครม. ต้องคิดคำถาม โดยพรรคเพื่อไทย ได้มีมติเสนอคำถามให้ ครม.พิจารณา มีเนื้อหาสาระว่า ประชาชนเห็นควรหรือไม่ที่จะให้มีการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ โดยกระบวนการสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) ซึ่งคำถามอาจมีการปรับแก้อย่างไรตามความเหมาะสมก็ขึ้นอยู่กับ ครม. โดยหาก ครม.มีมติแล้ว เป็นหน้าที่ของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) จะดำเนินการจัดทำประชามติ ซึ่งใช้เวลาไม่น้อยกว่า 90 วัน แต่ไม่เกิน 120 วัน หรือประมาณ 3 เดือนและหากประชามติแรกผ่าน ครม. หรือพรรคการเมืองจะต้องนำเสนอร่างกฎหมายแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ที่มีสาระสำคัญคือเสนอแก้ไขมาตรา 256 ว่าด้วยวิธีแก้รัฐธรรมนูญ เพื่อเพิ่มหมวดว่าด้วยการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ โดยกระบวนการ สสร. ผ่านการพิจารณาของรัฐสภา 3 วาระและเมื่อจัดทำกฎหมายแล้วเสร็จ จะเข้าสู่กระบวนการเลือก สสร. มายกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ เข้าใจว่าระยะเวลากว่าจะมีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ได้ไม่น่าจะเกิน 3 ปี บวกลบโดยประมาณ
เราเห็นว่า ประเด็นเรื่องแก้ไขรัฐธรรมนูญนั้น ต้องจับตาว่าพรรคเพื่อไทยจะนำมาเป็นกระดานการเมือง นำมาใช้ทั้ง บั่นทอนอายุ จากกลุ่มที่ไม่เห็นด้วย และต่ออายุของรัฐบาล จากห้วงระยะเวลาการดำเนินการตามขั้นตอนต่างๆ ขณะที่ธงนำเรื่องการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและปากท้องนั้น มีแต่จะช่วยยืดอายุ