สืบเนื่องจากตอนที่แล้ว ที่เขียนเอาไว้ในเรื่อง เบ้าหลอม “สยามรัฐ” ที่มาจากแนวคิด และแนวทางอย่าง พล.ต.ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ผู้มีความจงรักภักดีต่อพระราชวงศ์ และข้อความที่สำคัญจากการอบรมของบิดาท่านก็คือ “ใครที่เป็นพระราชวงศ์แล้วจะต้องพยายามรักษาระบอบประชาธิปไตยไว้ให้ได้”
จึงขออนุญาตนำความ ในหนังสือ “100 ปี คึกฤทธิ์” มาถ่ายทอดต่อเนื่องจากฉบับที่แล้ว ดังนี้
“นับตั้งแต่การเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475 สืบเนื่องมาจนกระทั่งถึงปี พ.ศ.2500 เป็นช่วงที่แผ่นดินตกอยู่ในภายใต้ความสับสนอลหม่านอันเนื่องจากความแตกต่างทางความคิด การแย่งชิงอำนาจกันในหมู่คณะผู้ปกครอง
“ศึกฤทธิ์”ได้ทำงานหนักมากเพื่อที่จะรักษาไว้ซึ่งความเชื่อมั่นของประชาชนต่อระบอบการปกครอง อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ในขณะที่ลัทธิคอมมิวนิสต์ได้แผ่กระจายเช้ามาในภูมิภาคแถบนี้และรัฐบาลมองเห็นว่าเป็นภัยอันใหญ่หลวงต่อประเทศชาติ ได้มีการกวาดล้างจับกุมผู้ต้องสงสัยเป็นจำนวนมาก รวมทั้งนักหนังสือพิมพ์กลุ่ม "ก้าวหน้า" บุคคล "หัวก้าวหน้า" บางคน ได้พยายามเชื่อมโยงการรีดนาทาเร้นของเจ้านายและขุนนางในยุโรปในระบบฟิวตัลลิสม์ เข้ากับระบบศักดินาของไทย ซึ่ง “คึกฤทธิ์”เห็นว่าเป็นอันตรายอย่างยิ่ง เขาปฏิเสธข้อสมมติฐานดังกล่าวนี้โดยสิ้นเชิงการหักล้างเชิงเหตุผลกับฝ่ายคอมมิวนิสต์ เข้ากันได้ดี
กับเจตจำนงของรัฐบาลในขณะนั้นน่าจะเป็น "ความดี" อย่างหนึ่งที่รัฐบาลขณะนั้นตระหนักได้ แม้ว่า “คึกฤทธิ์”จะได้ทำอะไรต่อไรอีกหลานอย่างที่รัฐบาลไม่ชอบใจ เช่น มีความอิสระในตัวเองเกินกว่าที่รัฐบาลจะควบคุมได้ “คึกฤทธิ์” ทำงานปกป้องสถาบันกษัตริย์อย่างทรงพลังและทำอย่างยาวนานและต่อเนื่องกุศลเจตนาดังกล่าวก็นำจะเป็นมูลเหตุอีกประการหนึ่งที่ป้องกันภัยพิบัติแก่เขา ทั้งทางตรงและทางอ้อม
บทความในหนังสือพิมพ์ เรื่อง "ฝรั่งศักดินา" ซึ่งพิมพ์ลงเป็นตอนๆ ใน สยามรัฐ ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2500 ถึงกลางเดือนมกราคม 2501 สะท้อนภาพอันสูงส่งของสถาบันกษัตริย์ไทย โดย “คึกฤทธิ์”เน้นให้เห็นว่า ระบบศักดินาไทยแต่ดั้งเดิมนั้นแตกต่างจากระบบฟิวดัลสิสม์ของยุโรปอย่างสิ้นเชิง ชนิดไม่มีอะไรเหมือนกัน และไม่มีอะไรเกี่ยวกันเลย และว่าความสัมพันธ์ทางสังคมในสังคมดั้งเดิมนั้นมีพื้นฐานอยู่ที่ระบบอุยถัมภ์กันมากกว่าจะอยู่ที่ระบบชนชั้น ซึ่งมีนัยในทำนองที่ว่า กษัตริย์ไทยไม่ได้กินแรงประชาชนมากเหมือนกับเจ้าขุนมูลนายในระบบยุโรป
การตอบปัญหาในสยามรัฐ ก็ระบุบ่งชี้ชัดว่า คึกฤทธิ์เห็นว่าระบบศักดินาเป็นเพียงมาตรฐานวัดบรรดาศักดิ์ บอกหน้าที่บอกความสำคัญของบุคคลในเมืองไทยสมัยหนึ่งเท่านั้นไม่ได้เกี่ยวกับที่ดินเลย ทั้งเขายังพยายามอ้างด้วยว่า พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ ทรงเป็นผู้รักประชาธิปไตย และพระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับแรกแก่ชาวไทยทุกคน ไม่ทรงมีพระราชประสงค์ที่จะพระราชทานให้เฉพาะหมู่คณะใด”
ทั้งหมดทั้งมวลนั้น เป็นเพียงส่วนหนึ่ง ดังที่ได้กล่าวมาแต่ต้น เพียงต้องการตอกย้ำว่าแนวทางของ “คึกฤทธิ์” เป็นเบ้าหลอมของ “สยามรัฐ”