ชัยวัฒน์ สุรวิชัย พ่อรักป้า ในหลวงทรงตรัสว่า พระพี่นางคือผู้ใหญ่ที่เหลืออยู่คนสุดท้ายของท่าน ภาพที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงฉายกับสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงฯ สังเกตว่าในหลวงทรงใช้พระหัตถ์ซ้ายกุมพระหัตถ์ขวาของสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงฯ เอาไว้ด้วย ภาพในพระราชพิธีกาญจนาภิเษก เมื่อปี พ.ศ. 2539 ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงฯ ซึ่งทรงเป็น "พี่สาว" ทรงถอนสายบัวเมื่อพบกับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทั้งๆ ที่โดยสายเลือดแล้วสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงฯ ทรงมีพระชนมายุมากกว่า และ ภาพที่ทั้งสองพระองค์ทรงจูงพระหัตถ์ของกันและกันในพระราชพิธีเดียวกัน 1. นับย้อนไปในอดีตช่วงที่ทรงสูญเสียสมเด็จพระบรมราชชนก สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ จะทรงมีพระชนมายุเพียง 7 ชันษา พระอนุชามีพระชนมายุ 5และ 3 พรรษา ในฐานะพระโสทรเชษฐภคินี หรือพี่สาว แม้จะทรงพระเยาว์เช่นกัน แต่พระองค์ก็ทรงมีความรักที่หนักแน่น มีพระหฤทัยที่เมตตา ทรงเคียงข้างสมเด็จพระบรมพระราชชนนี ช่วยดูแลอภิบาลพระอนุชาน้อยๆ ทั้ง 2 พระองค์อย่างเข้มแข็งทะนุถนอม 2. เมื่อพระอนุชา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว อานันทมหิดล ทรงขึ้นครองราชสมบัติ ทรงเฉลิมพระเกียรติพระเชษฐภคินีพระองค์นี้ขึ้นเป็น "สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา" ต่อมาเมื่อทรงเจริญพระชนมายุ 72 พรรษา และเป็นปีมหามงคลสมัย ในหลวงทรงครองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี เพื่อเป็นการเพิ่มพูนพระเกียรติคุณ จึงทรงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนา พระอิสริยยศักดิ์สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ เป็นเจ้าฟ้าต่างกรมภายในองค์แรก แห่งรัชสมัย พระนามตามจารึกในพระสุพรรณบัฏว่า "สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์" 3. วันที่ 2 มกราคม 2551 สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ สิ้นพระชนม์เมื่อเวลา 2 นาฬิกา 54 นาที สิริพระชนมายุ 84 ชันษา ณ โรงพยาบาลศิริราช ยังความวิปโยคโศกอาดูรต่อชาวไทยล้นพ้นเกินประมาณ ในหลวงทรงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้สำนักพระราชวังจัดการพระศพถวาย พระเกียรติยศสูงสุดตามราชประเพณี พร้อมกันนี้ก็ทรงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้ประกาศว่า โดยที่ ทรงพระอนุสรณ์ถึงสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ซึ่งสิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 2 มกราคม พุทธศักราช 2551 ว่าเป็นสมเด็จพระโสทรเชษฐภคินี ที่ทรงเคารพนับถือในฐานะที่ทรงมีอุปการคุณ มาแต่หนหลัง อีกทั้งทรงพระคุณแก่บ้านเมืองเป็นอเนกปริยาย เป็นที่ประจักษ์แก่ตา แก่ใจ ของมหาชนทั่วไป เมื่อเสด็จสิ้นพระชนม์ เป็นเหตุให้พระองค์และประชาชนทุกชนชั้นอาลัย ระลึกถึงพระคุณเป็นอันมาก พ่อรักลูก จากในหลวงถึงพระเทพฯ ลูกพ่อ 1. ในพื้นแผ่นดินนี้ ทุกสิ่งเป็นของคู่กันมาโดยตลอด มีความมืดและความสว่างความดีและความชั่ว ถ้าให้เลือกในสิ่งที่ตนชอบแล้ว ทุกคนปรารถนาความสว่าง ปรารถนาความดีด้วยกันทุกคน แต่ความ ปรารถนานั้นจักสำเร็จลงได้จักต้องมีวิธีที่จักดำเนินให้ไปถึงความสว่าง หรือ ความดี นั้น ทางที่จักต้องไปให้ถึงความดี ก็คือรักผู้อื่นเพราะความรักผู้อื่นสามารถแก้ปัญหาได้ทุกปัญหาทำให้โลกมีแต่ความสุข และเกิดสันติภาพ 2. ความรักผู้อื่นจักเกิดขึ้นได้ พ่อขอบอกลูกดังนี้... 2.1 ขอให้ลูกมองผู้อื่นว่า เป็นเพื่อนเกิด เพื่อนแก่ เพื่อนเจ็บ เพื่อนตาย ด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น ไม่ว่า อดีต...ปัจจุบัน...อนาคต 2.2 มองโลกในแง่ดี และจะให้ดียิ่งขึ้น ควรมองโลกจากความเป็นจริง อันจักเป็นทางแก้ปัญหาอย่างถูกต้องและเหมาะสม 2.3 มีความสันโดษ คือ มีความพอใจเป็นพื้นฐานของจิตใจ ... พอใจตามมีตามได้ คือ ได้อย่างไร ก็เอาอย่างนั้น ไม่ยึดติด ขอให้คิดว่ามีก็ดี ไม่มีก็ได้ ... พอใจตามกำลัง คือ มีน้อยก็พอใจตามที่ได้น้อย ไม่เป็นอึ่งอ่างพองลมจะเกิดความเดือดร้อน ในภายหลัง ... พอใจตามสมควร คือ ทำงานให้มีความพอใจ เหมาะสมแก่งานให้ดำรงชีพให้เหมาะสมแก่ ฐานะของตน 2.4 มีความมั่นคงแห่งจิต คือ ให้มองเห็นโทษของความเกียจคร้านและมองเห็นคุณประโยชน์ของความเพียร และเมื่อเกิดสิ่งที่ไม่พึงปรารถนาให้ภาวนาว่า... มีลาภมียศ สุขทุกข์ปรากฎ สรรเสริญนินทา เสื่อมลาภ เสื่อมยศ เป็นกฏธรรมดาอย่ามัว โศกานึกว่า ' ชั่งมัน ' รักประชาชน ด้วยพระกรณียกิจมากมายและ พระบรมราโชวาท ที่ประชาชนนำไปปฏิบัติได้จริง 1. ตลอดระยะเวลา 70 ปีแห่งการครองราชย์ ในหลวงทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจอย่างหนักมาโดยตลอด ทั้งนี้ก็เพื่อประชาชนคนไทยได้อยู่ดีกินดี ซึ่งหากบันทึกเป็นถ้อยคำ หน้ากระดาษนับล้านๆ แผ่นอาจไม่เพียงพอ ต่อคำบรรยายความรู้สึกที่พสกนิกรไทยเกือบ 70 ล้านคนมีต่อพระองค์ผู้ทรงเป็น “พ่อแห่งแผ่นดิน” ได้ 2. พอเพียง=พอประมาณ-มีเหตุผล-มีภูมิคุ้มกัน “ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” ของในหลวง ความพอประมาณ คือ “ความพอดีที่ไม่น้อยเกินไปและไม่มากจนเกินไป”ไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เช่น การผลิตและการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ ความมีเหตุผล คือ “การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับความพอเพียง” จะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุมีผล คิดถึงผลกระทบอย่างรอบด้าน รอบคอบ ภูมิคุ้มกัน คือ “การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบ จากการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น” โดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่างๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต 3. ไม่ต่างจากเดิน “ทางสายกลาง” (มัชฌิมาปฏิปทา) หมายถึง ทางปฏิบัติที่ไม่สุดโต่งไปในทางอุดมการณ์ใด อุดมการณ์หนึ่งเกินไป มุ่งเน้นใช้ปัญญาในการแก้ปัญหา มักไม่ยืดถือหลักการอย่างงมงาย เหมาะสมกับประเทศไทยในยุคนั้นที่เศรษฐกิจเริ่มก้าวหน้า คนไทยใช้เงินมาก โดยอาจไม่ได้พิจารณาว่าจำเป็นต้องใช้หรือไม่ และยังนำเงินในอนาคตออกมาใช้ หรือ การกู้ ก่อหนี้ นั่นเอง คำสอนของพระองค์จึงเป็นการย้ำเตือนไม่ให้คนไทย “ใช้เงินเกินตัว” ไม่ใช่มีเงินเยอะแล้วใช้น้อย แต่หมายถึงต้องใช้ให้เหมาะสมกับฐานะ รายได้ของตน ใช้เงินอย่างมีเหตุมีผล “พระราชดำรัสนี้ใช้ได้ตลอดเวลาในชีวิต และทำให้เกิดความเจริญก้าวหน้าในชีวิตของแต่ละคน หากทำความเข้าใจได้อย่างถ่องแท้” 4. แนวทางของพระองค์ท่าน คือแนวทางที่ประยุกต์ใช้ได้อย่างเป็นรูปธรรม ตั้งแต่พื้นฐานขององค์กร เป้าหมาย ประโยชน์และความสุข โดยในการทำธุรกิจเราต้องอย่าเอาแต่เงินเป็นตัวตั้ง อย่าคิดแค่ว่าฉันจะต้องโตเท่าไร แต่ต้องตั้งความสุขของคนในองค์กร และแบ่งปันประโยชน์และความสุข ไปสู่คนนอกองค์กรอย่างเท่าเทียมด้วย” 5. ในคำสอนของพ่อ บอกว่า เราไม่ได้มีหน้าที่แค่ทำมาหากินไปวันๆ หรือจะต้องแข่งขันและ ทำกำไรเพียงเท่านั้น เพราะทุกสิ่งที่หามาได้ ก็ต้องวางทิ้งไว้บนโลกใบนี้ เอาอะไรไปไม่ได้เลย ขณะที่บางสิ่งซึ่งสำคัญกว่า และเราอาจหลงลืมไป นั่นคือการให้ความสุขกับคนทั้ง 6 ทิศ ทั้ง ทิศเบื้องหน้า บิดา มารดา ทิศเบื้องหลัง บุตร ภรรยา สามี ทิศเบื้องขวา ผู้มีพระคุณที่ทำให้เรามีวันนี้ได้ ทิศเบื้องซ้าย เพื่อนแท้ ทิศเบื้องล่าง คือผู้ด้อยโอกาสในสังคม ที่สำคัญ ทิศเบื้องบนคือ “ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์” 6. บทเรียนที่ได้จากครั้งนั้น คือ ถ้าเรายังไม่พร้อม แล้วไม่ประมาณตน ยังไปทำอะไรที่เกินตัวเราไปมาก ธุรกิจก็จะประสบปัญหา พอกลับมาทำความรู้จักกับตัวเอง ดูความถนัดของตัวเรา ไขว่คว้าหาความรู้ อยู่บนความพอเพียง รู้จักประมาณตน เลิกฟุ่มเฟือย ใช้เท่าที่มี ที่เหลือก็แบ่งปันให้ผู้อื่น กลายเป็นว่า แม้วันนี้ธุรกิจยังตกลงตามสภาพเศรษฐกิจ แต่เรากลับมีความสุขมากขึ้น”